Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่3 3.5กฎหมายสาธารณสุขอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ…
บทที่3
3.5กฎหมายสาธารณสุขอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายสาธารณสุขที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ในการป้องกันและรักษาไว้ซึ่งชีวิตร่างกายสุขภาพและอนามัยของประชาชนเพื่อให้ปลอดภัย จากความเจ็บป่วยและมีสุขภาพอนามัยที่ดีเป็นการใช้อำนาจเพื่อวางข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขในการปฏิบัติ
ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการรับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
7.ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลผดุงครรภ์ซึ่งผ่านการอบรมของกระทรวงสาธารณสุขแล้วทำการผ่าตัดทำหมันหยิงหลังคลอดหรือใส่และถอดยาฝังคุมกำเนิดได้
8.ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้รับประกาศนียบัตรการศึกษาหรือการอบรมในหลักสูตรวิสัญญีพยาบาลจากกระทรวงทำการให้ยาสลบเฉพาะการให้สลบชนิด gerneral anesthesia
6.ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ชั้นสอง ทำการเวชกรรมตามหลักเกณฑ์ดังนี้
ได้ทดสอบผู้ขอรับการใส่ห่วงอนามัยแล้วว่าไม่ตั้งครรภ์
ผู้ขอรับการใส่ห่วงอนามัยได้คลอดบุตรมาแล้ว45-60วัน และยังไม่มีประจำเดือน
9.ให้บุคคลซึ่งได้ผ่านการศึกษาหรือฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวกับวิชาวิทยาสาสตร์การแพทย์ทำการประกอบวิชาชีพได้
5.ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นสอง ผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลและจิตเวช ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้
10.ให้บุคคลซึ่งได้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรการผดุงครรภ์โบราณของกระทรวงสาธารณสุขทำการรับฝากครรภ์และทำคลอดในรายปกติได้
4.ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ด้านการว่างแผนครอบครัว ใส่ถอดห่วงอนามัย
11.ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งได้ผ่านการอบรมทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมและใช้ยาได้
3.บุคคลที่สามารถทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังนี้
-ผู้สำเร็จประกาศนัยบัตรสาธารณสุขศาสตร์
พนักงานสุขภาพชุมชน
-พนักงานอนามัย -พนักงานสาธารณสุข
-ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ชั้นสอง มีรายละเอียดดังนี้
2.การรักษาพยาบาลอื่น
การให้น้ำเกลือในผู้ป่วยท้องเดินอย่างรุนแรง
การฉีดเซรุ่มแก้พิษงู การสวนปัสสาวะ
3.ด้านศัลยกรรม
การผ่าฝี เย็บบาดแผลที่ไม่สาหัส
ชะล้าง ทำแผล ตกแต่งบาดแผล
1.ด้านอายุรกรรม ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการของโรค คือไข้ ตัวร้อน ไอ ปวดศีรษะ โรคติดต่อตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุข
4.ด้านสูตินรีเวชกรรม
การทำคลอดในรายปกติ ทำการช่วยเหลือขั้นต้นที่มีการคลอดปกติ
การสร้างภูมิคุ้มกันโรค รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
12.ให้อาสาสมัครของสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยหรืออาสาสมัครของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ที่มีหนังสือรับรองทำการจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีตราของสมาคมประทับที่แผงยาได้
2.บุคคลซึ่งได้รับมอบหมาย จะทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้เฉพาะ
เพื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่ระเบียบนี้กำหนด
ต้องเป็นการปฏิบัติราชการ หรืออยู่ในสถานพยาบาลของทางราชการเท่านั้น
13.การใช้ยาตามบัญชียา ต้องไม่เกินรายการบัญชียาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาสามัญประจำบ้าน ยาที่ให้ตามคำสั่งแพทย์ ยาคุมกำเนิด ยากระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของมดลูกหลังรกคลอด
1.ผู้ที่กระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร องค์กรบริหารส่วนจังหวัด จะมอบหมายให้ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ต้องเป็นบุคคลซึ่งระเบียบนี้กำหนด
การประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นตามวิธีการที่กำหนดไว้ในแบบเรียนด้วยตนเองของกระทรวงสาธารณสุขคือ ไข้ตัวร้อน ไข้และมีผื่น หรือจุด
ให้การปฐมพยาบาลเกี่ยวกับบากแผลสด กระดูกหัก น้ำร้อนลวก
เจาะโลหิตเพื่อตรวจหาเชื้อไข้จับสั่นโดยให้ยาดังต่อไปนี้
ยาสามัญประจำบ้านตามกฎหมายว่าด้วยยา
ยาสมุนไพรที่กำหนดในแบบเรียนด้วยตนเองของกระทรวงสาธารณสุขในงาน สาธารณสุขมูลฐาน
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541
ความหมาย
เพื่อต้องการควบคุมสถานที่ทำการตรวจรักาษาโรคให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ถูกสุขลักษณะ เพื่อสวัสดิการและความปลอดภัยของประชาชน
คำจำกัดความ
“ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
“ผู้ดำเนินการ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
“ผู้ป่วย”หมายความว่า ผู้ขอรับบริการในสถานพยาบาล
“ผู้ประกอบวิชาชีพ” หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมการพยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 4 “สถานพยาบาล”ว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ การประกอบ วิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม
การขออนุญาติดำเนินการสถานพยาบาล พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ.2541
ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
2.ต้องไม่เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลอยู่ก่อนแล้วสองแห่ง ถ้าเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนแห่งหนึ่งแล้วจะเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งไม่ได้ แต่จะขออนุญาตเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งได้
3.ต้องเป็นผู้ที่สามารถควบคุมดูแลกิจการสถานพยาบาลได้โดยใกล้ชิด
1.เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบเวชกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ หรือผู้ปรพกอบวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์ สถานพยาบาลเป็นสถานพยาบาลประเภทใด
อายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลมีอายุจนถึงสิ้นปีปฏิทินของปีที่สิบนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตแล้ว ผู้รับอนุญาตยังประกอบกิจการสถานพยาบาลต่อไปได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ
หน้าที่ของผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
ต้องควบคุมดูแลมิให้มีการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจำนวนเตียงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
ต้องจัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาทำการ
ต้องควบคุมดูแลสถานพยาบาลให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดภัย และมีลักษณะ อันเหมาะสมแก่การใช้เป็นสถานพยาบาล
ต้องควบคุมดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน
ต้องควบคุมดูแลมิให้มีการใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานพยาบาลประกอบกิจการสถาน
พยาบาลผิดประเภท หรือผิดลักษณะการให้บริการตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
การอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
เพื่อต้องการควบคุมสถานที่ทำการตรวจรักษาโรคให้เป็น ระเบียบเรียบร้อย ถูกสุขลักษณะ เพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชน
หน้าที่ของผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
ต้องแสดงรายละเอียดดังข้างล่างนี้ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายในสถานพยาบาลนั้น
ชื่อสถานพยาบาล สิทธิของผู้ป่วย
อัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการ
การย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่นต้องดำเนินการเช่นเดียวกันกับการขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่
ต้องแสดงใบอนุญาตของตนไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายในสถานพยาบาลแห่งนั้น
ต้องไม่เรียกเก็บเงินหรือยินยอมให้มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล หรือค่าบริการอื่นเกินอัตราที่ได้แสดงไว้ และต้องให้การบริการแก่ผู้ป่วยตามสิทธิที่แสดงไว้
คุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
ไม่เป็นโรคที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ
มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 กำหนดบทลงโทษ ดังนี้
โทษทางอาญา ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลอาจได้รับโทษทางอาญาดังนี้
1.ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ไม่มีชื่อสถานพยาบาล ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
2.ไม่จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยาเวชภัณฑ์ ไม่จัดทำรายงานการรักษาพยาบาลมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.ไม่ช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะอันตรายและไม่ช่วยเหลือ เพื่อส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่มีความเหมาะสมตามความจำเป็นหรือความต้องการของผู้ป่วย มีโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การปิดสถานพยาบาลชั่วคราว
1.ผู้รับอนุญาตไม่ชำระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานพยาบาลตามเวลาที่กำหนด
2.ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการกระทำการหรือละเว้นกระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้อยู่ในสถาน
พยาบาลหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาลเดือดร้อนหรือเกิดอันตราย
3.สถานพยาบาลไม่แก้ไขปรับปรุงการประกอบกิจการ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์
ตามที่ผู้อนุญาตมีคำสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนด
สถานพยาบาลแบ่งออกเป็น 2ประเภท
2.สถานพยาบาลประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน รับตรวจผู้ป่วยไป-กลับ และค้างคืน เช่น โรงพยาบาล
1.สถานพยาบาลประเภทไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน รักษาเฉพาะผู้ป่วยไป-กลับ เช่น คลินิก
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
1.ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสถานพยาบาลในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิโดยคำแนะนำของสภาการพยาบาล
2.ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
3.ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
4.ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทต่างๆดังนี้
1.คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ให้บริการด้านการพยาบาล การดูแลมารดาและทารกก่อนคลอดและหลังคลอด ยกเว้นการทำคลอด
2.สถานพยาบาลการผดุงครรภ์ ให้บริการมารดาและทารกก่อนคลอดและหลังคลอดการคลอดปกติ การ
ส่งเสริมสุขภาพและการอนามัยแม่และเด็ก โดยสามารถรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนไม่เกิน 30 เตียง
3.สถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง ให้บริการผู้ป่วยเรื้อรังโดยวิธีการทางการพยาบาล ซึ่งหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพตามบทบาทหน้าที่
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
ประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ รัฐมนตรตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนด ดังนี้
1.ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
2.ช่องทางเข้าออกแห่งใดในราชอาณาจักรให้เป็นด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และยกเลิกด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
3.การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ อำนาจหน้าที่ดังนี้
1.ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแจ้งกําหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะนั้น ๆจําด่านควบคุม โรคติดต่อระหว่างประเทศ
2.ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักรยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
3.ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจ
4.เข้าไปในพาหนะและตรวจผู้เดินทาง สิ่งของ หรือสัตว์ที่มากับพาหนะ ตรวจตราและควบคุมให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแก้ไขการสุขาภิบาลของพาหนะให้ถูกสุขลักษณะ
ความหมาย
“โรคติดต่อ” หมายความว่า โรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคซึ่งสามารถแพร่โดยทางตรง หรือทางอ้อมมาสู่คน
“โรคติดต่ออันตราย” หมายความว่า โรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้
“โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” หมายความว่า โรคติดต่อที่ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ หรือจัดเก็บ ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
“พาหะ” หมายความว่า คนหรือสัตว์ซึ่งไม่มีอาการของโรคติดต่อปรากฏแต่ร่างกายมีเชื้อโรคนั้น ซึ่งอาจติดต่อถึงผู้อื่นได้
“ระยะฟักตัวของโรค” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจนถึงเวลาที่ผู้ติดโรคแสดงอาการป่วยของโรคนั้น
“เขตติดโรค” หมายความว่า ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรที่มีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาดเกิดขึ้น
“ผู้ควบคุมพาหนะ” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการควบคุมพาหนะ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๒๓ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งมีการแพร่กระจาย ของโรคติดต่อที่รุนแรงและก่อให้เกิดโรคระบาดมากผิดปกติกว่าที่เคยเป็นมา ทั้งโรคติดต่อที่อุบัติใหม่และโรคติดต่อ ที่อุบัติซ้ำประกอบกับประเทศไทยได้ให้การรับรองและดําเนินการตามข้อกําหนดของกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการนี้ต้องพัฒนาและปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและข้อกําหนดของกฎอนามัยระหว่างประเทศ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523
การแจ้งความ ดำเนินการดังนี้
เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุมดูแลบ้าน ต้องแจ้งชื่อและที่อยู่ของตนความสัมพันธ์กับผู้ป่วย ชื่อ อายุ และ ที่อยู่ของผู้ป่วย สถานที่ที่ผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่ วันเริ่มป่วย และอาการสำคัญของผู้ป่วย
แพทย์ผู้ทำการรักษพยาบาล หรือผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาลต้องแจ้งชื่อที่อยู่และสถานที่ทำงานของตน ชื่อ อายุและที่อยู่ของผู้ป่วย สถานที่ที่ผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่ วันเริ่มป่วยและอาการสำคัญของผู้ป่วยวันแรกรับไว้รักษา การวินิจฉัยโรคขั้นต้น และสภาพผู้ป่วยขณะแจ้งความ
ผู้ทำการชันสูตรทางแพทย์หรือผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตรทางแพทย์ต้องแจ้งชื่อ ที่อยู่ และสถานที่ทำงานของตน ชื่อ อายุ ที่อยู่ และสถานที่ทำงานของ ผู้ส่งวัตถุตัวอย่างการวินิจฉัยโรคขั้นต้น และผลการชันสูตร
ผู้รับแจ้งความโรคติดต่อ
ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตจังหวัดนั้นๆ
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขตตำบลหรือหมู่บ้านนั้นๆแล้วแต่กรณี
กฎกระทรวง เกียวกับการแจ้งความว่าด้วยกฎหมายโรคติดต่อ ดังนี้
เมื่อมีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความเกิดขึ้น หรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีโรคติดต่อแพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาลผู้
รับผิดชอบในสถานพยาบาล ผู้ทำการชันสูตรทางแพทย์ หรือผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตรทางการแพทย์ แล้วแต่กรณี
แจ้งต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เริ่มมีการเจ็บป่วย
กฎหมายกำหนดกฎดกณฑ์การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ดังนี้
1.กำหนดให้ช่องทางและด่านตรวจคนเข้าเมืองตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เป็นด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือไม่
2.ถ้าหากปรากฎว่ามีโรคติดต่ออันตรายเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าในต่างประเทศนั้นๆเป็นเขตติดโรค
โรคติดต่อแจ้งความ 20 โรค
การแจ้งความโรคติดต่อ มาตรา 7 กำหนดเกี่ยวกับแจ้งความโรคติดต่อ ดังนี้
กรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความเกิดขึ้นให้บุคคลดังต่อไปนี้แจ้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
กรณีที่มีการเจ็บป่วยหรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีการป่วยโดยโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในบ้าน
ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้าน หรือของผู้คุมดูแลบ้าน หรือของแพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาล
ในกรณีที่ได้มีการชันสูตรทางแพทย์ตรวจพบว่าอาจมีเชื้ออันเป็นเหตุของโรคติดต่อดังกล่าว ผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตรทางแพทย์นั้น
โทษตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523
1.บุคคลใดไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุข เมื่อมีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้อง
แจ้งความเกิดขึ้น หรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีโรคติดต่อเกิดขึ้น มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
2.ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุข เมื่อมีเหตุสงสัยว่า
ได้เกิดโรคติดต่ออันตรายขึ้นในบ้านมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ความหมาย
“โรคติดต่อ” หมายความว่าประกาศไว้และให้ความหมายรวมถึงโรคซึ่งรัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นโรคติดต่อด้วย
“พาหะ” หมายความว่า คนหรือสัตว์ ซึ่งไม่มีอาการของโรคติดต่อปรากฎแต่ร่างกายมีเชื้อโรคนั้นซึ่งอาจติดต่อถึงผู้อื่นได้
“ผู้สัมผัสโรค” หมายความว่า คนซึ่งได้ใกล้ชิด คน สัตว์ หรือสิ่งของ ติดโรค จนเชื้อโรคนั้นอาจติดต่อถึงผู้อื่นได้
“ระยะฟักตัวของโรค” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจนถึงเวลาที่ผู้ติดโรคแสดงอาการป่วยของโรคนั้น
“โรคติดต่อต้องแจ้งความ” หมายความว่าให้หมายความรวมถึงโรคติดต่อ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศไว้ให้เป็นโรคติดต่อต้องแจ้งความด้วย
“ระยะติดต่อของโรค” หมายความว่า ระยะเวลาที่เชื้อโรคสามารถจะแพร่จากคนหรือสัตว์ที่มีเชื้อโรคไปยังผู้อื่นได้ โดยทางตรงหรือทางอ้อม
“เขตติดโรค”หมายความว่า ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด ในหรือนอกราชอาณาจักรที่มีโรคติดต่อเกิดขึ้น
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 บทบาทต่อไปนี้
1.ผู้แจ้งความโรคติดต่อ เมื่อพบหรือสงสัยว่าผู้ป่วยหรือผู้มาขอรับบริการสาธารณสุขป่วยด้วยโรค
ติดต่ออันตรายแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เมื่อพบหรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีการป่วย
2.ผู้ควบคุมการระบาดของโรค เมื่อมีผู้ป่วยโรคติดต่ออยู่ในความดูแล ผู้ประกอบวิชาชีพต้องให้ความสำคัญต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค การแยกผู้ป่วยการเฝ้าดูอาการเมื่อมีเหตุสงสัยว่าอาจเป็นโรคติดต่อ
นางสาว กนกวรรณ เนียมพลู เลขที่5 รหัสนักศึกษา612001005 รุ่น36/1
อ้างอิง:พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.2550.พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2550.สืบค้น 8 พฤษภาคม 2563.จาก
https://drive.google.com/file/d/1m_Xg5vxeq0HL6K8ISx2phcxs5UWYV70x/view?usp=drivesdk
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.2545.พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2545.สืบค้น 8พฤษภาคม2563.จาก
https://www.google.com
ราชกิจจานุเบกษา.2558.พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558.สืบค้น 8 พฤษภาคม 2563.จาก
https://drive.google.com/file/d/1MSmvGafDDYBvD8gFZxghm4mcS8JWm1z1/view?usp=drivesdk
เอกสารการเรียนการสอนอาจารย์ธิดารัตน์ ขาวเงินยวง.กฎหมายสาธารณสัขอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชึพการพยาบาลแลผดุงครรภ์