ตัวอย่างการนำกระบวนการสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน แนวทางการจัดความรู้ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างท้องที่กับท้องถิ่นเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาท ลักษณะและรูปแบบความร่วมมือระหว่างท้องที่กับท้องถิ่นและปัจจัยเงื่อนไขในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างท้องที่กับท้องถิ่นในการ พัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน 2) เพื่อวิเคราะห์การจัดการความรู้ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างท้องที่กับท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการความรู้ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างท้องที่กับท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาเอกสาร และการศึกษาภาคสนามใน 3 พื้นที่ คือ ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ตำบลศิลาลอย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่จากการคัดเลือกของผู้ทรงวุฒิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก 33 คน รวมทั้งการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 11 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. บทบาท ลักษณะและรูปแบบความร่วมมือระหว่างท้องที่กับท้องถิ่นและปัจจัยเงื่อนไขในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างท้องที่กับท้องถิ่นในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน พบว่า บทบาทความร่วมมือมี 5 ประการ คือ 1) บทบาทผู้นำ 2) บทบาทผู้สนับสนุน 3) บทบาทผู้เข้าร่วม 4) บทบาทผู้ปฏิบัติ และ5) บทบาทผู้รับผล มีลักษณะความร่วมมือ คือ ความร่วมมือแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ มีรูปแบบความร่วมมือ 3 ประการ คือ 1) แบบหุ้นส่วน 2) แบบกลุ่มรวมพลัง และ3) แบบเครือข่าย และมีปัจจัยเงื่อนไขในการส่งเสริมความร่วมมือ ได้แก่ ปัจจัยเงื่อนไขภายใน คือ 1) การตระหนักต่อบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน 2) การมีจิตสำนึกเรื่องความร่วมมือ 3) การมีภาวะผู้นำ 4) ระดับการศึกษา 5) ความสัมพันธ์เครือญาติ 6) กลไกทางการเมือง 7) การบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล และปัจจัยเงื่อนไขภายนอก คือ 1) บริบทชุมชน 2) กฎหมายและระเบียบ 3) การสนับสนุนจากส่วนกลาง 4) การประสานนโยบายของรัฐ 5) กลไกงบประมาณ และ6) การเสริมพลังของคนในชุมชน 2. การจัดการความรู้ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างท้องที่กับท้องถิ่นเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน มี 6 ประการ คือ 1) แสวงหาความรู้ 2) สร้างความรู้ 3) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) จัดเก็บความรู้ 5) นำความรู้ไปใช้ 6) การรับรู้ ซึ่งอาจมีการจัดเรียงลำดับก่อนหลังแตกต่างกัน 3. แนวทางการจัดการความรู้ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างท้องที่กับท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน มี 6 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างการรับรู้ 2) การแสวงหาความรู้ 3) การสร้างความรู้ 4) การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) การจัดเก็บความรู้ และ6) การนำความรู้ไปใช้ อ้างอิง https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43651