Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาองค์การและ เครื่องมือในการพัฒนาองค์กร - Coggle Diagram
การพัฒนาองค์การและ
เครื่องมือในการพัฒนาองค์กร
ความหมายขององค์กร
วัฒนธรรมองค์การ คือ ค่านิยม + ความเชื่อ
การพัฒนาองค์กร (Organization Development/OD): พยายามแบบมีแผน + ต่อเนื่อง
ให้เปลี่ยนแปลงทั้งระบบ โดยเฉพาะวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
องค์การ คือ การรวมกันของคน 2 คนขึ้นไป มาทำงานร่วมกันตามเป้าหมาย
แนวคิดในการพัฒนาองค์กร
องค์การมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผู้ทํางานมักมีปฏิกิริยาขัดขืนไม่พอใจ แต่ความเป็นจริงการเปลี่ยนแปลง
ทําให้เกิดประโยชน์และคุณภาพใหม่ที่น่าพอใจ นักบริหารจึงต้องหากระบวนการมาแก้ปัญหาและควบคุม
การเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามความต้องการขององค์การ
วัตถุประสงค์การพัฒนาองค์กร
*
เป้าหมายหลัก
สัมพันธภาพดี
เข้าใจดี
พัฒนาคน + งาน
ให้ตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ
กระจายการตัดสินใจ
เน้นปริมาณ + ความรู้สึก
เน้นหลักการ > บุคคล
เป้าหมายขององค์กรและคนมีทิศทางเดียวกัน
ปรับตัวรวดเร็ว + อยู่รอด
ปรับปรุงสิ่งที่ล่าสมัย/ขัดขวางความก้าวหน้า
มีกระบวนการทำงานเป็นแบบแผน + ส่วนร่วม
เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
องค์การที่ควรได้รับการพัฒนาองค์การ
หลักการและวิธีการบริหารไม่ดี
องค์การไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้
ขาดความร่วมมือประสานงานระหว่างหน่วยงาน
อํานาจหน้าที่ขององค์การกําหนดไว้ไม่แน่ชัด
หน่วยงานไม่ทํางานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
ที่วางไว้ มีการแย่งอํานาจ
บรรยากาศการทํางานเต็มไปด้วยการแข่งขัน
ชิงดีชิงเด่น อิจฉาริษยา
ขาดแรงจูงใจในการทํางาน เฉื่อยชา
ไม่กระตือรือร้น ขาดความคิดริเริ่ม
ทํางานมุ่งสนองความต้องการของตนเองมากกว่าองค์การ
ภาพพจน์ขององค์การไม่ดีในสายตาคนอื่น
มีปัญหาต่าง ๆ มาก คั่งค้างและสะสางไม่ออก
ต้องการเปลี่ยนทัศนคติของคนในองค์การ
ผู้บริหารขาดคณะทีปรึกษาหรือที่ปรึกษาไม่มีประสทธิภาพ
ต้องการการวางแผนที่ดีกว่า
ต้องการเปลี่ยนกลวิธีในการบริหารงาน
ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างและนโยบายขององค์การ
ต้องการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนการ
พัฒนาองค์กร
การกำหนดยุทธวิธี (Factors or Intervention):
เลือกวิธีการมาใช้พัฒนาองค์กร
การตรวจวินิจฉัยปัญหา (Diagnosis): นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ->
กำหนดเป้าหมายเมื่อทราบสาเหตุ -> วิเคราะห์แรงดัน - แรงดึง
การรวบรวมข้อมูล (Data gathering):
รวบรวมสภาพปัญหาในองค์กร
การประเมินผล (Evaluation): สอดคล้องกับเป้าหมาย เกณฑ์
และมาตรฐานหรือไม่ เพื่อนำมาปรับปรุง/พัฒนาต่อ
การสืบทอด
วัฒนธรรมองค์กร
การรักษาวัฒนธรรมที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงให้ยั่งยืนและดํารงอยู่กับองค์การในระยะยาว เช่น การคัดเลือกบุคลากรใหม่
ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่สร้างไว้หรือผู้บริหารต้องเป็นตัวอย่างที่ดี และหล่อหลอมให้เป็นวิถีชวิตในการทํางาน
เครื่องมือที่ใช้ใน
การพัฒนาองค์กร
ดัชนีวัดประสิทธิภาพทางอ้อม
มีเจตนาทลายเครื่องมือเครื่องใช้ในหน่วยงาน
ขาดความสามัคคี แบ่งแยกพรรคพวก
ความต้องการโอนย้าย
ตำหนิผู้บริหาร
การขาดงาน เฉื่อยชา
การสร้างเสริมประสิทธิภาพ
การบริหารงานในองค์กร
ผู้บริหาร
เป็นนักบริหารนักประกอบการ
มีภาวะผู้นำ มีความรู้ทั้งบริหาร บริการ
ส่วนองค์การและระบบงาน
ต้องมีการวางแผนและควบคุมงานที่ดี จัดระบบงานให้
เหมาะสมและการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ
บุคลากรในหน่วยงาน
ต้องรู้เป้าหมายในการทำงาน จัดลำดับความสำคัญ
ของงานได้อย่างเหมาะสม มีการพัฒนาตนเอง
ปัจจัยเสริมสร้างการบริหารงาน
ที่มีประสทธิภาพ
• แรงจูงใจ
• การสร้างขวัญและกําลังใจ
• การบริหารความขัดแย้ง
• การบริหารเวลา
• กระบวนการแก้ปัญหาและการตัดสนใจ
• การสร้างทีมงาน
• ผู้บริหารต้องตื่นตัวกระตือรือร้นในการเสริมสร้างประสทธิภาพในการบริหารงาน
เพื่อให้งานที่มีคุณภาพ แข่งขันกับคู่แข่งในสถานการณ์ปัจจุบันได้
การบริหารที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นตัวกำหนด
(MBO : Management by objective)
ขั้นตอนการบริหาร
กำหนดวัตถุประสงค์
ต้องชัดเจน ระบุการปฏิบัติงาน ระยะเวลา เกณฑ์ต่าง ๆ
ผู้ปฏิบัติมองเห็นทิศทางที่จะดำเนินการอย่างเด่นชัด
กำหนดจุดตรวจสอบ
• มีการประชุมระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง เพื่อตรวจสอบ
ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน โดยดูตามมาตรฐาน
• มาตรฐานต้องเหมาะสม เป็นไปได้ เชิงปริมาณชัดเจน
ปรับโครงสร้าง
ขององค์การ
• กำหนดลักษณะงานให้เอื้อในการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสทธิภาพ
• JD ต้องมีวัตถุประสงค์ ความรับผิดชอบ อํานาจและความสัมพันธ์ระหว่างตําแหน่ง
• ปรับปรุงแผนภูมิ และคู่มือองค์การให้เหมาะสม
การประเมินการปฏิบัติ
• หัวหน้าเป็นคนตัดสินด้วยสติปัญญา 1-2 ครั้ง/ปี
• ประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน/ผลที่คาดหวัง
• ไม่ประเมินทุกอย่างที่ผู้ปฏิบัติเกี่ยวข้อง
ทําให้ลดความเครียดระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง
• แล้วนําผลมาปรับปรุง เริ่มกระบวนการใหม่อย่างต่อเนื่อง
ความหมาย
เป็นการวางแผน เพื่อจัดองค์การที่หัวหน้าและลูกน้อง
มีบทบาทร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายและขอบเขตของงาน
เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามต้องการ
ลักษณะ
• เน้นความสำคัญของการวางแผน เพื่อการ
กำหนดวัตถุประสงค์ชัดเจนและวัดผลได้
• ผู้บริหารทุกระดับรับผิดชอบเรื่องการกำหนด
วัตถุประสงค์แล้วนําเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อเห็นชอบ
• การกำหนดวัตถุประสงค์เป็นเรื่องระหว่าง
ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
• เป็นการดําเนินงาน โดยการควบคุมตนเอง
ประโยชน์แก่องค์การ
• เป็นเครื่องมือในการวางแผน
• เป็นวิธีการนําไปสู่การกระจายอํานาจ
• กระตุ้นให้เกิดการจูงใจในการทํางาน
• เป็นเครื่องมือในการประเมินผล ควบคุมงาน
ระบบควบคุมคุณภาพ/กลุ่มคุณภาพ
(QCC, QC : Quality control circle)
ความหมาย
ผู้บังคับบัญชาระดับต้น เป็นแกนกลาง ดําเนินการโดยคนกลุ่มน้อย ในสถานปฏิบัติงานเดียวกันโดยสมัครใจ ทํากิจกรรมปรับปรุงงาน
โดยตนเองอย่างอิสระ ไม่ขัดต่อนโยบายหลัก
คุณลักษณะ
• คนกลุ่มน้อย
• ดําเนินกิจกรรมเพิ่มพูนคุณภาพโดยตนเองอย่างอิสระ
ณ สถานที่ทํางานเดียวกันร่วมกันทุกคนอย่างต่อเนื่อง
• ปรับปรุงสถานที่ทํางานให้สะอาดแจ่มใสน่าอยู่
• ใช้เทคนิควิธีการ QC
• พัฒนาตนเองและพัฒนาร่วมกัน
• กิจกรรมควบคุมคุณภาพทั้งองค์การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
วัตถุประสงค์
• เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมงานและภาวะผู้นํา
ของ first line supervisor โดยการให้พัฒนาตนเอง
• ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขวัญกําลังใจ และควบคุมคุณภาพ
เพิ่มพูนความสํานึกในคุณภาพปัญหาในงาน และแก้ไขปรับปรุงงาน
• เพื่อกิจกรรมคุณภาพทั่วทั้งองค์กรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
หลักการโดยใช้
Deming cycle
การวางแผน (Plan : P) ค้นหาปัญหา (โอกาสพัฒนา) วิเคราะห์ข้อมูล สาเหตุของปัญหา ระดับของปัญหา เลือกวิธีแก้ปัญหา
การปฏิบัติ (DO : D) นําวิธีแก้ปัญหาที่เลือกไปปฏิบัติ
การตรวจสอบ (Check : C) เปรียบเทียบก่อนและ
หลังว่าแตกต่างกันอย่างไร พร้อมหาสาเหตุแก้ไข
การแก้ไขปรับปรุง (Act : A) หากเป็นที่พอใจและ
ยอมรับทุกฝ่ายนําไปกําหนดมาตรฐานและเผยแพร่
เทคนิคในการทํา
กิจกรรมคุณภาพ
ผังก้างปลาหรือผังแสดงสาเหตุของปัญหา
(Cause and effect Diagram)
การระดมปัญญา (Brain storming)
ตารางบันทึกการแก้ไขปัญหา