Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์, นางสาวดารารัตน์ บุญกล้า เลขที่ 29…
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์
ความหมาย
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด (Premature rupture of membranes=PROM)
ภาวะถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกเองก่อนที่จะเข้าสู่ระยะการเจ็บครรภ์คลอดที่แท้จริง การรั่วหรือแตกของถุงน้ำคร่ำแบ่งเป็น 2 ชนิด
แตกเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์(preterm PROM)
แตกเมื่ออายุครรภ์ 37 สัปดาห์(termPROM)
สูติแพทย์บางคนใช้ระยะเวลาการแตกของถุงน้ำคร่ำเป็นหลักในการแบ่งร่วมด้วย
มีการแตกของถุงน้ำคร่ำ 1-12 ชั่วโมงก่อนการเจ็บครรภ์ เรียกระเวลาตั้งแต่ถุงน้ำคร่ำแตกจนถึงเริ่มเจ็บครรภ์ว่า latent perio
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดนานเกิน 24 ชั่วโมงเรียกว่า ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดนาน (prolonged rupture of the membranes) เป็นต้น
อุบัติการณ์
รายงานของการเกิดภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดตั้งแต่ร้อยละ 3 ถึง 18.5 ของการคลอดทั้งหมด และมักเป็นสาเหตุสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 80-90 ของสตรีที่ตั้งครรภ์ครบกำหนด
สาเหตและปัจจัยเสี่ยง
สาเหตุที่แท้จริงของภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดยังไม่ทราบ ส่วนใหญ่เกิดจากหลายสาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยง มีดังนี้
ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง ส่วนนำหรือศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับเชิงกรานมารดา ทำให้ส่วนนำปิดที่ส่วนล่างช่องเชิงกรานไม่สนิท
ุุ6.รกลอกตัวก่อนกำหนด (abruption placenta) หรือรกเกาะต่ำ (placenta previa)
4.การทำหัตถการเพื่อการวินิจฉัยโรคทารกก่อนคลอด เช่น การเจาะถุงน้ำคร่ำ
ปากมดลูกปิดไม่สนิท (cervical incompetence)หรือปากมดลูกสั้น ความยาวของปากมดลูกน้อยกว่า 25 มิลลิเมตร ใช้สูติศาสตร์หัตถการอัลตร้าซาวด์ผ่านทางช่องคลอด
8.ปัจจัยส่วนบุคคลหรือพฤติกรรมของหญิงตั้งครรภ์ เช่น มีเศรษฐฐานะต่ำ สูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวัน รับประทานอาหารไม่ถูกต้องกับภาวะโภชนาการ ขาดสารอาหาร ขาดวิตามินซี มีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งในระยะตั้งครรภ์
มีการอักเสบติดเชื้อที่ปากมดลูกหรือช่องคลอด เช่น สเตปโตคอคคัสกลุ่มบี(group B. streptococcus) ทำให้เกิดการติดเชื้อตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์( peritnalinfection) ในมารดาและทารก
การอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ(chorioamnionitis)ที่เกิดก่อนแล้ว อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส
ครรภ์แฝด(twins) และครรภ์แฝดน้ำ(hydramnios) ทำให้มดลูกมีความตึงตัวสูง อาจทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (chorioamnionitis) การที่ถุงน้ำคร่ำแตกทำให้สิ่งกีดขวางไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่โพรงมดลูกถูกทำลายลง หญิงตั้งครรภ์จึงมีโอกาสเกิดการติดเชื้อสูง
ภาวะเสี่ยงมากจะเกิดขึ้นถ้าถุงน้ำคร่ำเกิดนานเกิน 18 ชั่วโมง
ถ้าถุงน้ำคร่ำแตกนานการติดเชื้อจะลุกลามต่อไปจนเกิดการอักเสบในโพรงมดลูกอาจทำให้ทารกปอดบวมได้
การคลอดก่อนกำหนด (premature labour) ถ้าถุงน้ำคร่ำแตกจะกระตุ้นการเจ็บครรภ์คลอด ถ้าแตกก่อนอายุครรภ์คร 37 สัปดาห์ทารกจะเกิด่ก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อน คือ กลุ่มอาการหายใจลำบาก (respiratoly distress syndrome=RDS) เป็นสาเหตุทำให้ทารกเสียชีวิตได้และอาจีสายสะดือพลัดต่ำ (prolapsed of cord)
การวินิจฉัย
1.ซักประวัติ : ประวัติน้ำไหลออกจากช่องคลอดก่อนเข้าสู่ระยะคลอด
การตรวจร่างกาย: ใช้สเปคคูลัม(speculum examination) พบน้ำขังที่บริเวณแอ่งหลังของช่องคลอด (posterior fornix) หรือเมื่อกดบริเวณยอดมดลูกลงมาพร้อมกับให้ผู้คลอดเบ่งหรือไอ (caugh test)จะเห็นน้ำไหลออกจากปากมดลูก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การทดสอบด้วยกระดาษไนตราซีน(nitrazine test)
2.การทดสอบรูปใบเฟริ์น (Fern test)
การทดสอบไนท์บลู (Nile's blue test)
แนวทางการรักษา
รายที่มีการติดเชื้อ:รักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะ ในรายที่มีไข้สูงกว่า38 องศาเซลเซียส ต้องกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์และคลอดโยไม่ต้องคำนึงถึงอายุครรภ์ โดยการใช้ออกซิโทซิน (oxytocin)หยดเข้าหลอดเลือดดำ
2.รายที่ไม่มีการติดเชื้อ: พิจารณาให้การรักษาโดยคำนึงถึงอายุครรภ์ ดังนี้
2.1 อายุครรภ์น้อยกว่า37 สัปดาห์ ให้การรักษาแบบประคับประคอง (concervative) โดยให้หญิงตั้งครรภ์นอนพักในโรงพยาบาล เฝ้าระวังการติดเชื้อโดยการตรวจหาส่วนประกอบของเลือด(complete blood count =CBC)เพื่อดูความเข้มข้นของเลือด จำนวนเกล็ดเลือดรวมทั้งจำนวนเม็ดเลือดขาว
ตรวจปัสสาวะเป็นระยะๆ วัดสัญญาณชีพและฟังเสียงหัวใจทุก 4 ชั่วโมงงดตรวจทางช่องคลอดเพื่อลดโอกาสเสี่ยงการติดเชื้อ เมื่ออายุครรภ์ครบ
37 สัปดาห์์และไม่มีการติดเชื้อจึงกระตุ้นให้เกิดการคลอด
ถ้าอายุครรภ์ประมาณ 34 สัปดาห์ ในรายที่สงสัยว่าทารกในครรภ์อาจมีภาวะขาดออกซิเจน ควรนำน้ำคร่ำมาตรวจ (amniocentesis) เพื่อประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ของปอด (lung maturity) ของทารกในครรภ์ เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
2.2 อายุครรภ์มากกว่า 37 สัปดาห์ขึ้นไป ประมาณร้อยละ 80-90 จะคลอดได้เองภายใน 24 ชั่วโมง ต้องให้ยากระตุ้นการเจ้บครรภ์กรณีที่ไม่มีข้อห้ามของการให้ออกซิโทซิน ถ้ากระตุ้นไม่ได้ผลควรทำผ่าตัดนำเด็กออกทางหน้าท้อง
การให้คอร์ติโคสเตียรอยด์(corticosteroids) เช่น dezamethasone หรือ betamethasone ให้ในหญิงตั้งครรภ์จะให้ในหญิงตั้งครรภ์ที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์อยู่ระหว่าง 30-32 สัปดาห์ เพื่อช่วยเร่งพัฒนาการของปอดทารกและลดอุบัติการณ์ของภาวะขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์
เมื่อมีการคลอดภายหลังการให้ยาไปแล้ว 24 ชั่วโมง แต่รายงานส่วนใหญ่ไม่พบว่าสเตียรอยด์สามารถลดอุบัติการณ์ของภาวะขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ได้ แต่ทำให้เกิดการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์และทารกเพิ่มขึ้น สูติแพทย์บางคนจึงไม่นิยมให้ใช้ยานี้
การพยาบาล
1.การซักประวัติ
ประวัติการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ กำหนดคลอด
พบประวัติปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด เช่น ประวัติการอักเสบในช่องคลอด สูบบุหรี่ในระยะตั้งครรภ์ เป็นต้น
2.การตรวจร่างกาย
ประเมินอายุครรภ์เพื่อให้ได้อายุครรภ์ที่แน่นอน
คลำได้ส่วนทารกชัดเจนหรือตรวจพบทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก พบว่าไม่มีการเจ็บครรภ์คลอด
ตรวจบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ุ พบว่าเปียกชื้น มีน้ำไหลออกมา ต้องสังเกตสี กลิ่นและลักษณะของน้ำที่ไหลออกมา
ตรวจวัดสัญญาณชีพ
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การทดสอบด้วยกระดาษไนตราซิน (nitrazine test) กระดาษจะเปลี่ยนเป็นสีฟ้าหม่นหรือสีกรมท่า
การทดสอบรูปใบเฟริ์น (Fern test) พบผลึกรูป
ใบเฟริ์น
การทดสอบไนท์บลู(Nile's blue test) พบเซลล์ไขมัน(Neutral lipid) ของทารกติดสีแสด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีโอกาสเกิดถุงน้ำคร่ำแตกซ้ำเนื่องจากปฏิบัติตนไม่ถูกต้องจากการขาดความรู้ในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
วิตกกังวลและรู้สึกผิดเนื่องจากถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
นางสาวดารารัตน์ บุญกล้า เลขที่ 29 รหัสนักศึกษา 603101029