Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564), กลุ่ม B4 - Coggle…
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560 -2564)
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
พันธกิจ:เสริมสร้าง สนับสนุนและประสานให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้ง ภาครัฐ เอกชน นักวิชาการและภาคประชาสังคม ในการอภิบาลและพัฒนาระบบสุขภาพไทยให้เข้มแข็งรองรับกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
วิสัยทัศน์:ระบบสุขภาพไทยเข้มแข็ง เป็นเอกภาพ เพื่อคนไทยสุขภาพดีสร้างประเทศให้มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
เป้าประสงค์ (Goals)
1.ประชาชนชุมชนท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้การเจ็บป่วยและตายจากโรคที่ป้องกันได้ลดลง
2.คนไทยทุกกลุ่มวัยมีสุขภาวะที่ดีลดการตายก่อนวัยอันควร
3.เพิ่มขีดความสามารถของระบบบริการสุขภาพทุกระดับให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกเหมาะสม
4.มีบุคลากรด้านสุขภาพที่ดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม
5.มีกลไกการอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2:สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในระบบบริการสุขภาพ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างและพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวประจำให้ครบทุกแห่งเพื่อ เพิ่มความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการและคุณภาพในการดูแลประชาชน
2) เพื่อยกระดับขีดความสามารถของหน่วยบริการทุกระดับให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน มีความเป็นธรรม ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง ทัดเทียมกัน
3) เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสามารถในการแข่งขันให้กับระบบสุขภาพของประเทศ
4) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการได้รับบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
มาตรการและแนวทางพัฒนา
1) จัดกลุ่มหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Cluster)
2) เพิ่มขีดความสามารถของหน่วยบริการทุกระดับ
3) พัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายและพันธมิตร
4) สร้างระบบคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย(Patient Safety) และการลดปัญหาการฟ้องร้อง
6) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยด้านสุขภาพ
5) พัฒนาระบบการประเมินเพื่อการตัดสินใจในการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HTA)
ยุทธศาสตร์ที่ 3:พัฒนาและสร้างกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ
วัตถุประสงค์
2) เพื่อบูรณาการระบบการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศให้ตั้งอยู่บนฐานของความร่วมมือระหว่างผู้ผลิต และผู้ใช้กำลังคนด้านสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน
3) เพื่อสร้างกลไกและระบบการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ รวมทั้งระบบการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพในทุกระดับ
1) เพื่อวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพที่สอดรับกับการออกแบบระบบสุขภาพและความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชนแต่ละพื้นที่และทิศทางระบบสุขภาพของประเทศ
4) เพื่อสร้างเครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพ ที่ประกอบด้วยภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน
มาตรการและแนวทางพัฒนา
1) พัฒนาระบบและกลไกการขับเคลื่อนการบริหารจัดการและการบูรณาการ
2) เร่งผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ
3) สร้างกลไกการสื่อสารและภาคีเครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพ
อัตราส่วนกำลังคนด้านสุขภาพต่อประชากร
แพทย์ 1 : 1,800
ทันตแพทย์ 1 : 3,600
เภสัชกร 1 : 2,300
พยาบาลวิชาชีพ 1 : 300
ยุทธศาสตร์ที่ 1: เร่งการเสริมสร้างสุขภาพคนไทยเชิงรุก
วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างความเข้มแข็งของบุคคล ชุมชน ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและภาคประชาสังคมด้านสุขภาพ ให้มีศักยภาพ มีความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องด้านพฤติกรรมสุขภาพ มีการเรียนรู้ มีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพลดลง สามารถช่วยเหลือ ดูแลตนเองและชุมชน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการสร้างและจัดการระบบสุขภาพ
2) เพื่อสร้างระบบสุขภาพเชิงรุก ที่มุ่งสร้างเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีสุขภาพดี มีระบบการปูองกันควบคุมโรคและปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ มีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพที่ดี มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
3) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่เกิดจากความร่วมมือของครอบครัว ชุมชน และสถานพยาบาล ให้มีความพอเพียงและเหมาะสมต่อการเข้าถึงบริการของผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี เข้าสู่สังคมสูงวัยได้อย่างมีความสุข
มาตรการและแนวทางพัฒนา
1) เสริมสร้างภาคีเครือข่ายและพันธมิตรด้านสุขภาพ
2) พัฒนากระบวนการกำหนดนโยบายและกฎหมายด้านสุขภาพตามหลัก Health in All Policy
3) สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
4) พัฒนาระบบเพื่อจัดการกับปัจจัยที่กำหนดสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 4:พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งในการอภิบาลระบบสุขภาพ
วัตถุประสงค์
1) เพื่ออภิบาลระบบสุขภาพอย่างมีธรรมาภิบาล เป็นเอกภาพ อันจะส่งผลให้มีความมั่นคง ยั่งยืนของระบบสุขภาพ
2)เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการบริการสุขภาพระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การเงินการคลังด้านสุขภาพ รวมถึงยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ
มาตรการและแนวทางพัฒนา
2) ส่งเสริมระบบการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมด้านสุขภาพ
3) พัฒนาระบบยา เวชภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ของประเทศ
1)สร้างระบบธรรมาภิบาลและการจัดการความรู้
4) เสริมสร้างกลไกและกระบวนการในการบริหารจัดการข้อมูล
6) สร้างและพัฒนากลไกการดูแลด้านการเงินการคลังสุขภาพของประเทศ ให้มี S A F E
5) ปรับปรุงและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
หลักการของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12
อยู่ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป็นแผนพัฒนาระยะ 5 ปี และเป็นกลไกเชื่อมต่อเป่าหมายยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ด้านสุขภาพ
ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา เพื่อให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี
ยึดเป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579 ควบคู่กับกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
การปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0
ประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2
กรอบแนวทางแผนระยะ20 ปี ด้านสาธารณสุข เพื่อวางฐานรากของระบบสุขภาพในระยะ 5 ปีให้เข้มแข็งเพื่อคนไทยมีสุขภาพแข็งแรง สามารถสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสุขภาพ
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว
ระบบข้อมูลข่าวสารและการวิจัยด้านสุขภาพยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและงานวิจัยที่มีได้อย่างเพียงพอ
ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพก็ยังมีปัญหาในการจัดการ
การเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาทำให้รูปแบบของภาระโรคเปลี่ยนจากโรคติดเชื้อไปเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
กลไกการอภิบาลระบบสุขภาพในระดับชาติและระบบธรรมาภิบาลยังไม่ชัดเจน
ปัญหาสุขภาพจากอุบัติเหตุภัยพิบัติและภัยสุขภาพรวมทั้งโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น
กลุ่ม B4