Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Induced Hypertension),…
ภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Induced Hypertension)
ความหมาย
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ (Preeclampsia) หมายถึงการมีค่าความดันโลหิตอย่างน้อย 140/90 mmHg โดยวัดห่างกัน 2 ครั้งอย่างน้อย 6 ชั่วโมงร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria) อย่างน้อย 300 มิลลิกรัม / 24 ชั่วโมงหรืออย่างน้อยสุด 1 + จากการตรวจด้วยแถบวัดโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งเป็นการมีความดันโลหิตสูงและมีโปรตีนในปัสสาวะเกิดขึ้นครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ (Aksornphusitapliong & Phupong, 2013)
สาเหตุ
ความผิดปกติของหลอดเลือดในสตรีตั้งครรภ์ เช่น การหดตัวของเส้นเลือดทั่วร่างกาย (Vasospasm) การกระตุ้นระบบการแข็งตัวของเลือด (coagulation system)
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย
ความผิดปกติ ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อบางตัว
กรรมพันธุ์
การไม่สมดุลระหว่างโปรตีนบางตัวที่สร้างขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์
ปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิด preeclampsia
ครรภ์แรก
ประวัติครอบครัวของ preeclampsia- eclampsia
ประวัติการ preeclampsia หรือ eclampsia ในครรภ์ก่อน
ภาวะอ้วน
โรคทางอายุรกรรม เช่น ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคไตหรือโรคหลอดเลือดอื่น
ความผิดปกติของ conceptus เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์ไข่ปลาอุก ทารกบวมน้ำในครรภ์
ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดทางพันธุกรรมแบบ Thrombophilias
ความผิดปกติของการไหลเวียนในเลือดแดง uterine จากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเมื่ออายุครรภ์ 18 ถึง 24 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงทางคลินิก
น้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าปกติ
โปรตีนในปัสสาวะ
ความดันโลหิตสูง
ปวดศีรษะ
เจ็บแน่นบริเวณลิ้นปี่
ตามัว
อาการและอาการแสดง
severe preeclampsia
อาการทางระบบประสาท
สายตาพร่ามัว
เห็นจุดในลานตา (Scotoma)
มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว (alteration of Consciousness)
ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
อาการจุกแน่นลิ้นปีหรือปวดท้องด้านขวาบน
เกิดจากเนื้อตับบวมทำให้การยืดขยายและตึงตัวของแคปซูลที่หุ้มตับ
พยาธิสภาพ
รกเจริญจากการฝังตัวผิดปกติ จะทำให้ได้รับเลือดลดลง รกขาดเลือดจะหลั่งสารเคมีกระตุ้นการหดรัดตัวหลอดเลือดดำทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น การไหลเวียนเลือดส่วนปลาย มดลูก และรกลดลง อาจทำให้ขาดออกซิเจน เซลล์เยื่อบุหลอดเลือดฝอยเสียหาย ส่งผลสารน้ำรั่งออกนอกหลอดเลือด คั่งตามเนื้อเยื่อต่างไป ดังนั้นผู้ป่วยจึงมีBPสูง ขณะปริมาณสารน้ำในหลอดเลือดต่ำและมีอาการบวมทั้งตัว การเปลี่ยนแปลงของBP จะเริ่มลดลงในไตรมาสแรกและลดลงเรื่อยๆจนกระทั่งถึงอายุครรภ์ 24-32 สัปดาห์ จากนั้นจึงค่อยๆกลับมีค่าเท่ากับก่อนการตั้งครรภ์เมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด
พยาธิสภาพต่อระบบการทำงานของไต
เซลล์เยื่อบุหลอดเลือด endotheriumและ mesangiumบวมร่วมกับโปรตีนคล้ายfibrinที่ฝังในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดใหญ่ขึ้น หลอดเลือฝอยภายในเล็กลงทำให้การกรองของไตลดลง กรดยูริกในซีรัมสูงขึ้น cell เยื่อบุหลอดเลือดถูกทำลาย แล้วมาคั่งที่หลอดไต เกิดการอุดตันของ collecting tubules ทำให้การทำงานของไตแย่ลง
พยาธิสภาพต่อระบบการทำงานของตับ
การหดรัดตัวของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้ระดับเอนไซม์ aspearate transaminase(AST) และalanine aminotransferase(ALT)ในตับสูงขึ้น มีการทำลายของตับ มีเลือดออกและเนื้อตายภายในตับหรือใต้แคปซูลตับ ทำให้มีอาการจุกแนน่นลิ้นปี่ใต้ชายโครงขวาอาจมีเลือดออกไม่หยุดจนเกิดก้อนเลือดคั่งฝต้แคปซูลตับหรือตับแตกส่งผลให้เสียชีวิต
พยาธิสภาพต่อหัวใจและปอด
หลอดเลือดมีกานหดรัดตัวมำให้เยื่อบุหลอดเลือดพร่องการทำงาน การซึมผ่านสารน้ำระหว่างในและนอกหลอดเลือดเสียไป รั่วคั่งตามเนื้อเยื่อต่างๆ ส่งผลให้ปริมาตรเลือดไหลเวียนลดลง ความเข้มข้นสูงขึ้น ทำให้หัวใจและปอดทำงานหนักมากขึ้นเพื่อที่จะนำเลือดไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ การหดรัดตัวของหลอดเลือดในร่างกายสูงขึ้นอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
พยาธสภาพต่อระบบการสร้างเม็ดเลือดและปัจจัยการแข็งตัวของเลือด
ความดันโลหิตที่สูงทำให้ผนังหุ้มเม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดฝอยแตกตัวได้ง่าย ฮีโมโกลบินอิสระถูกกรองผ่านไต และอาจเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ การแข็งตัวของเลือดลดลงมำให้มีเลือดออกผิดปกติส่งผลให้รกลอกตัวก่อนกำหนด
ระบบประสาท (neurological System)
มีลักษณะคล้ายกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงวิกฤต (hypertensive encephalopathy พบว่าเนื้อสมองบวมคั่งน้ำ (cerebral edema) และมีจุดเลือดออก (petechial hemorrhage) หลายแห่ง ผลจากการหดรัดตัวของหลอดเลือดทำให้เนื้อสมองขาดเลือด ทำให้สารน้ำและเม็ดเลือดรั่วออกจากหลอดเลือดคั่งในเนื้อสมอง
ผู้ป่วยในภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) ที่มีความผิดปกติในการมองเห็นอาจมีเหตุมาจากการหดตัวของหลอดเลือดในจอประสาท ทำให้จอประสาทตาบวมหรืออาจลอกหลุดได้
การบวมของเนื้อสมองอย่างรุนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยในภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) หมดสติ (coma) อาจวินิจฉัยผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็น eclamosia ถึงไม่มีอาการชักร่วมด้วย ภาวะหมดสิจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคจากเลือดออกในสมอง เนื่องจากมีการแตกของหลอดเลือดหรือหลอดเลือดโป่งพองในสมอง ออกทาง foramen magna ซึ่งจะกดการทำงานของศูนย์ควบคุมการหายใจทำให้ผู้ป่วยมีอายใจและเสียชีวิตได้
สารน้ำและเกลือแร่ (Fluid and electrolytes)
ภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) จะมีสารน้ำคั่งในเนื้อเยื่อนอกหลอดเลือด มีปริมาณสารน้ำต่ำกว่าหญิงตั้งครรภ์ปกติ ความเข้มข้นของกลือแร่ไม่แตกต่างไปจากหญิงตั้งครรภ์ ยกเว้นในรายที่ได้รับยาขับปัสสาวะ หรือได้สารน้ำและ Oxytocin มาก
ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system)
ผู้ป่วยในภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) จะมีความไวต่อฤทธิ์การหดรัดตัวของหลอดเลือด angiotensin II มากกว่าหญิงตั้งครรภ์ปกติ กลไกของความไวเกินนี้ที่ยังไม่เป็นที่กระจ่างแต่อาจมีปัจจัยทางพันธุกรรมความดันโลหิตที่สูงจากการหดรัดตัวของหลอดเลือดจะมีผลยับยั้งการหลั่ง renin ที่ juxtraglomerular apparatus ในไตภาวะปกติ renin ทำหน้าที่เปลี่ยน angiotensinogen เป็นโปรตีนที่สร้างจากตับเป็น angiotensin I จะถูกเปลี่ยนเป็น angiotensin II ที่ปอดและจะกระตุ้นการหลัง aldosterone จากต่อมหมวกไต โดยฮอร์โมน aldosterone มีฤทธิ์ที่ท่อไตเพิ่มการดูดซึมสารน้ำเข้าสู่ร่างกายการยับยั้งการหลัง renin และผู้ป่วยในภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) ทำให้ระดับ angiotensin I น้อยลงมีผลลดระดับของ angiotensin II เป็นผลให้การหลัง aldosterone ลดลง
รก (placenta)
การไหลเวียนของเลือดในมดลูกและรกของภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) สูงกว่าในหญิงตั้งครรภ์ปกติ 2 ถึง 3 เท่า เส้นเลือด spiral arteriole ใน decidual มีการหดรัดตัวตีบแคบ มีลักษณะของ acute atherosis หลอดเลือดที่ตีบแคบนี้ทำให้การไหลเวียนเลือดในรกน้อยลง มีผลต่อทารกทำให้เจริญเติบโตช้าและเพิ่มภาวะแทรกซ้อนในช่วงแรกคลอดในรายที่รุนแรงและเรื้อรังอาจตรวจพบรกมีขนาดเล็ก สามารถตรวจได้ทางคลินิกโดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงดอปเปลอร์ (Doppler studies) ที่หลอดเลือดแดง uterine และ umbilical
อุบัติการณ์
ภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมโดยมีอุบัติการณ์เกิดขึ้นทั่วโลกร้อยละ 5-10 เป็นสาเหตุการตายของมารดาในทวีปเอเชียร้อยละ 10-15 สำหรับประเทศไทยในปี พ.ศ 2555 พบร้อยละ 3.1
ในประเทศที่พัฒนาแล้วภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เป็นสาเหตุการตายของมารดาลำดับแรกส่วนทวีปเอเชียพบสาเหตุการตายของมารดาเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เป็นลำดับที่สองรองจากการตกเลือดหลังคลอด อุบัติการณ์เกิดความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์เพิ่มสูงขึ้นตามช่วงอายุกล่าวคือ 1.สตรีตั้งครรภ์อายุ 25-29 ปีมีอัตราการเกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 2.3 2.อายุ 30-34 ปีมีอัตราการเกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 2.6 3.อายุ 35-39 ปีมีอัตราการเกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 3.2 และ 4.อายุมากกว่า 40 ปีมีอัตราการเกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์สูงถึงร้อยละ 5.2 (กติกา, นิศารัตน์, และวิทยา, 2555)
การแบ่งประเภทความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ตามเกณฑ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา
1.Preeclampsia-eclampsia : ภาวะความดันโลหิตสูงที่จำเพาะกับการตั้งครรภ์ (Pregnancy-induced hypertension; PIH) ร่วมกับมีความผิดปกติของร่ายกายในหลายระบบ โดยทั่วไปมักเกิดหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ร่วมกับตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria)
2.Chronic hypertension : หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ไม่ว่าจากสาเหตุใดใดก็ตาม หรือตรวจพบความดันโลหิตสูงก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
3.Chronic hypertension with superimposed preeclampsia : Preeclampsia ที่เกิดในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็น Chronic hypertension โดยเกิดในมากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตปกติ 4 – 5 เท่า
4.Gestational hypertension : ภาวะความดันโลหิตสูงที่จำเพาะกับการตั้งครรภ์ ที่ตรวจพบหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ แต่ไม่พบ Proteinuria
ผลกระทบต่อมารดาทารก
ผลกระทบโรคต่อตัวมารดา
ตาบอดชั่วขณะจากพยาธิที่สมอง
มีภาวะไตวายจากการกรองของไตลดลง
ตกเลือดก่อนและหลังคลอด
เกร็ดเลือดต่ำทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย
ความดันโลหิตต่ำจากการเสียเลือดหลังคลอด
pulmonary edema
ยุติการตั้งครรภ์ในรายที่เป็น severe preeclampsia
เสียชีวิต
ผลกระทบต่อทารก
น้ำคร่ำน้อย รกลอกตัวก่อนกำหนด
อาจเกิดทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
รกลอกตัวก่อนกำหนด
เสียชีวิตในครรภ์
การตรวจวินิจฉัย
ซักประวัติ
พฤติกรรมเสี่ยงเช่นการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การรับประทานอาหาร
พันธุกรรม
ตรวจร่างกาย
ตรวจพบความดันโลหิตสูง คือ systolic สูงกว่า 140 mmHg diastolic สูงกว่า 90 mmHg
-
มีอาการบวมบริเวณมือหรือใบหน้า
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ เมื่อตรวจด้วยUrine dipstick พบว่าโปรตีนสูงในปัสสาวะสูงกว่าหรือเท่ากับ 30 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือมากกว่า1+
โดยจะตรวจเก็บโปรตีนในปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมง
มักจะให้การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงในอายุครรภ์ที่มากกว่า 20 สัปดาห์
การรักษา
mild pre eclampsia
ยุติการตั้งครรภ์
ต่ำกว่า24wks ค้นหาโรคทางอายุรกรรม
37 wks ขึ้นไป กระตุ้นเจ็บครรภ์คลอดหรือผ่าคลอด
24-27wks รักษาแบบประคับประคอง
sever preeclampsia
ยุติการตั้งครรภ์
กระตุ้นการเจ็บครรภ์คลอดหรือผ่าคลอด
32wksขึ้นไป ควรรักษาตัวในรพ.
แบบประคับประคองในช่วงอายุครรภ์ 24-32 wks
การใช้ยาลดความดันโลหิตสูง
Hydralazine
มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดโดยตรง ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นอันเป็นกลไลตอบสนองต่อการขยายตัวของหลอดเลือดปลายทาง (reflex tachyucardia)
Labetalol
ต้านทั้ง αและ B-receptor ของระบบประสาทซิมพาเธติกฤทธิ์ต้าน B-receptor ทำให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดปลายทางมีผลลดความดันโลหิต
.
Nifedipine
ออกฤทธิ์ต้านแคลเซียมทำให้เกิดการขยายของหลอดเลือดปลายทางมีผลลดความดันโลหิตบีบลงบนลิ้นไม่ควรให้ยา nifedipine ใต้ลิ้นเนื่องจากฤทธิ์ลดความดันโลหิตอาจรุนแรงมากจนเกิดอันตรายต่อทั้งมารดาและทารก
การป้องกันซัก
Magnesuim sulface
เป็นยากันชักที่นิยมใช้กันมากที่สุดและถือเป็นยาที่ดีที่สุดในขณะนี้สำหรับของกันชักในผู้ป่วย praeclampsia
ฤทธิ์ต้านแคลเซียมของแมกนีเซียมดังกล่าวข้างต้นจะมีผลลดการหดตัวของหลอดเลือดเดยเฉพาะในหลอดเลือดในเนื้อสมอง (cerebral vasespasm) ซึ่งอาจช่วยลดการบวมทั้งน้าและจุดเลือดออกในเนื้อสมองอันอาจเป็นเหตุของการชักได้
รายชื่อสมาชิกกลุ่ม 3 Preeclampsia
1 น.ส. ชุติมา บุตรพรมมา เลขที่21 รหัสนักศึกษา 603101021
2 น.ส. ฐานิต ฤาชัย เลขที่ 22 รหัสนักศึกษา 603101022
3 น.ส.ณัฐชา เตมีกุล เลขที่ 25 รหัสนักศึกษา 603101025
4 น.ส. ปรารถนา ขลิบเทศ เลขที่ 56 รหัสนักศึกษา 603101056
5 น.ส. พิราอร ราชคม เลขที่69 รหัสนักศึกษา 603101069
6 น.ส. มัณฑนา บุดดา เลขที่ 74 รหัสนักศึกษา 603101075
7 น.ส. วารุณี วงศ์ศิลป์ เลขที่ 86 รหัสนักศึกษา 603101087
8 น.ส. ศิริรักษ์ ภูฆัง เลขที่93 รหัสนักศึกษา 603101094
9 น.ส. สาวิตรี โจมรัมย์ เลขที่97 รหัสนักศึกษา 603101098
10 น.ส. สุภาวดี พันธุ์บัวใหญ่ เลขที่104 รหัสนักศึกษา603101105
11 น.ส.อรวรรณ แคล้วไพรรี เลขที่112 รหัสนักศึกษา 603101113
12 น.ส. อารดา อาจหาญ เลขที่ 115 รหัสนักศึกษา 603101116