Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตั้งครรภ์ในสตรีสูงวัย (Elderly gravida) - Coggle Diagram
การตั้งครรภ์ในสตรีสูงวัย (Elderly gravida)
ความหมาย
การตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก หมายถึง
การตั้งครรภ์ของสตรีที่มีอายุเท่ากับ 35 ปีหรือมากกว่า นับจากวันเกิดจนถึงวันกำหนดคลอด
อุบัติการ
ในปัจจุบัน สตรีตั้งครรภ์มีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์แรก ทั้งในสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย ข้อมูลในประเทศไทย คือ อายุของสตรีที่คลอดบุตรรวมทุกการตั้งครรภ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นชัดเจนตั้งแต่ปีพ.ศ.2546 จนถึงปีพ.ศ.2558 เพิ่มขึ้นจาก 87.7 ต่อ 1,000 การคลอด เป็น 97.6 ต่อ 1,000 การคลอด
โดยสรุปคือ ร้อยละ 14 ของเด็กทารกที่คลอดในประเทศไทย เกิดจากสตรีตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไป
สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยง
1.มีวิธีคุมกำเนิดที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ
2.มีการศึกษาสูงขึ้น แต่งงานช้า
3.คู่สมรสต้องการมีรวามมั่นคงทางการเงินก่อน
4.ความเจริญและความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธ์ุทำให้สตรีแต่งงานอายุมากสามารถมีบุตีได้ตามความต้องการ
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ต่อหญิงคั้งครรภ์
ด้านร่างกาย
1.อัตราการตายของมารดาสูงขึ้นมากกว่าหญิงตั้งครรภ์ในช่วงอายุ 20-24 ปี ประมาณ 4 เท่า
2.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในขณะคั้งครรภ์ ได้แก่
2.1 ภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์
2.2 ภาวะเบาหวานร่วมกับการตั้งครรภ์
2.3 การแท้ง ตั้งครรภ์นอกมดลูก
2.4 รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด
2.5 ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ภาวะน้ำคร่ำน้อย
2.6 หลอกเลือดดำขอดพอง ริดสีดวงทวาร
2.7 ระยะคลอดยาวนาน
2.8 ความผิดปกติของรก การตกเลือดหลังคลอด
3.สตรีที่อายุมากที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ทำให้ควบคุมได้ยาก
4.ถ้าใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์มีโอกาสจะเกิดการตั้งครรภ์แฝดสูงขึ้น ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นเดียวกับการตั้งครรภ์แฝด
ด้านจิตใจ
1.สับสนในบทบาท
2.ปรับตัวต่อการตั้งครรภ์ได้ช้า
3.เครียดและวิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
4.พัฒนาการในระยะตั้งครรภ์ล่าช้า
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ต่อทารกในครรภ์
1.ความพิการแต่กำเนิด Down’s syndrome
2.ทารกเจริญเติบโตในครรภ์ช้า
3.การคลอดก่อนกำหนด หรือเกินกำหนด
4.ทารกตัวโตและคลอดไหล่ยาก
5.อัตราทุพพลภาพและอัตราการตายปริกำเนิดสูงขึ้น
แนวทางการดูแลรักษา
1.การประเมิน โรคทางอายุรกรรมที่มีอยู่ (underlying medical disease)
2.ประเมินภาวะเสี่ยงหรือความผิดปกติที่อาจพบร่วมกับการตั้งครรภ์ในสตรีอายุมากกว่า 35 ปี
2.1 ความพิการแต่กำเนิดของทารก โดยการตรวจวินิจฉัยทารกก่อนคลอด (prenatal diagnosis : PND )
2.2 ภาวะเบาหวานร่วมกับตั้งครรภ์ คัดกรองโดยการทำ glucose challenge test (GCT)
3.ถ้าไม่มีความผิดปกติหรือไม่พบภาวะแทรกซ้อนในการดูแลในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดเหมือนสตรีมีครรภ์ปกติ
4.ถ้าพบความผิดปกติหรือพบภาวะแทรกซ้อนในการดูแลตามภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
การตรวจเพื่อคัดกรองทารกที่ผิดปกติ
1.การเจาะเลือดจากแม่ โดยหลักการจะเป็นการหาเซลล์ของทารก ที่หลุดออกมาและผ่านตัวรกเข้าสู่กระแสเลือดของแม่
2.การเจาะน้ำคร่ำ และนำเซลล์ที่เจาะได้จากน้ำคร่ำมาตรวจหาทางพันธุกรรม
3.การทำ triple screening หรือ quadruple screening เป็นการหาสารชีวเคมีในร่างกายแม่เทียบค่าของหญิงตั้งครรภ์ปกติ
การพยาบาลสตรีมีครรภ์สูงวัย
ระยะตั้งครรภ์
ให้การดูแลเช่นเดียวกับสตรีมีครรภ์ปกติ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตัวเรื่องการรับประทานอาหารและน้ำ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง การออกกำลังกาย การทำงาน การรักษาความสะอาด การแต่งกาย การมีเพศสัมพันธ์ การเดินทาง การสังเกตอาการผิดปกติ และการตรวจตามนัด เช่นอธิบายเรื่องการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตช่วยลดภาวะหลอดเลือดดำขอดพองและริดสีดวงทวารและ ส่งเสริมความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยลดอาการไม่สุขสบายและระยะการคลอดยาวนาน
ระยะคลอด
ให้การดูแลเช่นเดียวกับสตรีที่คลอดปกติ แต่เน้นการดูแลเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอดและป้องกันระยะการคลอดยาวนานจากการลดลงของ elastictity ภายในเซลล์ทำให้หนทางคลอดมี rigidity เกิดการยืดขยายไม่ดีส่งผลให้เกิด prolonged labor ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้สติศาสตร์หัตถการอธิบายและเตรียมสตรีให้พร้อมเพื่อไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจาการช่วยคลอด
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดปกติ แต่เน้นการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจากกล้ามเนื้อมดลูกหดตัวไม่ดี
เพื่อลดความวิตกกังวลและส่งเสริมการปรับตัวของสตรีมีครรภ์และครอบครัว
1 สร้างสัมพันธภาพกับสตรีมีครรภ์และครอบครัว
2 เปิดโอกาสให้สตรีมีครรภ์และครอบครัวพูดคุยระบายความรู้สึก
3 ให้การดูแลด้านจิตสังคมเหมือนสตรีมีครรภ์ปกติทั้งในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ให้การปรึกษาอย่างเหมาะสม
4 ส่งเสริมให้สตรีมีครรภ์และครอบครัวได้เรียนรู้ร่วมกับกลุ่มต่างๆ เพื่อส่งเสริมการปรับตัวและเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด