Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หัวข้อที่ 8 ความผิดปกติของน้ำคร่ำมากผิดปกติ, นางสาวรัญญา วรรณสาร เลขที่…
หัวข้อที่ 8 ความผิดปกติของน้ำคร่ำมากผิดปกติ
ความหมาย ภาวะน้ำคร่ำมากหรือครรภ์แฝดน้ำ (hydramios หรือ polyhydramnios) หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่า 2,000 มิลลิลิตร
อุบัติการณ์
ภาวะน้ำคร่ำมากพบได้ 1:60-750 ของการคลอดโดยทั่วไป
ภาวะน้ำคร่ำมากแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ตามลักษณะการเกิด
1) ภาวะน้ำคร่ำมากอย่างเฉียบพลัน (acute hydramnios)
2) ภาวะน้ำคร่ำมากเรื้อรัง (chronic hydramnios)
สาเหตุ
สาเหตุโดยตรงของการเกิดภาวะน้ำคร่ำมากยังไม่ทราบแน่ชัด
มักเกิดร่วมกับความพิการของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางหรือระบบทางเดินอาหาร ร้อยละ 60 ของ
ทารกที่ไม่มีกะโหลกศีรษะ (anencephaly) หรือทารกที่มีกระดูกสันหลังโหว่ (spinal bifida) จะมีการแลกเปลี่ยนของน้ำผ่านเยื่อหุ้มสมองที่ปราศจากการห่อหุ้ม และกลไกการขับปัสสาวะของทารกในครรภ์ที่ขาดการควบคุมจากสมองทำให้มีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่าปกติ
หลอดอาหารตีบ (esophageal atresia) ไม่สามารถกลืนน้ำคร่ำได้ ทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำมาก
ภาวะน้ำคร่ำมากจะพบได้มากในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน และมักพบในไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ มีผู้อธิบายว่าสาเหตุที่ทำให้น้ำคร่ำมากดังกล่าวเกิดจากภาวะทารกในครรภ์มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง (fetal hyperglycemia)ทำให้เกิดภาวการณ์ซึมผ่านของน้ำปัสสาวะจำนวนมาก (osmotic diuresis)
ทารกในครรภ์ที่มีความพิการมากจะทำให้ภาวะน้ำคร่ำมากมีระดับความรุนแรงมากด้วย
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
เคยตั้งครรภ์แฝดน้ำ
ทารกมีความพิการแต่กำเนิดของระบบประสาท
ส่วนกลาง
ในระยะตั้งครรภ์เป็นเบาหวาน
ให้ประวัติว่ามดลูกเพิ่มขนาดอย่างรวดเร็ว
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขยายของหน้าท้องที่ผิดปกติ และความไม่สุขสบายในช่องท้อง
การตรวจร่างกาย
ตรวจร่างกายทุกระบบ
ตรวจครรภ์พบว่าขนาดของมดลูกใหญ่กว่าอายุครรภ์ และคลำส่วนของทารกในครรภ์ได้ไม่ชัดเจน
ภาวะน้ำคร่ำมากชนิดเฉียบพลัน จะพบว่าขนาดของมดลูก
ไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจวัด amniotic fluid index (AFI) ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง โดยแบ่งโพรงมดลูกออกเป็น 4 ส่วน ให้แนวกลางตัวเป็นแนวตั้ง และระดับสะดือเป็นแนวนอน วัดความลึกของโพรงมดลูกทั้ง 4 ส่วนและนำค่าที่วัดได้มารวมกัน ได้ตัวเลขที่เรียกว่าดัชนีน้ำคร่ำ ค่าปกติของดัชนีน้ำคร่ำจะเท่ากับ 81 - 180 เซนติเมตร ถ้าค่าดัชนีมากกว่า 18 เซนติเมตร ถือว่าน้ำคร่ำมากกว่าปกติ(ในบางแห่งใช้ค่า 25 เซนติเมตร) พบลักษณะecho- free space ขนาดใหญ่ระหว่างตัวทารกและผนังมดลูกหรือตรวจพบความผิดปติของทารกในครรภ์ก็ร่วมด้วย เช่น ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ หรือภาวะ neural tube defect เป็นต้น
การวินิจฉัยแยกโรค ต้องทำการตรวจวินิจฉัยแยกภาวะน้ำคร่ำมากจากความผิดปกติของการตั้งครรภ์อื่นๆ เช่น ครรภ์แฝด ภาวะบวมน้ำอย่างรุนแรง เนื้องอกของช่องท้องและการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และการคลอด
1.ระบบทางเดินหายใจ การเบียดดันกล้ามเนื้อกระบังลมทำให้หญิงตั้งครรภ์หายใจไม่สะดวก นอนราบไม่ได้ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจจะมีอาการเหนื่อยหอบ
2.ระบบไหลเวียนโลหิต การกดทับหลอดเลือดดำใหญ่ของมดลูกที่มีขนาดใหญ่มากทำให้การไหลกลับของโลหิตไม่สะดวก เกิดอาการบวมที่บริเวณส่วนล่างของร่างกาย
ขาทั้งสองข้าง
อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ผนังหนท้อง
3.ในกรณีที่มีกาวะน้ำคร่ำมากชนิดเฉียบพลัน อาการไม่สุขสบายต่างๆจะมีมากขึ้น และจะมีแรงดันน้ำคร่ำสูง ทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
4.การยึดขยายของกล้ามเนื้อมดลูกเกินขนาด ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการคลอดหลายประการนับตั้งแต่การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดการแตกของถุงน้ำคร่ำก่อนเวลา การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดีทั้งในระยะคลอดและหลังคลอด ทำให้เกิดการคลอดล่าช้า และตกเลือดหลังคลอด
5.ภาวะแทรกซ้อนของการคลอดมีอัตราสูงขึ้น ได้แก่ การลอกตัวของรกก่อนกำหนดและท่าของทารกในครรภ์ที่ผิดปกติ
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์จะมีความพิการสูงถึงร้อยละ 20
อัตราตายปริกำเนิดสูง โดยรวมทุกสาเหตุการตายพบว่าทารกมีการตายปริกำเนิดสูงขึ้นถึงร้อยละ 50 ของการตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำคร่ำมาก
การเกิดก่อนกำหนด อัตราการเกิดก่อนกำหนดสูงเป็นสองเท่าของการตั้งครรภ์ปกติ
ทารกมีความผิดปกติ เช่น เป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางโครโมโซมหรือมีภาวะ erythroblastosis ในมารดาที่เป็นโรคเบาหวาน
แนวทางการรักษา
ผู้ที่มีกาวะน้ำคร่ำมากและมีอาการแน่นอึดอัด หายใจเหนื่อยหอบ จะรับไว้รักษาในโรงพยาบาลและให้ยาเพื่อช่วยให้พักผ่อนได้ ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีกาวะน้ำคร่ำมากอย่างเฉียบพลันและรุนแรง แพทย์อาจใช้การดูดน้ำคร่ำออก เพื่อช่วยลดอาการแน่นอึดอัดและให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป
การให้ยาอินโดเมธาซีน (indomethacin) ยาตัวนี้มีกลไกการออกฤทธิ์ที่ปอดของทารกในครรภ์และลดการขับปัสสาวะของทารกในครรภ์การให้ยานี้อัตรา 1.5 – 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ได้ผลดีในการลดปริมาณน้ำคร่ำ แต่พบว่าร้อยละ 50 ของทารกในครรภ์มีการปิดของ ductusarteriosus ก่อนกำหนด
การคลอดในภาวะครรภ์แฝดน้ำหรือภาวะน้ำคร่ำมาก ต้องเฝ้าระวังการพลัดต่ำของสายสะดือและการลอกตัวของรกก่อนกำหนด ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการหดรัดตัวของกล้มเนื้อมดลูกไม่ดีใน ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
การพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ หญิงตั้งครรภ์มักให้ประวัติว่ามี
อาการแน่นอึดอัดในท้องและเหนื่อยหอบ
ความไม่สะดวกในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การนอนหลับ และการรับประทานอาหาร
การรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับความผิดปกติและสภาพของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะกรณีที่มีความพิการ
อาการผิดปกติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น การหดรัดตัวของมดลูก การรั่วของถุงน้ำคร่ำ
การตรวจร่างกาย
ตรวจครรภ์ เพื่อวินิจฉัยภาวะผิดปกติของน้ำคร่ำเบื้องต้น พบขนาดของมดลูกใหญ่กว่าอายุครรภ์ และคลำทารกในครรภ์ได้ไม่ชัดเจน
ตรวจร่างกายทุกระบบ เพื่อประเมินกาวะผิดปติอื่นๆ เช่น กาวะบวมน้ำและกาวะความดันโลหิตสูง
ในกรณีที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล ควรชั่งน้ำหนักตัวและวัดรอบท้องทุกวัน เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการ
ตรวจสอบความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ได้แก่ การหดรัดตัวของมดลูก การฟังและการบันทึกเสียงหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำคร่ำมาก โดยทั่วไปเป็นการตรวจเพื่อตรวจสอบความผิดปกติ และสุขภาพของทารกในครรภ์ ได้แก่ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือการตรวจภาถ่ายรังสี พยาบาลต้องรวบรวมผลการตรวจที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับ เพื่อเป็นข้อมูลในการวินิจฉัยการพยาบาลต่อไป
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.ไม่สุขสบายเนื่องจากมดลูกมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
2.วิตกกังวลและกลัวเกี่ยวกับสุขภาพ ความผิดปกติของทารกในครรภ์
3.สุญเสียบทบาททางสังคม เนื่องจากต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
4.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแหรกซ้อนขณะคลอดและหลังคลอด
5.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากการเจาะดูดน้ำคร่ำ
นางสาวรัญญา วรรณสาร เลขที่ 84 (603101085)