Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Abnormality of passage ผู้คลอดที่มีความผิดปกติของช่องทางคลอด,…
Abnormality of passage
ผู้คลอดที่มีความผิดปกติของช่องทางคลอด
ภาวะศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกราน (Cephalopelvicdisproportion:CPD)
ความหมาย
ภาวะที่ศีรษะทารกมีขนาดใหญ่มากไม่สามารถผ่านช่องทางคลอดออกมาและหรือช่องเชิงกรานมีขนาดเล็กทำให้ศีรษะทารกที่ขนาดและรูปร่างปกติไม่สามารถผ่านออกมาได้
ชนิด
Relative disproportion คือ ศีรษะทารกไม่ได้สัตส่วนกับช่องเชิงกรานแบบ
สัมพัทธ์ เป็นชนิดที่ทารกมีส่วนนำ ทรงและท่าที่ผิดปกติ
True disproportion คือ ศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกรานอย่างแท้จริงเป็นชนิดที่ทารกมีศีรษะเป็นส่วนนำ มียอดศีรษะเป็นส่วนนำ มีท้ายทอยอยู่ด้านหน้าแต่ไม่สามารถคลอดออกมาได้
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของช่องเชิงกรานทุกชนิด หรือความผิดปกติของทารก เช่น ทารกตัวใหญ่ ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เป็นต้น
ผลกระทบ
การคลอดยาก คลอดยาวนานคลอดหยุดชะงักหรือคลอดติดขัด
ช่องทางคลอดฉีกขาดมาก
ภาวะสายสะดือพลัดต่ำ เนื่องจากส่วนนำของทารกไม่สามารถเคลื่อนต่ำลง
ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนเนื่องจากการคลอดติดขัดคลอดยากหรือคลอดยาวนาน
มดลูกแตก เนื่องจากการคลอดติดขัดซึ่งมีแรงดันในโพรงมดลูกที่เพิ่มขึ้น
ทารกได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
ผู้คลอดเหนื่อย อ่อนเพลีย ขาดน้ำ เนื่องจากการเจ็บครรภ์คลอดยาวนาน
การวินิจฉัย
การตรวจหน้าท้อง มักพบศีรษะทารกไม่เข้าสู่ช่องเชิงกราน
การตรวจช่องเชิงกรานทั้งภายนอกและภายใน
การตรวจร่างกาย
วัดความสูง มักพบ ความสูงน้อยกว่า 140 เซนติเมตร มักมีช่องเชิงกรานแคบและเล็ก
ท่าทางการเดินผิดปกติ
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ Untrasound
วัดศีรษะทารกในครรภ์ พบ biparietal diameter 9.5-9.8 เซนติเมตร ในทารกครบกำหนด แต่ไม่สามารถประเมินขนาดของเชิงกรานได้แน่นอน
การซักประวัติ เกี่ยวกับประวัติการการคลอด ระยะเวลาการเจ็บครรภ์คลอด ระยะเวลาเบ่งคลอด การใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอดในครรภ์ก่อน การเกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับเชิงกราน
ความผิดปกติของช่องเชิงกรานแท้
(Abnormality of true pelvis)
การวินิจฉัย
ภาวะช่วงออกเชิงกรานแคบ
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ Untrasound
การตรวจช่องเชิงกราน🧡ประเมินทั้งภายนอกและภายใน
การซักประวัติ🧡มักพบว่า เคยใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด ระยะเวลาการเจ็บครรภ์และการเบ่งคลอดยาวนาน หรือต้องตัดฝีเย็บกว้างหรือช่องทางคลอดฉีกขาดระดับสาม
การตรวจร่างกาย🧡 พบส่วนสูงน้อยกว่า 140cm.และท่าเดินผิดปกติ
ภาวะช่องเข้าเชิงกรานแคบ
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ Untrasound
วัดศีรษะทารกในครรภ์ พบ biparietal diameter 9.5-9.8 เซนติเมตร ในทารกครบกำหนด แต่ไม่สามารถประเมินขนาดของเชิงกรานได้แน่นอน
การตรวจช่องเชิงกราน
ประเมินเส้นผ่านศูนย์กลางช่องขวาง (tansverse diameter) ต้องไม่น้อยกว่า 12cm.
ประเมินเส้นผ่านศูนย์กลางช่องเข้าตามแนวหน้า-หลัง น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ซึ่งแคบกว่า diagonal conjugate 1.5-2 เซนติเมตร
การซักประวัติ เกี่ยวกับประวัติการการคลอด ระยะเวลาการเจ็บครรภ์คลอด ระยะเวลาเบ่งคลอด การใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอดในครรภ์ก่อน การเกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับเชิงกราน
ตรวจหน้าท้อง
มักพบศีรษะทารกไม่เข้าสู่ช่องเชิงกราน
การตรวจร่างกาย
ท่าทางการเดินผิดปกติ
วัดความสูง มักพบ ความสูงน้อยกว่า 140 เซนติเมตร มักมีช่องเชิงกรานแคบและเล็ก
ภาวะช่องภายในเชิงกรานแคบ
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ Untrasound
การซักประวัติเกี่ยวกับอุบัติเหตุหรือความพิการที่เชิงกรานตั้งแต่กำเนิด
การตรวจช่องเชิงกราน โดยการตรวจภายใน มักพบ ischial spine แหลมยื่นเข้ามา ผนังต้านข้างของเชิงกรานสอบนูนเข้าหากัน หรือมี sacrosciatic notch หรือ intertuberous แคบ
การตรวจร่างกาย พบส่วนสูงน้อยกว่า 140cm.และท่าเดินผิดปกติ
ผลกระทบ
เชิงกรานแคบที่ช่องเข้า (inlet contraction)
เกิดการคลอด
ยาวนานตลอดยากหรือการคลอดหยุดชะงักทั้งในระยะที่ 1, 2 และ3 ของการคลอด
ผลต่อผู้คลอดและทารก
ส่วนนำที่กดช่องทางคลอดเป็นเวลานาน ส่งผลให้ขาดเลือดมาเลี้ยง เกิดเป็นเนื้อตาย ส่งผลให้เกิด fistula ตามมา
ทารกเกิดเนื้อตายของหนังศีรษะ scalp necrosis
ทารกเกิด caput succedaneum, cephalhematoma ได้สูง
ทารกมี molding มากกว่าปกติ
ทารกในครรภ์เกิดภาวะ fetal distress เนื่องจากการคลอดยาวนาน
ถุงน้ำแตกก่อนกำหนดหรือแตกในระยะต้นๆ ของการเจ็บครรภ์
ผู้คลอดเหนื่อย อ่อนเพสีย ขาดน้ำ เลือดเป็นกรด เกิดความกลัว จากการเจ็บครรภ์คลอดยาวนาน
มดลูกแตก (uterine rupture)
ผลต่อการดำเนินการคลอด
ทารกมักมีส่วนนำผิดปกติ พบได้มากเป็น 3 เท่าของผู้คลอดเชิงกรานปกติ
ปากมดลูกเปิดขยายล่าช้า เพราะส่วนนำไม่กดกระชับกับปากมดลูกและ
มดลูกส่วนล่าง
ทารกผ่านช่องเชิงกรานได้ยากหรือไม่ได้เลย โดยเฉพาะในเชิงกรานชนิด
Android หรือ Platypelloid
เชิงกรานรูปร่างผิดปกติ ผิดสัดส่วน หรือพิการ
ไม่สามารถคลอดทางซ่องคลอดได้ จำเป็นต้องผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
เชิงกรานแคบที่ช่องภายใน
(Midpelvic contraction)
ผลต่อผู้คลอดและทารก
คล้ายกับผลกระทบของเชิงกรานแคบที่ช่องเข้า (inlet contraction)
ผลต่อการดำเนินการคลอด
ศีรษะทารกเคลื่อนต่ำช้า หรือเคลื่อนต่ำผ่านปุ่ม ischial spine ไม่ได้เลย
การหดรัดตัวของมดลูกไม่มีประสิทธิภาพ
การหมุนภายในของศีรษะทารกถูกขัดขวาง จึงเกิดภาวะ transverse arrest of head
เชิงกรานแคบที่ช่องออก
(outlet contraction)
ผู้คลอดอาจถูกทำสูติศาสตร์หัตถการ
การคลอดศีรษะยาก
ฝีเย็บฉีกขาดและยืดขยายมาก
การคลอดไหล่ยาก
เชิงกรานแตกหรือหัก
หากเกิดการแตกหรือหักแล้วไม่กลับมาสภาพเดิม จะส่งผลให้ไม่สามารถคลอดได้
เชิงกรานแคบทุกส่วนเชิงกรานแคบทุกส่วน
มีผลกระทบต่อทุกระยะของการคลอดจะทำให้เกิดการคลอดติดขัดส่วนนำของทารกไม่สามารถข้าสู่ช่องเชิงกรานได้
สาเหตุ
การเจริญเติบโตผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด
พิการมาตั้งแต่กำเนิดซึ่งมักเกิดร่วมกับความพิการของกระดูกสันหลังหรือขา
ส่วนสูงน้อยกว่า 140 เชนติเมตร
ขาดฮอร์โมนเพศหญิง
อุบัติเหตุที่ทำให้เชิงกรานหักแตก หรือเคลื่อน
เชิงกรานยังไม่เจริญเต็มที่ (อายุน้อยกว่า 18 ปี)
เป็นโรคกระดูก เนื้องอกหรือวัณโรคกระดูก
เชิงกรานยืดขยายลำบาก (อายุมากกว่า 35 ปี)
ชนิด
เชิงกรานแคบ (Pelvic contraction)
เชิงกรานแคบทุกส่วน (Generally contracted pelvis)
เชิงกรานแคบที่ช่องเข้า (net cntracto)
เชิงกรานแคบที่ช่องออก (Outet contraction)
เชิงกรานแคบที่ช่องภายใน (Midpelviccontraction)
เชิงกรานรูปร่างผิดปกติ ผิดสัดส่วน หรือพิการ (Pelvic abnormalities)
เชิงกรานแตกหรือหัก (Pelvic fracture)
ความหมาย
เชิงกรานที่มีลักษณะ ขนาด และรูปร่างผิดปกติ
การดูแลรักษา
เชิงกรานแคบที่ช่องออก
ควรตัดผีเย็บให้กว้างพอเพื่อป้องกันการฉีกขาด
เชิงกรานแคบที่ช่องเข้า
ผู้คลอดที่ผ่านการคลอดหลายครั้งแล้ว เฝ้าระวังอาการแสดงของภาวะมดลูกใกล้จะแตก
งดให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวชองมดลูก
ผู้คลอดที่ส่วนนำกับช่องเชิงกรานผิดสัดส่วนไม่มาก อาจพิจารณาให้ทดลองคลอดทางหน้าท้องก่อน
ผู้คลอดที่ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ ควรเตรียมการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
เชิงกรานแคบที่ช่องภายใน
ในรายที่ส่วนนำผ่านลงมาแล้ว แพทย์ช่วยคลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ
ในรายที่ส่วนนำไม่สามารถคลื่อนผ่าน ischial spine ลงมาได้ ควรผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ส่งเสริมให้ผู้คลอดใช้แรงเบ่งจากการหดรัดตัวของมดลูกตามธรรมชาติ
ความผิดปกติของช่องทางคลอดส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อและเอ็น
ชนิด
ปากมดลูกบวม
ปากมดลูกผิดปกติ
มะเร็งปากมดลูก
ช่องคลอดผิดปกติ
มดลูกอยู่ผิดที่ (uterine displacement)
ปากช่องคลอดและฝีเย็บผิดปกติ
เนื้องอก
Myoma uteri มักทำให้แท้ง
Benign ovarian tumor ทำให้ขัดขวางการเคลื่อนต่ำของทารก
การดูแลรักษา
รายที่มีความผิดปกติของปากช่องคลอด
ฝีเย็บแข็งตึง🧡ควรตัดฝีเย็บให้กว้างพอป้องกันการฉีกขาดเพิ่มเติม
ปากช่องคลอดบวมหรือมีเลือดคั่ง🧡ควรผ่าตัดระบายเอาเลือดออกแล้วให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อ
ปากช่องคลอดตีบ🧡 ควรตัดฝีเย็บช่วยขณะคลอดแล้วเย็บให้ภายหลังคลอด
รายที่มีความผิดปกติของปากมดลูก
ปากมดลูกตีบ💜ปกติในระยะคลอดปากมดลูกจะนุ่มลงเอง แต่ถ้ายังเหนียวมากอาจต้องทำผ่าคลอดทางหน้าท้อง
ปากมดลูกแข็ง💜ช่วยโดยใช้นิ้วมือใส่เข้าในรูปากมดลูกช่วยขยายโดยรอบจะทำให้ปากมดลูกขยายมากขึ้นถ้าไม่ได้ผลควรทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ปากมดลูกด้านหน้าบวม💜ควรจัดให้ผู้คลอดนอนตะแคง ยกปลายเตียงให้สูงขึ้น เพื่อลดการกดบนปากมดลูก ส่วนรายที่เบ่งก่อนเวลาควรสอนการหายใจเพื่อไม่ให้รู้สึกอยากเบ่ง
มะเร็งปากมด💜ลูกผู้คลอดต้องผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องทุกราย
รายที่มีความผิดปกติของช่องคลอด
การมีผนังกั้นในช่องคลอด💚ในรายที่มีผนังกั้นไม่มากมักจะฉีกขาดได้เอง ส่วนรายที่ผนังหนามากไม่สามารถขาดได้เองต้องทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ช่องคลอดตีบโดยกำเนิด💚ส่วนใหญ่เมื่อมีแรงกดจากส่วนนำ
จะสามารถคลอดทางซ่องคลอดได้
มีถุงน้ำหรือเนื้องอก💚ควรเจาะเอาถุงน้ำออกจะช่วยให้คลอดได้ง่ายขึ้นกรณีมีก้อนเนื้องอกขนาดไม่ใหญ่มักไม่ทำอะไร จนกว่าจะคลอด
รายที่มีความผิดปกติของรังไข่
เนื้องอกรังไข่🤎ต้องทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและตัดก้อนเนื้องอกออก
รายที่มีความผิดปกติของมดลูก
มดลูกคว่ำหน้า🤎 ใช้ผ้ารัดหน้าท้องเพื่อประคองให้มดลูกอยู่ในตำแหน่งปกติ
มดลูกคว่ำหลัง🤎มักคลอดทางช่องคลอดไม่ได้
เนื้องอกของมดลูก🤎มักทำให้แท้งคลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด ถ้าก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่จะทำให้การคลอดติดขัด ควรผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
กระบวนการพยาบาล
ผู้คลอดที่มีความผิดปกติของช่องเชิงกรานแท้
ประเมินสภาพ
ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
ประเมินทารกเกี่ยวกับขนาด ส่วนนำ การเข้าสู่ช่องเชิงกราน ท่าและทรงของทารกในครรภ์ การเคลื่อนต่ำ การก้ม การหมุนภายในของทารก และการเต้นของหัวใจ
ติดตามความก้าวหน้าของการคลอดด้วย WHO partograph
ประเมินมารดา
สภาพจิตใจของมารดา
ประวัติการคลอดในครรภ์ก่อน
การหดรัดตัวของมดลูก
ลักษณะช่องเชิงกราน ทั้งช่องเข้า ช่องภายใน และช่องออก
ความสูงยอดมดลูก เส้นรอบท้อง
สภาพร่างกายของมารดา
สัญญาณชีพถ้าชีพจร
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ผู้คลอดและทารกมีโอกาสเกิดอันตรายจากการคลอดยาวนาน
เนื่องจากเชิงกรานแคบ
วัตถุประสงค์💟ผู้คลอดไม่เกิดอันตรายจากการคลอดยาวนาน
ผู้คลอดมีโอกาสเกิดอันตรายของช่องทางคลอดอ่อนเนื่องจากศีรษะกดกับช่องเชิงกรานนาน
วัตถุประสงค์💟ผู้คลอดไม่เกิดอันตรายจากการคลอดยาวนาน
ทารกมีโอกาสขาดออกซิเจน เนื่องจากการคลอดยาวนาน
วัตถุประสงค์💟ทารกปลอดภัย ไม่เกิดภาวะขาดออกซิเจน
ผู้คลอดมีโอกาสเกิดระยะคลอดยาวนาน เนื่องจากเชิงกรานแคบ
วัตถุประสงค์💟ผู้คลอดไม่เกิดภาวะคลอดยาวนาน
ผู้คลอดวิตกกังวล หรือกลัวเกี่ยวกับการคลอดยาวนานและการใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด
วัตถุประสงค์💟ผู้คลอดมีความวิตกกังวลลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
ผู้คลอดที่ถุงน้ำแตก จัดให้นอนพักบนเตียง และทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเมื่อสกปรก รวมทั้งใส่ผ้าอนามัยซับน้ำคร่ำ สังเกตลักษณะ สี กลิ่นของน้ำคร่ำหากมีชี้เทาปนออกมาในน้ำคร่ำควรให้ออกซิเจนแก่มารดาและจัดให้นอนตะแคงซ้าย
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง และสังเกตภาวะตกเลือด ภาวะชัก หรือการติดเชื้อในโพรงมดลูก
ตรวจการหดรัดตัวของมดลูก ทุก 30 นาที - 1 ชั่วโมง รวมทั้งสังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะมดลูกใกล้แตก
ตรวจการเปิดขยายของปากมดลูก รวมทั้งการบวมของปากมดลูกและหนังศีรษะทารกด้วย ทุก 2 ชั่วโมง
ตรวจดูการเคลื่อนต่ำและการหมุนภายในของส่วนนำ
ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ทุก 30 นาที และสอบถามการดิ้นของทารก
ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่างอยู่เสมอ โดยกระตุ้นให้ปัสสาวะทุก 2 ชั่วโมง
ดูแลความสุขสบายร่างกาย และบรรเทาความเจ็บปวด
ผู้คลอดที่กลัวและกังวลมากควรอธิบายแผนการรักษาอยู่เป็นเพื่อนปลอบโยนให้กำลังใจ
รายที่แพทย์พิจารณาการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ต้องเตรียมร่างกายและจิตใจของผู้คลอด โดยการอธิบายถึงความจำเป็นของการรักษา
มดลูกคว่ำหน้า (anteflexion)
มดลูกคว่ำหลัง (retrofexion)
ถ้าP>90/min BP<90/60mmHg RR>24/min
อาจแสดงถึงภาวะตกเลือด ให้รายงานแพทย์
⬅
นางสาวสมจิตร ถนอมจิต เลขที่ 65
รหัสนักศึกษา 601401068