Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพครอบครัว กลุ่มคนและชุมชน:pen:, ซึ่งพัฒนาการทางด้านร…
ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพครอบครัว
กลุ่มคนและชุมชน:pen:
🔺ปัจจัยภายใน🔻
📍ด้านจิตใจ ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม
ความเครียด
ทัศนคติ ความเชื่อของบุคคลเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อแนวโน้มการเกิดพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ การรับรู้ของบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการป้องกันโรคซึ่งองค์ประกอบการรับรู้ 6 ด้านคือ
4) การรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับเป็นความคิดความเชื่อว่าการกระทําตามคําแนะนําจะก่อประโยชน์แก่ตนเอง ลดความเสี่ยงหรือลดความรุนแรง
5) การรับรู้อุปสรรค/ค่าใช้จ่ายเป็นความคิดความเชื่อว่าการกระทําตามคําแนะนํานั้นเป็นสิ่งยุ่งยาก เสียค่าใช้จ่าย ทําได้ยาก
3) ภาวะคุกคาม (perceived threat)
2) ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรค (perceived severity)
6) การรับรู้ความสามารถตนเอง(self-efficacy)เป็นการรับรู้ที่เชื่อว่าตนเองมีศักยภาพ มีความสามารถกระทําพฤติกรรมสุขภาพได้สําเร็จในระดับต่างๆ
1) การับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค (perceived susceptibility)
ค่านิยม
ค่านิยมของสังคมจะมีอิทธิพลต่อการประพฤติปฏิบัติของบุคคลในสังคมนั้นๆ การเปลี่ยนแปลงด้านค่านิยมและวัฒนธรรมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วผ่านกระแสโลกาภิวัฒน์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ทําให้สามารถสื่อสารกันได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว จึงทําให้ความแตกต่างเรื่องเวลาและสถานที่หมดไป
มุมมองในลักษณะงานทางการแพทย์และสาธารณสุขเปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นบริการให้ความช่วยเหลือกันในเชิงมนุษยธรรม กลายเป็นธุรกิจโรงพยาบาล เนื่องจากมีการโฆษณาและนําโรงพยาบาลเข้าาสู่ตลาดหลักทรัพย์มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลที่แพงมาก ทําให้ผู้ที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลในราคาแพงมีความรู้สึกว่ามาโรงพยาบาลมาพบแพทย์เพื่อใช้บริการหรือมาซื้อบริการไม่ใช่มารับความช่วยเหลือเหมือนเมื่อก่อน
ความเครียด
การจัดการกับความเครียดมีความเกี่ยวข้องกับความฉลาดทางอารมณ์และปัจจัยด้านครอบครัว การพัฒนาและส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิต โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนซึ่งเป็นช่วงของการเรียนรู้สังคมครอบครัวมีบทบาทสําคัญเกี่ยวกับพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กและมีภารกิจหลักในการดูแล อบรม กล่อมเกลาเด็ก บิดา มารดาหรือผู้ปกครองควรจะดูแลเอาใจใส่เด็กอย่างใกล้ชิด เอาใจใส่ การสื่อสารในครอบครัวควรเป็นเชิงบวก ให้คําแนะนําและสอนให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองและการแสดงอารมณ์ รวมถึงบิดา/มารดา หรือผู้ปกครองควรเผชิญความเครียดได้ดีเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กด้วย
📍ด้านความรู้ การเรียนรู้ และสติปัญญา
ครอบครัวมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาด้านความรู้ การเรียนรู้และสติปัญญา รวมถึงจริยธรรมให้แก่สมาชิกครอบครัวที่เป็นเด็ก ความหลากหลายในชีวิตครอบครัวทําให้เด็กได้รับประสบการณ์จากหลายวิธีที่แตกต่างกัน เด็กจะนําประสบการณ์ ทัศนคติ ความคาดหวัง ความรู้ และทักษะที่มีความหลากหลายนี้ มาใช้ในการเรียนรู้ของพวกเขาเอง
📍ด้านร่างกาย
เชื้อชาติ
เชื้อชาติบางเชื้อชาติป่วยเป็นโรคบางโรคมากกว่าเชื้อชาติอื่น เช่น ภาวะโลหิตจางบางชนิดจะพบในคนผิวดํามากกว่าคนผิวขาว หรือคนฝรั่งกับคนเอเชียมีภาวะสุขภาพที่แตกต่างกัน
เพศ
เพศหญิง เช่น ภาวะกระดูกพรุน โรคของต่อมไทรอยด์ มะเร็งเต้านม
เพศชายเช่นไส้เลือน
มะเร็งปอดเป็นต้น
พันธุกรรม (Heredity)
3.ความแตกต่างด้านอารมณ์ (Emotion) เคิรตช์และครัตช์ฟิลด์ (Kretch and Crutchfield) เชื่อว่าอารมณ์เป็นสัญชาตญาณที่ติดตัวมากับมนุษย์แต่กําเนิดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอารมณ์พื้นฐาน (Primary Emotion)ได้แก่ รัก โกรธ เกลียด กลัว ร่าเริง เศร้า สนุกสนาน เป็นต้นซึ่งอารมณ์เหล่านี้ถูกถ่ายทอดมาจากยีนบรรพบุรุษของมนุษย์ซึ่งเป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเลี้ยงดูของพอแม่ นอกจากอารมณ์พื้นฐานแล้วยังมีอารมณ์บางส่วนที่เกิดจากการเรียนรู้ภายหลัง เช่น อิจฉา ใจร้อน ใจเย็น ตลกขบขัน เป็นต้น
ความแตกต่างทางสังคม (Social) พฤติกรรมที่แสดงออกมาจะเป็นในทางบวกหรือลบในระดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่บุคคลเติบโตมา โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมในสถาบันครอบครัว
ความแตกต่างด้านบุคลิกภาพ (Personality) บุคลิกภาพได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ แต่ทั้งนี้ สิ่งแวดล้อมในแต่ละสังคมมีความแตกต่างกัน โดยปัจจัยที่แตกต่างในสภาพแวดล้อมทําให้บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล ถูกหล่อหลอมให้มีความแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม แม้บุคลิกภาพจะเป็นสิ่งที่สั่งสมมาตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยและความเคยชินก็ตาม แต่บุคคลก็สามารถพัฒนาบุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์ให้ดีได้
ความแตกต่างทางด้านสติปัญญา (Intelligence) เฮนรี่ อี. ก็อดดาร์ด พบว่าพบว่าพันธุกรรมมีอิทธิพลของต่อสติปัญญาของบุคคลซึ่งได้รับการยอมรับและกล่าวถึงกันมากในแวดวงจิตวิทยา
1.ความแตกต่างทางด้านร่างกาย (Physical) เป็นความแตกต่างที่เห็นได้เด่นชัดที่สุดซึ่งรับอิทธิพลมาจากพันธุกรรมเป็นส่วนใหญ่ และข้อบกพร่องทางร่างกายบางประการที่เกิดจากพันธุกรรม เช่น ตาบอดสี โรคเลือดไหลไม่หยุด ลมบ้าหมู ธาลัสซีเมีย เบาหวาน นิ้วเกิน นิ้วติด ผิวเผือก เป็นต้น
อายุและระดับพัฒนาการ
👶🏻วัยเด็กเน้นการส่งเสริมพัฒนาการ การเจริญเติบโตและการป้องกันการเจ็บป่วย
👧🏻วัยเรียนการส่งเสริมพัฒนาการ ภาวะโภชนาการ การแลสุขภาพเด็กวัยเรียน
👱🏻♀️วัยรุ่นพัฒนาการวัยรุ่นความเสี่ยงต่อสุขภาพในวัยรุ่น การท้องก่อนวัยอันควรเป็นแม่วัยใส ปัญหายาเสพติด
👨🏻วัยผู้ใหญ่โรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ โรคจากการทํางาน ภาวะวัยทอง
👴🏻วัยผู้สูงอายุเป็นวัยเสื่อมวัยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ
พฤติกรรมสุขภาพ หรือแบบแผนการดําเนินชีวิต (life style )
การที่สังคมไทยมีประชากรหลากหลายกลุ่มอายุทําให้วิธีการคิด มุมมองโลกทัศน์และค่านิยมต่างๆ มีความแตกต่างกัน ซึ่งอาจมีผลต่อวิถีการดําเนินชีวิต และพฤติกรรมสุขภาพ
📍ด้านสังคม บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และสัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัวและชุมชน ของครอบครัว กลุ่มบุคคลและชุมชน วิถีการดําเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัว กลุ่มคนและชุมชน
ด้านสังคม บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และสัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัวและชุมชน ของครอบครัว กลุ่มบุคคลและชุมชน
ครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นของการวางรากฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีการอบรมเลี้ยงดูปลูกฝัง ขัดเกลาทางด้านคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นสมาชิกของสังคมที่มีความสมบูรณ์และมีคุณภาพครอบครัว โดยพ่อแม่เป็นผู้ที่มีบทบาทสําคัญยิ่งในการป้องกันไม่ให้เยาวชนติดยาเสพติด การอบรมเลี้ยงดู การได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว ช่วยป้องกันการใช้ยาเสพติด และช่วยป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ในระยะแรก
ด้านวิถีการดําเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัว กลุ่มคนและชุมชนที่มีผลต่อสุขภาพครอบครัว
ความเครียดและสุขภาพจิตได้ และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม มีรายได้ลดลง บทบาททางสังคมเปลี่ยนไปอาจทําให้ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยและอารมณ์ส่งผลต่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและการอยู่ในสังคม รวมทั้งเป็นยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจําวัน ผู้สูงอายุต้องปรับตัวและการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
🔸ปัจจัยภายนอก🔹
📌สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนและอาจมีผลต่อสุขภาพครอบครัวมีดั้งนี้
สิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดซึ่งมีผลต่อสุขภาพ ได้แก่ เชื้อโรคต่างๆ ทั้งบักเตรี เชื้อรา ไวรัส ริคเกตเซีย เชื้อโรคเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดการเจ็บป่วย เช่นการระบาดของโรค COVID 19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนทั้งโลก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากมาย ระบบสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การสาธารณสุข ทุกระบบด้รับผลกระทบ
สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งมีผลต่อสุขภาพ ได้แก่ สัตว์พวกหนอนพยาธิต่างๆ พวกแมลงต่างๆ ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุโดยตรงของผิวหนัง หรือเส้นผมและขนตามรางกาย หรืออาจเป็นเหตุทางอ้อม โดยเป็นตัวพาหะนําเชื้อโรคอีกทีหนึ่ง
สิ่งแวดล้อมพวกพืชต่างๆ นอกจากเชื้อรา ซึ่งเป็นพืชชั้นต่ำาที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค โดยตรงแล้ว พืชที่ให้เกสรดอกที่ปลิวกระจายไปได้ไกลๆ หลายชนิดก็เป็นเหตุของโรคภูมิแพ้ต่างๆ
สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต และมีผลกระทบต่อสุขภาพของคน ครอบครัว สังคม ชุมชน หรือของเมืองนั้น ได้แก่สภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมที่ทําให้เกิดมลพิษต่างๆ เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM.
เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ถือเป็นความรู้ที่เป็นองค์รวมโดยการรวบรวมความรู้ต่าง ๆ ให้มาสัมพันธ์กันจนเกิดมิติรอบด้าน สะท้อนความคิด ความเชื่อ ความใฝ่ฝัน ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว คนในชุมชนท้องถิ่นและจารีตประเพณีต่าง ๆ ซึ่งเป็นรากฐานการดํารงชีวิตของคนในสังคมนั้น
📌วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมของการดํารงอยู่การดํารงชีวิตให้อยู่รอดในศตวรรษที่ 21 นั้นพบว่าการได้มาซึ่งความรู้นั้นไม่เพียงพอ สิ่งที่สําคัญควบคู่กันไป คือ การสร้างความหมายและนัยในองค์ความรู้นั้นราต้องค้นหา “ข้อดีในสิ่งที่ไม่ดี”
การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมของการดําเนินธุรกิจ เน้นคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าผ่าน
นวัตกรรมในผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมในกระบวนการผลิต และนวัตกรรมเชิงธุรกิจเป็นสําคัญ
การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมของการทํางาน ปัจจุบันดิจิตอลเทคโนโลยีทําให้เราสามารถทํา
กิจกรรมหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน การเชื่อมโยงต่อกันเป็นเครือข่ายจะมีมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมของการเรียนรู้มีการเปลี่ยนแปลงใน 3 กระแสหลัก คือ
1) ไม่มีการผูกขาดความรู้
2)ไม่มีการผูกขาดข้อมูล
3) เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกิดขึ้นใหม่ๆ จากการรวมตัวและแตกตัวของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเดิมตลอดเวลา
📌โครงสร้างประชากร/ระบบสุขภาพ
โครงสร้างประชากร
ผลกระทบจากการที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) การที่มีแรงงานใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานน้อยลง
ขณะที่แรงงานต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุมากขึ้น
ผลกระทบต่องบประมาณของรัฐบาล เกิดจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากโครงการประกันสังคมและโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรัฐจะต้องนําเงินภาษีของประชาชนวัยทํางานไปใช้จัดสรรเป็นสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุยิ่งสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นรัฐบาลก็จะยิ่งต้องใช้งบประมาณมากขึ้น
ผลกระทบด้านแรงงาน เกิดจากสมรรถนะทางกายภาพที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น และยังส่งผลกระทบต่อรายได้หลังเกษียณที่ไม่เพียงพอต่อการดํารงชีพ
ระบบสุขภาพ (Health System)
ส่วนขององค์ประกอบของระบบสุขภาพตามกรอบ ของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 ได้วางกรอบสาระสําคัญขององค์ประกอบของ ระบบสุขภาพเอาไว้ 14 หมวด ดังนี้
1.สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ การได้รับสิทธิด้านสุขภาพที่จําเป็นตามหลักสิทธิมนุษยชน
2.การสร้างเสริมสุขภาพ การส่งเสริมและสนับสนุนบุคคล ครอบครัว ชุมชนและประชาชนกลุ่มต่างๆให้สามารถจัดการหรือพัฒนาสุขภาพของตน ครอบครัว ชุมชนและกลุ่มได้รวมทั้งจัดการกับปัจจัยสังคมที่กําหนดสุขภาพได้อยู่อย่างเหมาะสม กับบริบทและพื้นที่
3.การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคาม สุขภาพ สิทธิของบุคคลและชุมชนในการดํารงชีวิตอยู่ ภายใต้สิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และได้รับการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่ คุกคามสุขภาพอย่างมีมาตรฐานและทันต่อสถานการณ์ครอบคลุมปัจจัยสังคมที่กําหนดสุขภาพ มีมาตรการ เชิงรุกที่มีธรรมาภิบาล สร้างดุลยภาพระหว่างการพัฒนา ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
4.การบริการสาธารณสุขและการสร้างหลักประกัน คุณภาพการบริการสาธารณสุขต้องมุ่งสู่การมีสุขภาพดีอย่างถ้วนหน้า ตอบสนองต่อความจําเป็นด้านสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มและทุกวัย
5.การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่น
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดยมีระบบที่มีเป้าหมายเพื่อการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
7.การสร้างองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สําคัญสําหรับการกําหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพและการ พัฒนาสุขภาพ ซึ่งจําเป็นต้องมีกลไกทั้งระดับชาติและระดับพื้นที่ที่ทําหน้าที่สนับสนุนและดําเนินการสร้าง ความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม พื้นที่และชุมชนบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ
8.การเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การสื่อสารข้อมูลและข่าวสารด้านสุขภาพสู่สาธารณะ จะต้องมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์ผ่านเครื่องมือและช่องทางการสื่อสารอย่าง ถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน เชื่อถือได้ เข้าใจง่าย เหมาะสม กับกลุ่มเป้าหมาย ไม่เป็นผลลบต่อสังคม และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
การสร้างและพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพ กําลังคนด้านสุขภาพ เป็นองค์ประกอบสําคัญใน การบรรลุเป้าหมายการมีสุขภาพดีของประชาชน
10.การเงินการคลังดhานสุขภาพ การเงินการคลังด้านสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อความยั่งยืนของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ โดยมีสถานะทางการเงินที่มีความเพียงพอและมีการบริหารจัดการที่เป็นธรรม ซึ่งการลงทุนด้านสุขภาพต้องคํานึงถึงผลกระทบต่อระบบสุขภาพในภาพรวม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงประสิทธิภาพและความมั่นคงของระบบสุขภาพ
11.สุขภาพจิต การดําเนินงานด้านสุขภาพจิตต่องมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพจิต ส่งเสริมความสามารถในการจัดการปัญหาใน การดําเนินชีวิตและการทํางานได้อย่างสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม
12.สุขภาพทางปัญญา สุขภาพทางปัญญาเป็นฐานรากของสุขภาพองค์รวม การปฏิบัติเพื่อสุขภาพทางปัญญานําไปสู่ภาวะของ มนุษย์ที่มีความรู้ทั่ว ความรู้เท่าทัน และความเข้าใจอย่างแยกแยะได้ในเหตุผลแห่งความดีและความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ
13.การอภิบาลระบบสุขภาพ การอภิบาลระบบสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อความยั่งยืน และทําหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผล มีประสิทธิภาพและมีความเป็นเอกภาพ มุ่งสู่เป้าหมายในทิศทางเดียวกัน โดยยึดประโยชนNของสาธารณชนเป็นที่ตั้ง รวมทั้งให้ความ สําคัญกับความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกันในสังคม
14.ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ เป็นเครื่องมือในการจัดการ ระบบสุขภาพในระดับพื้นที่ เพื่อให้การพัฒนาระบบสุขภาพเป็นไปอย่างสอดคล้องกับบริบทและความ จําเป็นด้านสุขภาพของแต่ละพื้นที่ โดยมีลักษณะเป็น ข้อตกลงร่วมในการกําหนดทิศทางหรือแนวปฏิบัติอัน จะนําไปสู่สุขภาวะของชุมชนซึ่งชุมชนสามารถจัดทํา ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ตามความสมัครใจและตามความ พร้อมของชุมชน
📌สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การปกครอง
ความสุขของคนไทยก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างหวือหวา แม้ว่าทางราชการเองจะได้มีการกําหนดแผนพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการให้ความสําคัญกับการอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชน มีการกําหนดประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความสุขไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับต่างๆ มาหลายฉบับต่อเนื่องกันมาหลายปีในส่วนของการดําเนินนโยบายที่ส่งเสริมการกินดีอยู่ดีบางอย่างของรัฐบาล (โดยเฉพาะนโยบายประชานิยม) ก็นํามาซึ่งปัญหาที่ยุ่งยากที่ต้องตามแก้ไขกันเป็นเวลานานและไม่ก่อให้เกิดความสุขที่แท้จริงอย่างยั่งยืนได้
ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ ภาระงาน พัฒนาการแต่ละวัยจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของบุคคล
←←
←←