Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน, นส นิลาวรรณ นันต๊ะ เลขที่ 29 รุ่นที่35 …
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ความหมายของชุมชน
ประชาชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่รวมกันในพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่ง มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หรือกลุ่มคนที่มีความสนใจหรือมีเป้าหมายหรือมีลักษณะบางประการร่วมกัน มีแบบแผนการดำเนินชีวิต มีวัฒนธรรมประเพณีการติดต่อสื่อสารและการตัดสินใจร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและความต้องการของชีวิต
องค์ประกอบของชุมชน
คนหรือกลุ่มคน
เป้าหมายและความต้องการของชุมชน
สิ่งแวดล้อมของชุมชน
ระบบบริการในชุมชน
ขอบเขตของชุมชน
สร้างความเข้มแข็งให้แก่ปฏิบัติการชุมชน
ตามกฎบัตรออตตาวา
หัวใจของขบวนการนี้คือ "การเพิ่มอำนาจในชุมชนให้มีความเป็นเจ้าของและควบคุมกิจกรรม และโชคชะตาของชุมชนเอง"
หลักการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
การพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนให้สามารถรวมกลุ่มร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันรับผิดชอบ
การส่งเสริมกระบวนการพัฒนาในชุมชนในลักษณะ ร่วมคิด ร่วมทำและร่วมเรียนรู้
ส่งเสริมการรวมกลุ่มองค์กรทำงานร่วมกัน
ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการแก้ไข ปัญหาร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
จุดมุ่งหมายของการเสริมสร้างพลังอำนาจในชุมชน
เพื่อที่จะให้ชุมชนและ บุคคลมีความสามารถในการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อตนเอง
เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับบุคคล และผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น ๆ สามารถแก้ไขหรือป้องกันปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วได้เป็นอย่างดี
การะบวนการสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
ขั้นตอนที่ 1 การค้นหาทรัพยากรบุคคล
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมคน
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเข้มแข็ง การสื่อสาร สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
ขั้นตอนที่ 5 การปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการและประเมินผล (ร่วมมือเป็นเครือข่าย)
บทบาทและสมรรถนะของพยาบาลในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
เห็นคุณค่าความเป็นคนและตนเองและเพื่อนมนุษย์
มีศักยภาพในการเป็นพี่เลี้ยงที่มีคุณภาพ
มองทุกอย่างแบบบูรณาการ
ประสานงานได้รอบด้าน
ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี
ผลการศึกษา พบว่า
ปัจจัยผู้นำชุมชนอุทิศตนและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีซึ่งมีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน ผู้วิจัยพบว่าบุคลิกภาพของผู้นำชุมชนแบบประชาธิปไตยซึ่งยอมรับความคิดเห็นของสมาชิก และยินดีรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกจะส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้นำชุมชนกับองค์กรภายนอก
ปัจจัยสมาชิกในชุมชนยอมรับบทบาทของกรรมการชุมชน ซึ่งมีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนในด้านชุมชนมีความรักความสามัคคี เกื้อหนุนกัน ชุมชนมีความมั่นคง และปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ปัจจัยชุมชนมีกระบวนการบริหารงานในชุมชนที่ชัดเจน ซึ่งมีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน ชุมชนมีความทั่วถึงทางด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
4.ชุมชนมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองสูง ซึ่งมีผลต่อความเข้มแข็งของ
ชุมชนในด้านชุมชนมีการรวมกลุ่มเพื่อด าเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยชุมชนได้รับการจัดสรรงบประมาณจากเทศบาลซึ่งมีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนในด้านชุมชนมีการตัดสินใจแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยส่วนรวม, ชุมชนมีความทั่วถึงทางด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
พบว่าชุมชนยังขาดการ สนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ ที่อยู่พื้นที่ เช่น อำเภอปากเกร็ด และมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ใกล้ชุมชน ทำให้ขาดความรู้ทางด้านวิชาการในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างยั่งยืน
การสนับสนุนงบประมาณให้กับชุมชน มีการกำหนดกรอบในการแก้ไขปัญหาของชุมชนไว้ ทำให้การนำงบประมาณไปใช้ประโยชน์ในชุมชนมีจำกัด
ความสามารถในการพึ่งพาตนเองของชุมชน ยังต้องพึ่งพาความสามารถของคณะกรรมการชุมชน ในอนาคตเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรม
การชุมชนจะส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนและการประสาน งานจะขาดความต่อเนื่อง
นส นิลาวรรณ นันต๊ะ เลขที่ 29 รุ่นที่35