Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 แบบของการวิจัย, อ้างอิง สมปอง เขียวช่วยพรม(2016)…
บทที่ 4 แบบของการวิจัย
การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัย
Conceptualization
กระบวนการสร้างมโนทัศน์จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติ
ใช้ความรู้จากทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการเขียน
เขียนแล้วได้เป็นกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี
Theoretical framework
เขียนแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของตัวแปรตามหลักการทางทฤษฎีที่มีอยู่
เขียนครอบคลุมทุกตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
มักเขียนเป็น diagram
Conceptual framework
เขียนแสดงตัวแปรไม่ครบทุกตัว
เลือกเขียนเฉพาะตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
ใช้คำบรรยายประกอบแผนภาพ
เขียนอธิบายความสัมพันธ์และอธิบายเหตุผล
การเขียน Conceptual framework
กำหนดขอบเขตการวิจัย
เปลี่ยนชื่อเรื่อง
ทำให้มีตัวแปรควบคุม
ทำให้อยู่ใน inclusion criteria
ทบทวนเอกสารและวรรณกรรมให้ครอบคลุม และทันสมัย
สรุปและเขียนว่าความรู้ประเด็นนี้เป็นอย่างไร
มีเกณฑ์ช่วยในการอ่านเพื่อที่นักวิจัยจะบอกว่าความรู้เรื่องนี้เป็นอย่างไร
ข้อบกพร่องที่พบบ่อย
การทบทวนวรรณกรรมไม่ดีพอจึง comment ไม่ได้
เขียนเป็นกระบวนการวิจัย
ใช้ theoretical concept มาเขียน
แสดงความสัมพันธ์ไม่ถูกต้อง
ประเภทของการวิจัย
แบ่งตามประโยชน์ของการนำผลการวิจัยไปใช้
การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์เป็นวิจัยที่มุ่งสร้างทฤษฎี สูตร หรือกฎเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาผลจากการวิจัยนี้จะเป็นสูตร กฎหรือทฤษฎีในการเรียนหรือการวิจัยในสาขานั้นๆต่อไป
การวิจัยประยุกต์ เป็นวิจัยที่เป็นไปเพื่อจะนำผลวิจัยที่เกิดขึ้นไปใช้ในการทำงานจริง เมื่อได้ผลเป็นอย่างไรก็จะนำไปสู่การตัดสินใจใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวานต่อไป
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มุ่งทำให้เกิดผลที่เป็นพัฒนางานหรือแก้ไขข้อบกพร่องของหน่วยงาน
แบ่งตามวัตถุประสงค์และวิธีการเสนอข้อมูล
การวิจัยขั้นสำรวจ เป็นการหาคำ
ตอบเกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษาว่าเป็นอย่างไร
การวิจัยเชิงบรรยาย เป็นการวิจัยคล้ายกับแบบสำรวจตรงที่ไม่มีการทดลองในการวิจัยนั้นๆแต่สามารถมีการเปรียบเทียบตัวแปร
การวิจัยเชิงอรรถาธิบาย ไม่มีการทดลองแต่หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์หรือหาปัจจัยที่มีผลต่อตัวแปรได้
การวิจัยเชิงคาดคะเน เป็นการวิจัยที่ให้ผลการวิจัยที่บอกสิ่งที่ยังไม่เกิดแต่คาดไว้ว่าจะเกิดอย่างไร
การวิจัยเชิงวินิจฉัย เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาปัญหาหรือสาเหตุของปัญหาและคำตอบก็จะเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาต่อ
แบ่งตามความสามารถในการควบคุมตัวแปร
การวิจัยเชิงทดลอง เป็นการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนได้เต็มที่
การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง เป็นการวิจัยที่ควบคุมได้บางส่วน
การวิจัยเชิงธรรมชาติิ ไม่ต้องควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนใดๆปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติแล้วดูว่าผลการวิจัยจะเป็นอย่างไร
แบ่งตามระเบียบวิธีการวิจัย
การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ หาความสัมพันธ์ตัวแปรบางตัวในอดีตกับปัจจุบันเพื่อทำนายว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร
การวิจัยเชิงบรรยาย ไม่มีการทดลองใดๆในการวิจัย ศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน
การวิจัยเชิงทดลอง มีการทดลอง
การวิจัยเชิงย้อนรอย เป็นการวิจัยที่ศึกษาจากผลไปหาเหตุเริ่มจากกำหนดผลหรือตัวแปรตามก่อนแล้วค่อยค้นหาสาเหตุ
การวิจัยเชิงสำรวจ หาคำตอบ เกี่ยวกับตัวแปรว่ามีคุณลักษณะอย่างไร จำนวนเท่าไร เป็นต้น
การวิจัยเชิงประเมินผล
ประเมินผลอาจใช้ CIPP แบบที่นักวิจัยไทยนิยม
ประเมินว่า context คือบริบทของงานที่ประเมินเป็นอย่างไรวัตถุประสงค์กับปัญหาสอดคล้องกันไหม
input คือปัจจัยนำเข้า เช่น งบประมาณ บุคลากร อุปกรณ์ ฯลฯ เพียงพอไหม
process คือ กระบวนการทำได้ครบไหม มีปัญหาอะไรเข้ามาแทรกไหม
product คือผลผลิต ได้ผลเป็นอย่างไร บรรลุวัตถุประสงค์ไหม เป็นต้น
แบ่งตามลักษณะของข้อมูล
การวิจัยเชิงปริมาณ
การวิจัยเชิงคุณภาพ
ตัวอย่าง
การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนา
หาความจริงโดยการเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องที่ศึกษา
การวิจัยปรากฏการณ์
อธิบายตัวแปรว่าคืออะไร โดยใช้ประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลที่เคยมีประสบการณ์เรื่องนั้น
การวิจัยทฤษฎีฐานราก
สร้างทฤษฎีจากข้อมูลที่พบ
การวิจัยแบบผสม
แบบคู่ขนาน
แบบตามลำดับก่อน-หลัง
แบ่งตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิจัยจากเอกสาร
เป็นการวิจัย ที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารรายงาน
จดหมายเหตุ ศิลาจารึก แล้วเสนอผลในเชิงวิเคราะห์
การวิจัยจากการสังเกต
เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตการวิจัยประเภทนี้นิยมใช้มากทางด้านมานุษยวิทยาซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลในสังคมในแง่ของสถานภาพ และบทบาท
การวิจัยแบบสำมะโน
เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยของประชากร
การวิจัยแบบสำรวจจากตัวอย่าง
เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
การศึกษาเฉพาะกรณี
เป็นการศึกษาเรื่องที่สนใจในขอบเขตจำกัดหรือแคบๆ และใช้จำนวนตัวอย่างไม่มากนักแต่จะศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่จะทำให้ทราบว่าบุคคลนั้นหรือกลุ่มบุคคลนั้นมีความบกพร่องในเรื่องใด
การศึกษาแบบต่อเนื่อง
เป็นการศึกษาที่มีการเก็บข้อมูลเป็น ระยะ ๆ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาของกลุ่มตัวอย่าง
การวิจัยเชิงทดลอง
เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลมาจากการทดลอง ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำโดยมีการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
งานวิจัยอื่นๆที่ควรรู้จัก
R2R (routine to research)
ทำงานประจำตามปกติแล้วพบปัญหา/จุดอ่อนในการทำงานแล้วหาวิธีมาแก้ไขปัญหา แล้วจึงเปรียบเทียบผลก่อน-หลัง
PAR (participatory action research)
เป็นวิจัยที่ทำเพื่อพัฒนาชุมชนให้คนในชุมชนร่วมทำวิจัยทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน และเป็นการพัฒนาที่เกิดขึ้นจริง
R&D (research and development)
ทำการวิจัยหลายขั้นตอน
เริ่มจากทำ research ดูว่าสถานการณ์ที่เกี่ยวกับปัญหา
นั้นเป็นอย่างไรบ้าง
นำผลของขั้นแรกมาออกแบบโปรแกรม/โครงการ/หลักสูตร ฯลฯ ที่จะตอบสถานการณ์ปัญหานั้น
หลังจากนั้นก็นำโปรแกรม/โครงการ/หลักสูตรฯลฯ ที่ออกแบบไว้มาใช้
อ้างอิง สมปอง เขียวช่วยพรม(2016).การเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย
นางสาว ปรียารัตน์ แข็งขัน เลขที่64 612001065 รุ่น 36/1