Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ Preterm Premature Rupture of Membranes,…
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์
Preterm Premature Rupture of Membranes
ความหมาย
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด (Premature rupture of membranes = PROM) หมายถึง ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกเองก่อนที่จะเข้าสู่ระยะการเจ็บครรภ์คลอดที่แท้จริง )
การรั่วหรือแตกของถุงน้ำคร่ำอาจแบ่งออกเป็น
• แตกเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ (preterm PROM หรือ PPROM )
• แตกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 37 สัปดาห์ (term PROM)
มีการแตกของถุงน้ำคร่ำ 1-12 ชั่วโมงก่อนการเจ็บครรภ์ เรียกระยะเวลาตั้งแต่ถุงน้ำคร่ำแตกจนถึงเริ่มเจ็บครรภ์ว่า latent perio ถ้าถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดนานเกิน 24 ชั่วโมกเรียกว่า ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดนาน (prolonged rupture of the membranes
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
1.ประวัติน้ำเดินก่อนกำหนดในครรภ์ก่อน โดยเฉพาะก่อนอายุครรภ์ครบกำหนด
2.การอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (chorioamnionitis) ที่เกิดก่อนแล้ว อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส
3.การอักเสบติดเชื้อในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ปากมดลูก ช่องคลอด และปากช่องคลอด เช่น สเตปโตคอคคัส กลุ่มบี ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ในมารดาและทารก ซึ่งพบว่าเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดจะสร้างสาร Phospholipase ซึ่งเป็นเอนไซม์อย่างหนึ่งที่กระตุ้นการสร้างสาร prostaglandins ซึ่งจะมีผลกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามมา และตัวเชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปสู่บริเวณปากมดลูกและถุงน้ำคร่ำจะกระตุ้นให้มีการสร้าง inflammatory mediators หลายชนิด ทำให้เกิดการแตกของถุงน้ำคร่ำขึ้น
4.ตั้งครรภ์แฝดและครรภ์แฝดน้ำ ทำให้มดลูกมีความตึงตัวสูง จึงอาจจะทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
5.ภาวะเลือดออกทางช่องคลอด เช่นในรายที่คุณแม่มีประวัติเลือดออกในไตรมาสแรก โดยเฉพาะถ้ามีเลือดออกบ่อยๆ และในหลายๆ ช่วงของการตั้งครรภ์มากกว่าหนึ่งไตรมาส
6.การทำหัตถการเพื่อการวินิจฉัยโรคทารกก่อนคลอด เช่น การเจาะถุงน้ำคร่ำ
7.ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง ส่วนนำ หรือศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกรานมารดา ทำให้ส่วนนำปิดที่ส่วนล่างของเชิงกรานไม่สนิท เมื่อมีแรงดันเกิดขึ้นในโพรงมดลูก แรงดันนั้นจะผ่านมาที่ถุงน้ำคร่ำส่วนล่าง ทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกได้
8.รกลอกตัวก่อนกำหนด หรือ รกเกาะต่ำ
9.ปากมดลูกปิดไม่สนิทหรือปากมดลูกสั้น ความยาวของปากมดลูกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 25 มิลลิเมตร
10.ปัจจัยส่วนบุคคลหรือพฤติกรรมของหญิงตั้งครรภ์ เช่น มีเศรษฐกิจต่ำ สูบบุหรี่มากกว่า 20 มวน/วัน จะเพิ่มความเสี่ยงสูง 2-4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ รับประทานอาหารไม่ถูกต้องกับภาวะโภชนาการ ขาดสารอาหาร ขาดวิตามินซี มีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งในระยะตั้งครรภ์
พยาธิน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ความผิดปกติจากการสร้าง collagen จากภูมิคุ้มกันบกพร่องของทั้งมารดาและทารกจากการติดเชื้อ เช่น กลุ่ม B.streptococcus การสูบบุหรี่ ขาดสารอาหารประเภทโปรตีน วิตามินซี สังกะสี
ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของ Homeostasis ของเยื่อบุน้ำคร่ำทำให้กระตุ้นการทำงานของ Matrix mattalloproteinases และลดการสร้าง Matrix
ซึ่งทำให้ความตึงผิวและความยืดหยุ่นของถุงน้ำคร่ำลดลง จนเกิดภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
นอกจากนี้ยังเกิดจากสรีรภาพที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการเพิ่มความดันภายในถุงน้ำคร่ำ เช่น การกระแทก ความผิดปกติของมดลูก การผ่าตัดบริเวณปากมดลูก ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ ทำให้ความตึงผิวและความยืดหยุ่นของถุงน้ำคร่ำลดลง จนเกิดภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดเช่นกัน
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
มารดา
Chorioamnionitis มีการอักเสบของเยื่อหุ้มเด็กหรือรก พบมารดามีไข้มากว่า 38 องศาเซลเซียส เพราะติดเชื้อจากเด็ก รก น้ำคร่ำให้ผลบวกถือว่าติดเชื้อแน่นอน
Endometritis มีภาวะมารดามีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส ใน 2 ครั้งห่างกันอย่างน้อยทุก 6 ชม. หลังคลอด 24 ชม.แรก
Amnionitis ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ พบบ่อยในรายถุงน้ำคร่ำแตกก่อนในขณะที่ตั้งครรภ์ไม่ครบกำหนดโดยเฉพาะรายที่มีการคลอดยาวนานและในรายที่ผ่าท้องคลอดจะเกิด Amnionitis มากขึ้น
ทารก
การตายปริกำเนิด : ขึ้นกับอายุครรภ์เมื่อมีการแตกของถุงน้ำคร่ำเป็นสำคัญ
การติดเชื้อของทารกในครรภ์ : ทารกแรกคลอดและมารดา พบภาวะ Sepsis ในทารกแรกคลอดประมาณร้อยละ 1 ในรายถุงน้ำคร่ำแตกนานเกิน > 24 ชั่วโมงและขึ้นไปถึงร้อยละ 10 ถ้ามีภาวะเยื่อหุ้มทารกติดเชื้ออักเสบร่วมด้วย การติดเชื้ออักเสบของเยื่อหุ้มทารกพบได้ประมาณร้อยละ 10 ในรายถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดยาวนาน
Perinatal Asphyxia : Premature Rupture of Membranes มีกลไกที่ทำให้เกิด birth asphyxia ได้หลายทาง เช่น จากภาวะน้ำคร่ำน้อยเกิดการกดสายสะดือ ท่าทารกผิดปกติ ภาวะมีไข้ของมารดา ในบรรดาการตายของทารกคลอดก่อนกำหนดพบว่าร้อยละ 44.9 มีสาเหตุจาก Anoxia
การเจริญเติบโตของทารก : ใน Premature Rupture of Membranes มีรายงานว่าอัตราการเจริญของ เส้นรอบศีรษะเป็นปกติ
ความผิดปกติโดยกำเนิด : พบได้หลายชนิดซึ่งสัมพันธ์กับการมีน้ำคร่ำน้อยเป็นเวลานาน
– Pulmonary Hypoplasia เนื่องจากการขยายของปอดเป็นไปได้น้อย ไม่มีการไหลเวียนของน้ำคร่ำในทางเดินหายใจ ยิ่งอายุครรภ์น้อยยิ่งมีโอกาสเกิดสูงและสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณน้ำคร่ำที่เหลืออยู่
– มีการหดเกร็ง (Contracture) ของข้อต่อที่พัฒนาการดีมาก่อน ซึ่งเรียกว่า Arthrogryposisซึ่งพบได้บ่อย
– Potter Syndrome : เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากทารกอยู่ในสภาพแออัดขยับตัวลำบากเป็นเวลานาน มีลักษณะหดเกร็งผิดรูปร่างของข้อต่อ ผิวหนังเหี่ยวย่น หน้าตามีลักษณะจำเพาะ (Potter Facies) มีรอยย่นมากโดยเฉพาะใต้ตา หูติดต่ำ จมูกแบน
– Craniosynostosis : แต่จะหายภายหลังได้
– Amniotic Bands Syndrome : การฉีกขาดของ Amnion ทำให้เกิดเป็น Band ขึ้นและอาจไปรัอวัยวะทารกบางส่วนจนแน่นหรือตัดขาดได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ที่หน้า หน้าอกหน้าท้อง แขนและขา
– Respiratory Distress Syndrom : พบได้บ่อยขึ้น คือประมาณร้อยละ 10-40
อาการและอาการแสดง
1.มีน้ำใสๆ ไหลออกจากช่องคลอด คล้ายปัสสาวะ แต่ไม่สามารถกลั้นให้หยุดไหลได้ และน้ำที่ไหลออกมาไม่กลิ่นของปัสสาวะ
2.มีน้ำเดิน แต่ไม่เจ็บครรภ์
3.FHS น้อยกว่า 120 ครั้ง/นาที ในกรณีที่สายสะดือถูกกด
4.สัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง น้ำคร่ำสีขุ่น มีกลิ่นเหม็น กดเจ็บที่มดลูก กรณีมีการติดเชื้อร่วมด้วย
5.ถ้าใช้สเปคคูลัม จะพบว่ามีน้ำขังอยู่ที่บริเวณแอ่งหลังของช่องคลอด ถ้าผู้คลอดไอจะเห็นน้ำไหลออกจากปากมดลูด
6.ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง จะพบว่ามีน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios)
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ มีประวัติน้ำไหลออกจากช่องคลอดก่อนเข้าสู่ระยะคลอด
2.การตรวจร่างกาย
-ใช้สเปคคูลัม (speculum examination) พบมีน้ำขังอยู่ที่บริเวณแอ่งหลังของช่องคลอด (posterior fornix)
กดบริเวณยอดมดลูกพร้อมกับให้ผู้คลอดเบ่งหรือไอ (cough test) จะเห็นน้ำไหลออกจากปากมดลูก
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การทดสอบด้วยกระดาษไนตราซีน (nitrazine test) ทดสอบความเป็นกรดด่างของน้ำในช่องคลอดโดยน้ำคร่ำมีค่า pH เป็นด่าง กระดาษจะเปลี่ยนเป็นสีฟ้าหม่นหรือสีกรมท่า แต่อาจเป็นผลบวกลวงได้ถ้ามีเลือดหรือน้ำอสุจิหรือน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นด่างมาปน
-การทดสอบรูปใบเฟิร์น (Fern test) นำน้ำจากช่องคลอดป้ายลงบนแผ่นสไลด์ทิ้งไว้ให้แห้งดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ถ้าเป็นน้ำคร่ำจะเห็นเป็นรูปผลึกใบเฟิร์น อาจเป็นผลลบลวงถ้ามีเลือด ขี้เทา หรือมูกจากช่องคลอด
-การทดสอบไนท์บลู (Nile's blue test) เป็นการตรวจดูเซลล์ไขมันของทารก โดยการนำน้ำคร่ำ 1 หยดผสมกับ 0.1 Nile blue sulfate 1 หยดบนสไลด์ ปิดด้วย cover slip ลนไฟเล็กน้อยดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ เซลล์ไขมัน (neutral lipid ) ของทารกจะติดสีแสด อาจมีผลลบลวงถ้าอายุครรภ์น้อยกว่า 36 สัปดาห์
แนวทางการรักษา
1.รายในรายที่มีการติดเชื้อ
ใช้ยาปฏิชีวนะ
-ในรายที่มีไข้สูงกว่า 38 ๐c ต้องกระตุ้นให้เจ็บครรภ์โดยใช้ oxytocin โดยไม่คำนึงอายุครรภ์ ให้คลอดทางช่องคลอดได้ถ้าไม่มีข้อห้าม
ในรายที่ให้ oxytocin แล้วยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์และถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่วมาก 48 ชม. ให้ผ่าคลอด
2.ในรายที่ไม่มีการติดเชื้อ พิจารณาให้การรักษาดังนี้
2.1 อายุครรภ์ < 37 weeks ให้การรักษาแบบประคับประคอง(Conservative)
-ให้นอนพักในโรงพยาบาล เฝ้าระวังการติดเชื้อ
-ตรวจ CBC เพื่อดูความเข้มข้นของเลือด จำนวนเกล็ดเลือด และ จำนวนเม็ดเลือดขาว
-ตรวจปัสสาวะเป็นระยะๆ วัด BP PR T และ ฟังเสียง FHS ทุก 4 ชม.
-งดการตรวจทางช่องคลอดเพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อ
-อายุครรภ์ครบ 37 weeks ไม่มีการติดเชื้อกระตุ้นให้คลอด
-ถ้าอายุครรภ์ < 34 weeks ในรายที่สงสัยภาวะขาดออกซิเจนในทารกควร ตรวจ Amniocentesis ประเมินการทำหน้าที่ของปอดทารก ภายหลังให้การรักษาและน้ำคร่ำหยุดไหลจะให้กลับบ้านได้ โดยแนะนำให้พักผ่อนให้เพียงพอ งดการร่วมเพศ มาหาแพทย์ทันทีเมื่อมีไข้ เจ็บครรภ์หรืออาการผิดปกติอื่นๆ
2.2อายุครรภ์ > 37 weeks
-สามารถคลอดได้เองเมื่อเจ็บครรภ์ภายใน 24 ชม.
-ให้ยากระตุ้นการเจ็บครรภ์ (Oxytocin)ในกรณีที่ไม่มีข้อห้ามในการใช้ ถ้ากระตุ้นไม่ได้ผลให้ผ่าคลอด
-มีการยาในกลุ่ม corticosteroids เช่น dexamethasone จะให้ในหญิงตั้งครรภ์ที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดในรายที่อายุครรภ์ระหว่าง 30-32 weeks เพื่อเร่งพัฒนาการของปอดลดการเกิดภาวะการขาดออกซิเจนในทารก แต่ส่วนใหญ่เมื่อมีการคลอดหลังให้ยาไป 24 ชม.ไม่พบว่าลดการเกิดลดการเกิดภาวะการขาดออกซิเจนในทารกได้แต่ทำให้เกิดการติดเชื้อ สูติแพทย์บางคนจึงไม่นิยมใช้
ภาวะแทรกซ้อน
1.การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (Chorioamnionitis)
1.2 ติดเชื้อลุกลามถึงโพรงมดลูก
มดลูกอักเสบหลังคลอด (Postpartum endometritis)
เชื้อเข้าปากและจมูกทารกเข้าสู่ปอด ทำให้ปอดบวม
ติดเชื้อที่รก เชื้อเข้าสู่ทารกตามกระแสเลือด (Sepsis) ทารกตาย
1.1 เสี่ยงมากถ้าถุงน้ำคร่ำแตกเกิน 18 ชั่วโมง
2.การคลอดก่อนกำหนด (Premature labor)
2.1 กลุ่มอาการหายใจลำบาก RDS
2.2 เสี่ยงได้รับการกระทบกระเทือนในระยะคลอด จากการมีส่วนนำผิดปกติ
2.3 เพิ่มอัตราการผ่าตัดคลอด จากการมีส่วนนำผิดปกติ
รกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental abruption)
3.1 พบได้บ่อยในรายที่อายุครรภ์น้อยๆ
3.2 เสียเลือด สารน้ำในร่างกายลดลง (Hypovolemia)
สายสะดือพลัดต่ำ/สายสะดือย้อย (Prolapsed Cord)
ทารกตายในครรภ์ (Fetal death)
การพยาบาล
การพยาบาลระยะตั้งครรภ์
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
หลีกเลี่ยงการตรวจทางทวารหนักและทางช่องคลอด
แนะนำหญิงตั้งครรภ์ใส่ผ้าอนามัย เพื่อสังเกตลักษณะ จำนวนสี กลิ่นของน้ำคร่ำ
ดูแลบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาดอยู่เสมอป้องกันการติดเชื้อ
แนะนำหญิงตั้งครรภ์ระมัดระวัง อย่าให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณหน้าท้อง
ตรวจท่าทารกและฟังเสียงหัวใจ หากมีความผิดปกติต้องรีบรายงานแพทย์ อาจเตรียมคลอด
กรณีให้การดูแลรักษาแล้ว ยังมีน้ำคร่ำไหลแพทย์อาจพิจารณาให้คลอด เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิด กับทารก
กรณีน้ำคร่ำหยุดไหล แพทย์พิจารณาให้กลับบ้านได้ ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว ดังนี้ 8.1 พักผ่อนให้มาก งดทำงานหนักหรือยกของหนัก 8.2 งดการมีเพศสัมพันธ์ 8.3 หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด เช่น สูบบุหรี่ 8.4 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ 8.5 ระวังอย่าให้ท้องผูก เพราะการเบ่งถ่ายอุจจาระอาจทำให้เกิดถุงน้ำคร่ำแตกได้ 8.6 หมั่นรักษาทำความสะอาดร่างกายทุกวันอย่างสม่ำเสมอ
ให้หญิงตั้งครรภ์มาตรวจตามนัดทุกครั้ง
การพยาบาลระยะคลอด
1.ประเมินภาวะของทารก เช่น การติดตามการเต้นของหัวใจทารก
2.ประเมินดูการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อประเมินความก้าวหน้าในการคลอด
3.ถ้าปากมดลูกพร้อมสำหรับการคลอด พิจารณาก่อให้เกิดการเจ็บครรภ์โดยใช้ Oxytocin
4.หลีกเลี่ยงการตรวจภายในโดยไม่จำเป็นเพื่อลดการติดเชื้อ
5.พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะแบบป้องกันโดยให้ยา Ampicilin ขนาด 2 กรัมฉีดเข้าหลอดเลือดดำทันทีและขนาด 1 กรัมทุก 4 ชั่วโมงจนกระทั่งคลอด หรือPenicillin G ขนาด 5 ล้านยูนิตเข้าหลอดเลือดดำทันทีและขนาด 2.5 ล้านยูนิตทุก 4 ชั่วโมงจนกระทั่งคลอด ถ้าแพ้ยาPenicilin พิจารณาให้ Clindamycin หรือ Eythromycinแทนหากว่าปากมดลูกยังไม่พร้อมสำหรับการคลอด
6.พิจารณากระตุ้นให้เจ็บครรภ์คลอดเลย โดยอาจจะใช้ยาเหน็บ Prostaglandin E2 (PGE2) หรือรอเป็นเวลา24-72 ชั่วโมง โดยไม่พบว่ามีผลลัพธ์แตกต่างกัน
การพยาบาลระยะหลังคลอด
1.อธิบายเรื่องภาวะเรื่องภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด แนวทางการรักษาตลอดจนผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้น เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยและตอบคำถามให้เข้าใจ จะช่วยลดความกลัว ความวิตกกังวลลง และให้ความร่วมมือในการรักษา
2.มีการประเมินอย่างใกล้ชิดว่ามีการติดเชื้อโดยประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงโดยเฉพาะการวัดไข้ ในระยะสองวันแรกหลังคลอดเพื่อประเมินดูภาวะการติดเชื้อในโพรงมดลูกหลังคลอด
3.สังเกตสีและกลิ่นของน้ำคาวปลา ได้แก่ น้ำคาวปลามีสีแดงไหลออกมามากและเป็นเวลานานและมีกลิ่นเหม็นและสังเกตอาการปวดท้องน้อย ร่วมกับการตรวจพบเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น ที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อหลังคลอดต้องดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
4.ประเมินแผลฝีเย็บ อาการปวดหลังคลอดว่าแผลมีลักษณะบวมแดงผิดปกติหรือไม่
5.ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่างโดยการกระตุ้นให้ปัสสาวะหลังคลอด 6 ชั่วโมง
ดูแลความสุขสบายทั่วไปโดยเฉพาะเต้านมและอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ความสะอาดของร่างกาย ความสะอาดของช่องปาก ความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์โดยให้เปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้ง เพื่อลดการหมักหมมของเชื้อโรคซึ่งอาจส่งผลต่ออุณหภูมิร่างกาย รวมทั้งเพื่อความสุขสบายของมารดาหลังคลอด
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเพียงพอ โดยรับประทานอาหารครบทุกประเภท เพื่อช่วยให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว และยังมีผลต่อการสร้างน้ำนมในระยะหลังคลอด งดอาหารรสจัดของหมักดอง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
แนะนำการพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะสัปดาห์แรกหลังคลอด
แนะนำให้ผู้ป่วยทำงานให้เหมาะสมกับสภาพความพร้อมของร่างกายและจิตใจ ในระยะ 2 สัปดาห์ ห้ามทำงานหนัก
แนะนำการงดร่วมเพศ 6 สัปดาห์หลังผ่าตัดคลอด
แนะนำให้เข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว และวิธีการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม โดยให้ผู้ป่วยและสามีเป็นคนตัดสินใจในการเลือก
1.นางสาวจรรยารัตน์ ทับโชติ เลขที่ 9 (603101009)
2.นางสาวชญานี ศรีวงศ์ เลขที่ 14 (603101014)
3.นางสาวฑิตยา พลมณี เลขที่ 23 (603101023)
4.นางสาวนฤมล ดีสมจิตร เลขที่ 43 (603101043)
5.นางสาวนิศารัตน์ การบุญ เลขที่ 46 (603101046)
6.นางสาวบุญญิสา ขำสมอ เลขที่ 47 (603101047)
7.นางสาวปรียาภรณ์ วงษ์ษา เลขที่ 58 (603101058)
8.นางสาวศศิธร มงคลชาญ เลขที่ 91 (603101092)
9.นางสาวสวรรยา สาลีพัฒนผล เลขที่ 96 (603101097)
10.นางสาวสุภาวดี แสงอินทร์ เลขที่ 105 (603101106)
11.นางสาวเหมือนฝัน ตั้งนารี เลขที่ 108 (603101109)
12.นางสาวนิภาวรรณ นามอยู่ เลขที่ 121 (603101122)
13.นางสาวรัชนีย์ ขาวเงิน เลขที่ 125 (593101074)