Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การทำพินัยกรรมชีวิต (Living Will), ที่มา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ…
การทำพินัยกรรมชีวิต
(Living Will)
มาตรา 12 ของ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
“บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนารมณ์ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนเอง เพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนารมณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและพ้นจากความรับผิดชอบทั้งปวง”
เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลสามารถแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าได้ว่า เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิตและจะต้องจากไปขอจากไปตามวิธีธรรมชาติโดยไม่ประสงค์จะให้ใช้เครื่องมือต่างๆจากเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพันธนาการร่างไว้เพื่อยืดความตายออกไป
มิใช่บทบัญญัติที่ให้ที่ให้บุคคลใดสามารถเร่งการตายได้ กล่าวคือ มิใช่เรื่องการุณยฆาต หรือการทำ
ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วเข้า ซึ่งโดยทั่วไปเป็นเรื่องที่ไม่สามารถกระทำได้
จะใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตเท่านั้น หากยังเป็นกรณีที่รักษาได้ ก็จะต้องรักษากันไปตามปกติ ในผู้ป่วยวาระสุดท้ายนั้นคือ ภาวะของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ และผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้รับผิดชอบการรักษาได้วินิจฉัยจากการพยากรณ์โรคตามมาตรฐานทางการแพทย์
ว่าภาวะนั้นนำไปสู่การตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในระยะเวลาอันใกล้จะถึงและหมายความรวมถึงภาวะสูญเสียหน้าที่อย่างถาวรของเปลือกสมองใหญ่ที่ทำให้ขาดความสามารถในการรับรู้และติดต่อสื่อสาร โดยปราศจากพฤติกรรมตอบสนองใดๆที่แสดงถึงการรับรู้ได้จะมีเพียงปฏิกิริยาตอบอัตโนมัติ
คืออะไร
เอกสารแสดงเจตจำนงล่วงหน้าเป็นเอกสารที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมลายมือชื่อ หรือเป็นคำกล่าวต่อหน้าบุคคลที่เป็นพยานซึ่งได้บันทึกตามความต้องการของเขาเกี่ยวกับการรักษาทางการแพทย์ ที่เขาประสงค์หรือไม่ประสงค์จะรับการรักษา เมื่อบุคคลผู้นั้นไม่รู้สึกตัวหรือไม่สามารถแสดงเจตจำนงของตนเองได้ในขณะนั้น
ที่มา : The World Medical Association Statement on Advance Directives (2003)
แนวคิดของ living will
เป็นสิทธิผู้ป่วยอย่างหนึ่งคือ บุคคลมีสิทธิในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาด้วยตนเอง
การปฏิเสธการรักษาเป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างหนึ่ง
ในบางกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้าง สมาชิกในครอบครัว และทีมสุขภาพได้ เพราะอยู่ในภาวะวิกฤตหรือมีแนวโน้มที่จะเป็น
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ผู้ป่วยที่ประสงค์จะตายอย่างสงบตามธรรมชาติ ไม่ทุกข์ทรมาน สามารถปฏิเสธการรักษาที่เกินความจำเป็น หรือไร้ประโยชน์แก่ผู้ป่วย
มีสิทที่จะทราบข้อมูลผลดี ผลเสียจากการรักษาแต่ละแบบ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
ประโยชน์
ป้องกันและลดความขัดแย้งของ
ญาติผู้ป่วยที่ต้องที่ต้องตัดสินใจแทนผู้ป่วย
เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการรักษาล่วงหน้า
(Advance care planning)
ทำให้บุคลากรทางการแพทย์เกิดความสบายใจ เพราะปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ป่วยและกฎหมายให้ความคุ้มครอง
หลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรอย่างสูญเปล่า
เกินความจำเป็นของโรงพยาบาลและทั้งบุคลากร
มุมมองในระดับนานาชาติ
ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา สิงคโปร์ และบางประเทศในแถบยุโรปยอมรับการทำ
living will เพราะเห็นว่ามนุษย์มีอิสระในการตัดสินโชคชะตาของตนเองแแม้ในเรื่องการตายและควรมีกฎหมายรับรองถึงสิทธิการตาย(Right to die) เรียกแตกต่างกัน เช่น ประเทศอังกฤษเรียก Advance decisions
ประเทศสหรัฐอเมริกาเรียก Health care advance directive ประเทศสิงคโปร์เรียก Advance medical directive (AMD) ซึ่งหมายถึงเอกสารทางกฎหมายที่บุคคลทำขึ้นเพื่อแสดงเจตนาไม่รับบริการทางสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อการยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย โดยให้มีผลเมื่อผู้ทำหนังสืออยู่ในภาวะที่ไม่อาจแสดงเจตนาได้ด้วยตนเอง
เนเธอร์แลนด์ ประเทศแรกในโลกที่มีกฎหมายรองรับการุณยฆาต โดยอนุญาตให้มีการ
ทำการุณยฆาตได้ในเด็กอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป
ที่มีอาการป่วยซึ่งไม่สามารถรักษาได้หากว่าเด็กร้องขอเพื่อยุติความเจ็บปสดโดยเด็กคนนั้นต้องมีสติสัมปชัญญะรับรู้ และมีความสามารถในการตัดสินใจที่ดีค
นอร์เวย์ การุณยฆาตเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย การเป็นเหตุให้หรือมีส่วนสนับสนุนต่อการเสียชีวิตของผู้อื่น อาจจำคุก 8 ปี แต่ผู้ดูแลที่ช่วยจบชีวิตโดยความยินยอมของผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยเหตุสงสาร เห็นใจ อาจได้รับการหย่อนโทษ
สวิตเซอร์แลนด์ สิทธิขอตายอย่างสงบได้รับการยอมรับในวงกว้าง การฆ่าตัวตายโดยได้รับการช่วยเหลือเป็นเรื่องถูกกฎหมาย แต่การทำการุณยฆาตเป็นเรื่องต้องห้าม กฎหมายอนุญาตให้ช่วยเหลือฆ่าตัวตายได้ด้วยวิธีการจัดหาวิธีการคำแนะนำแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้จบชีวิตตนเองโดยบอกว่า แพทย์สามารถกระทำการุณยฆาตได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ตราบใดที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าไม่มีมีมูลเหตุ จงใจทำให้ผู้อื่นตาย โดยบุคคลสามารถรับการช่วยเหลือทางอ้อมให้ฆ่าตัวตายได้ เช่น การจัดหาสารพิษ โดยมีข้อจำกัดว่า ต้องไม่เกิดจากความเห็นแก่ตัวหรือทำไปเพื่อผลประโยชน์ การช่วยเหลือทางตรงไม่สามารถทำได้ เช่น ช่วยป้อนยาพิษ ฉีดสารให้
อิสราเอล กฎหมายอาญาของประเทศอิสลามไม่อนุญาตให้มีการพรากชีวิตผู้อื่น หรือลดทอนชีวิต
ข้อพิจารณาทางศาสนา
ศาสนาพุทธ
ในคัมภีร์พุทธศาสนา พูดถึงเสมอว่าอย่างไรเป็นการตายที่ดี คือมีสติไม่หลงตาย และที่ว่าตายดีนั้นไม่ใช่เฉพาะตายแล้วไปสู่สุคติเท่านั้น แต่ขณะที่ตายก็เป็นจุดสำคัญที่ว่าต้องมีจิตใจที่ดี คือมีสติ มีจิตใจไม่ฟั่นเฟือน ไม่เศร้าหมองไม่ขุ่นมัว จิตใจดีงาม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตต•โต)
ส่วนใหญ่หมายถึง ตายโดยไม่เจ็บปวด ไม่ทุรนทุราย ไม่นาเกลียด ไม่มีใครมาทำให้ตาย หรือตายเพราะอุบัติเหตุ การตายที่พึงปารถนายังรวมถึง การตายท่ามกลางคนรัก ญาติมิตร ไม่จากไปอย่างโดดเดี่ยวอ้างว้างในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยไม่สร้างความเดือดร้อนแก่คนที่ยังอยู่ พระไพศาล วิสาโล,ตายดีมีสุข
ศาสนาอิสลาม
มุสลิมมีความเชื่อว่าความเจ็บป่วย คือ การทดสอบของพระเจ้า ศาสนาอิสลามจึงมีบทบัญญัติที่ว่าด้วยแนวทางการดูแลและจัดการการตายไว้อย่างชัดเจน
ความตายเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตย่อมมีสิทธิที่จะตายโดยปราศจากขั้นตอนการรักษาที่ไม่มีความจำเป็นเพราะเครื่องมือที่ใช้ยืดชีวิตออกไป เป็นเพียงมาตการชั่วคราวเท่านั้น ไม่ควรมีการให้อาหารหรือสารน้ำแก่ผู้ป่วย ผู้ป่วยควรได้รับอนุญาตให้ตายอย่างสงบและมีความสบาย สมัชชาอิสลามิกชนแห่งทวีปอเมริกาเหนือ
สิ่งที่ญาติต้องทำเสมอ สอนให้ผู้ป่วยกล่าวปฏิญาณอย่างสม่ำเสมอ กล่าวขอพรให้ผู้ป่วย อ่านคัมภีร์อันกุรอานให้ผู้ป่วยฟังเพื่อระลึกถึงพระเจ้า พูดเฉพาะสิ่งดีๆต่อหน้าผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยได้ทำละหมาด วันละ 5 เวลา ทำเท่าที่สภาพร่างกายจะทำได้ ให้ญาติได้พร้อมหน้าเพื่อสั่งเสียและได้ มาอัน(ขอโทษ) ซึ่งกันและกัน ให้ผู้ป่วยได้ เตาบัต หรือลุแก่โทษต่ออัลลอฮ์ในความผิดบาปที่ผ่านมา
ก่อนลมหายใจสุดท้าย จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหันหน้าไปทางดิบละฮะโดยตะแคงด้านขวา หรือนอนหงายศีรษะสูงก็ได้ ให้คนที่ผู้ป่วยรักที่สุดเตือนให้ผู้ป่วยกล่าว ลาอิลาฮะ กอฮ หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ฉันเคารพนอกจากอัลลอฮ์
ศาสนาคริสต์
ชาวคริสต์เชื่อว่าพระเจ้าเป็นของทั้งผู้เป็นและผู้ตาย พระเจ้าประทานชีวิตและกำหนดความตายไว้แล้ว เพื่อให้มนุษย์ได้กลับไปหาพระองค์และไปอยู่ในที่ที่ดีกว่า ความตายจึงไม่ใช่การสิ้นสุด เพราะการตายเป็นการแยกจิตวิญญาณออกจากร่างกายเพื่อกลับไปอยู่กับพระเจ้าตลอดกาล
สิ่งสำคัญมากในทุกวันนี้คือ การรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความหมายแห่งชีวิตของชาวคริสเตียน แม้ในบางขณะที่กำลังตาย เพื่อมิให้ใช้เทคโนโลยีในทางที่มิชอบซึ่งคุกคามสิ่งเหล่านี้ คำว่า “สิทธิที่จะตาย(right to die)” จึงมิได้หมายถึงสิทธิที่จะยื่นความตายด้วยน้ำมือใครคนใดคนหนึ่งหรือด้วยวิธีการใดๆแต่หมายถึงสิทธิที่ตายอย่างสงบ(die peacefully) อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวคริสเตียน
เมื่อความตายไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แม้ว่าจะใช้วิธีการรักษาต่างๆแล้ว การตัดสินใจปฏิเสธการรักษาเป็นสิ่งที่พึงอนุญาตและชอบด้วยจริยธรรม ตราบเท่าที่ยังมีการดูแลผู้ป่วยตามปกติ หากการรักษานั้นเป็นไปตามประสงค์ของผู้อื่นและสร้างภาระในการยืดชีวิตผู้ป่วยออกไปเท่านั้น ในสถานการณ์เช่นนี้ไม่มีเหตุผลใดที่แพทย์จะตำหนิตนเองที่มิได้ช่วยเหลือบุคคลที่ตกอยู่ในอันตรายนั้น
ที่ประชุมของสมณกระทรวงแห่งพระศาสนจักรคาทอลิก(วาติกัน)เกี่ยวกับหลักแห่งศรัทธา (1980)
ที่มา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (2557)
แสวง บุญเฉลิมวิภาส (มปป.)
ไพศาล ลิ้มสถิตย์ (2559)