Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพัฒนาองค์กรและเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร - Coggle Diagram
บทที่ 3
การพัฒนาองค์กรและเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร
ความหมายองค์การ
การรวมตัวของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อมาร่วมมือ
(หรือประสานงาน) ทำงานบางอย่างให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้
ขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ
ขั้นตอนของการพัฒนาองค์การประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
2.การตรวจวินิจฉัยปัญหา (Diagnosis)
3.การกำหนดยุทธวิธี (tactic or Intervention )
1.การรวบรวมข้อมูล (Data Gathering)
4.การประเมินผล ( Evaluation )
วัตถุประสงค์ในการพัฒนาองค์การ
5.มุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล
6.เน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคน
4.ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข วัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญ
7.กระจายการตัดสินใจไปยังผู้ปฏิบัติ
3.เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน
2.เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว
และอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการ
เปลี่ยนแปลง
8.ส่งเสริมให้สมาชิกตระหนักในความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่
9.มุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลและองค์การเข้าด้วยกัน
1.เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ขององค์การ
ความหมายการพัฒนาองค์กร (Organization Development)
ความพยายามอย่างมีแผนที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรเป็นความพยายามที่จะทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงระบบขององค์กรทั้งที่เป็นทางการและ ไม่เป็นทางการควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรเป็นหลักไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาองค์กร(Organization Development Tools)
การจะใช้เครื่องมือชนิดใดขึ้นอยู่กับบทบาทหน้าที่ขององค์กรนั้นและผู้ประเมินประเมินจากความก้าวหน้าขององค์กร ผลกำไร การขยายสาขา การดำรงสถานภาพของผู้บริหาร การบรรลุผลสำเร็จของงาน ความพึงพอใจของบุคลากรในหน่วยงาน ผู้ปฏิบัติงานมีสุขภาพจิตดี ยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรคุณภาพที่ดีของการบริการและความพึงพอใจของผู้รับบริการ
การบริหารที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นตัวกำหนด (MBO : Management by objective)
เน้นความสำคัญของการวางแผนเพื่อการกำหนดวัตถุประสงค์ชัดเจน และวัดผลได้ผู้บริหารทุกระดับ
รับผิดชอบเรื่องการกำหนดวัตถุประสงค์แล้วนำเสนอ
ผู้บังคับบัญชาเพื่อเห็นชอบการกำหนดวัตถุประสงค์
เป็นเรื่องระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา และเป็นการดำเนินงานโดยการควบคุมตนเอง
ระบบควบคุมคุณภาพ/กลุ่มคุณภาพ (Quality control circle : QCC,QC)
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติ (DO:D) นำวิธีแก้ปัญหาที่เลือกไปปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบ (Check : C) เปรียบเทียบก่อนและหลังว่าแตกต่างกันอย่างไร พร้อมหาสาเหตุแก้ไข
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Plan : P) ค้นหาปัญหา (โอกาสพัฒนา ) วิเคราะห์ข้อมูล สาเหตุของปัญหาระดับของปัญหา เลือกวิธีแก้ปัญหา
ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนสุดท้าย ได้แก่ การแก้ไขปรับปรุง (Act:A)หากเป็นที่พอใจและยอมรับทุกฝ่ายนำไปกำหนดมาตรฐานและเผยแพร่
การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total quality management : TQM)
เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมใน การพัฒนา การดำเนินงานขององค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งตอบสนองความต้องการและความพอใจของลูกค้า เป็นการสร้างโอกาส ความได้เปรียบ การแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การ
การบริหารแบบซิกซิกม่า(Six sigma)
มุ่งเน้นความเป็นเลิศ ซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการสื่อสาร การสร้างกลยุทธ์ และนโยบาย การกระจายนโยบาย การจูงใจ และการจัดสรรทรัพยากรในองค์การให้เหมาะสม เพื่อให้การปรับปรุงองค์การเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
ลยุทธ์ที่สำคัญของ six sigma 4 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย
Control
Improvement
Analyze
Measurement
ระบบการบริหารแบบลีน(Lean Management System)
แนวการออกแบบหรือการปรับปรุงกระบวนการหรือคุณค่าที่เป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์ ในการกำจัดของเสีย ปรับปรุงคุณภาพ ลดต้นทุน เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า ปรับปรุงความพอใจให้กับพนักงาน เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน ใช้เวลาน้อย ใช้พื้นที่น้อย ใช้ความพยายามจากมนุษย์น้อยและใช้วัตถุดิบน้อย
องค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning organization : LO)
Peter Senge เป็นผู้ที่สร้างความเข้าใจและเผยแพร่จนเป็นที่ยอมรับและถือเป็นแนวปฏิบัติคือ“วินัย 5 ประการในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้”
Share visionฝันเดียวกัน สมาชิกในองค์การมีการกำหนดเป้าหมาย (Goals) ค่านิยม(Value)การมีวิสัยทัศน์ (vision) พันธกิจ (Mission) ร่วมกัน
Team learningการเรียนรู้เป็นทีม
Mental Modelการยึดติดในใจ อคติ ความฝังใจ
System thinking ระบบการคิดของคนในองค์กร
Personal Mastery ความเป็นเซียนส่วนบุคคล
การบริหารจัดการความรู้(Knowledge Management : KM)
เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการบริหาร เป็นการเสพความรู้ ย่อยความรู้ เลือกความรู้ที่มีประโยชน์ มีคุณธรรม ต่อยอด ความรู้ สร้างองค์ความรู้ใหม่ ถ่ายทอด รักษาความรู้ได้ เก่ง ดี มีความสุข อย่างมีสติ
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change management)
มีอยู่ด้วยกัน 3 ขั้นตอน
การนำแผนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ (Implementing Change)ประกอบด้วยขั้นตอนและข้อพิจารณาต่าง ๆ
การติดตามประเมินผลและรักษาผลการเปลี่ยนแปลง (Evaluating and Maintaining Change)
การวางแผนการเปลี่ยนแปลง (Planning for Change)
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award
:PMQA)
มีจุดมุ่งเน้นที่สำคัญ 6 ประการ
ปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว
พัฒนาการบริหารคนและการพัฒนาคน มีความคิดริเริ่มและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความสำคัญกับประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศ
การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์
ทำงานโดยมุ่งผลลัพธ์เป็นสำคัญ(ประโยชน์สุขของประชาชน)
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์(RESULT BASED MANAGEMENT - RBM )
มุ่งที่จะให้เกิดผลในการปฏิบัติงานหรือผลสัมฤทธิ์ ที่เราต้องการให้เกิดขึ้น การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์จึงถูกกำหนด ให้เป็น นโยบายของประเทศในการปฏิรูประบบราชการไทยซึ่งจะต้อง ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่ตั้งเป้าหมายไว้ หรือทำอะไรย่ำอยู่กับที่