Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
๔.การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) - Coggle Diagram
๔.การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)
หมายถึงการจัดการกับเหตุการณ์ทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเหมาะสม องค์การได้รับผลดี และลดผลกระทบในทางที่ไม่ดีของการเปลี่ยนแปลง
รูปแบบของการเปลี่ยนแปลง
๑. การเปลี่ยนแปลงเชิงรุก (Proactive) เป็นการเปลี่ยนแปลงตนเองก่อนที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงจากผู้อื่นซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์ และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
๒. การเปลี่ยนแปลงเชิงรับ (Reactive) เป็นการถูกเปลี่ยนแปลงโดยผู้อื่นตัวเองไม่ยอมที่จะเปลี่ยนแปลง หรือมีความคิดติดยึดในแนวทางเดิมๆมานาน ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับสภาวะการณ์ในปัจจุบันและอนาคต
ความสาคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลง
๑. องค์การที่มีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี จะปรับตัวได้ทันกับปัญหา และการท้าทายจากสภาพแวดล้อมได้
๒. การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี ช่วยให้องค์การเห็นโอกาส และภัยคุกคามต่างๆ ที่เกิดขึ้น และสามารถปรับการดาเนินงานเพื่อคว้าโอกาส และ หรือจัดการกับภัยคุกคามได้อย่างเหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์
๓. การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดีจะช่วยให้การดาเนินงานขององค์การเป็นไปโดยราบรื่น ต่อเนื่อง ไม่ต้องติดขัด ชะงักงันโดยเฉพาะในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง
๔. การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี จะช่วยให้องค์การไม่สับสน วุ่นวาย ระส่าระสาย เมื่อต้องเผชิญกับความจาเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนการดาเนินงาน
๕. การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี จะช่วยให้องค์การได้ปรับปรุงตัวเองอย่างต่อเนื่องในด้านต่างๆ และจะช่วยให้มีการนาศักยภาพที่มีอยู่ในองค์การมาใช้ได้อย่างคุ้มค่า
องค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงในองค์การ
ซึ่งมีด้วยกัน ๓ ประการด้วยกัน
เทคโนโลยี (Technology) ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ รวมถึงระเบียบกรรมวิธีปฏิบัติงานกับเครื่องจักร เครื่องมือเหล่านั้น
ระเบียบสังคม (Social Order) ซึ่งหมายถึงการจัดระเบียบ โครงสร้างของกลุ่ม สถาบัน บรรทัดฐาน ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ในองค์การทั้งที่กาหนดไว้อย่างเป็นทางการ และที่ไม่เป็นทางการ
อุดมการณ์ (Ideology) ซึ่งหมายถึงความเชื่อ ค่านิยมสูงสุด ที่เป็นตัวกากับทิศทางแบบแผนของพฤติกรรมในองค์การ ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า “จิตสานึก” เช่น จิตสานึกประชาธิปไตย หรือ จิตสานึกเพื่อส่วนรวม เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
แรงต่อต้าน
ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียประโยชน์ อานาจ ความมั่นคง หรือสิ่งที่เคยมี เคยทาอยู่จนเคยชิน
ความรู้สึกหวั่นไหวต่อความคลุมเครือ ความไม่แน่นอน ความรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงจะทาให้ตนถูกโดดเดี่ยว แปลกแยก และความรู้สึกที่จะต้องละจากแบบแผนของชีวิตที่ใช้มาจนเคยชิน
การขาดความรู้ความเข้าใจที่ดีพอเกี่ยวกับแนวทาง วิธีการ และจุดหมายปลายทางของการเปลี่ยนแปลง
ความไม่เชื่อถือ ไว้วางใจ ไม่เชื่อใจกัน ซึ่งทาให้ขาดการสื่อสารสร้างความเข้าใจ ซึ่งยิ่งบ่อนทาลายความไว้วางใจกันและกัน
ปัจจัยอื่นๆ เช่น ข้อจากัดด้านทรัพยากร ความไม่ยืดหยุ่นของกฎระเบียบ ความยากลาบากในการสื่อสารฯลฯ
แรงเสริม
ความไม่พึงพอใจในสภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่
ความสามารถในการรับรู้ข่าวสารร่วมกันในหมู่คนในองค์การ ซึ่งจะช่วยให้เห็นความจำเป็นของสถานการณ์ได้ตรงกัน พร้อมๆกัน
ภาพลักษณ์ และการปฏิบัติตนของผู้นาที่แสดงถึงความมุ่งมั่น เอาจริงเอาจังต่อการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลในตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มตำแหน่งผู้บริหาร
ความจำเป็นขององค์การที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการดำเนินการ และความรวดเร็วของพัฒนาการทางเทคโนโลยีประเภทที่องค์การใช้เป็นหลักในการดำเนินการ
สัมพันธภาพระหว่างบุคลากรในฝ่ายและระดับต่างๆ ในองค์การ รวมถึงความไว้วางใจ และการสื่อสารที่ทั่วถึงกัน
กลไกในการประเมิน ทบทวนสภาพภายในองค์การ เช่น ระบบการติดตามประเมินผล
การได้ติดต่อสัมพันธ์กับภายนอกองค์การ ซึ่งทาให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์
การขั้นตอนการบริหารการเปลี่ยนแปลง
๑. การวางแผนการเปลี่ยนแปลง (Planning for Change)
๒. การนาแผนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ (Implementing Change)
๓. การติดตามประเมินผล และรักษาผลการเปลี่ยนแปลง (Evaluating and Maintaining Change)