Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายแพ่งและอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์,…
กฎหมายแพ่งและอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
กฎหมายแพ่ง
ลักษณะกฎหมาย
กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกคน
มีความผูกพันหรือเกี่ยวข้องกับบุคคลทั้งภายในครอบครัว และบุคคลภายนอก
โดยที่ความเสียหายในทางแพ่งจะมีผลกระทบต่อบุคคลที่เป็นคู่กรณีเท่านั้น
การฟ้องร้องคดีผู้เสียหายจึงต้องฟ้องต่อศาลเอง และหากมีการประนีประนอมกันได้ระหว่างดำเนินคดี ศาลก็อนุญาตให้ถอนฟ้องคดีได้
ความสัมพันธ์ของบุคคล
• นิติกรรม
การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและสมัครใจต่อการผูกนิติสัมพันธ์ เพื่อก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
ป.พ.พ.มาตรา 149 นิติกรรม หมายความว่า การใดๆอันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
องค์ประกอบของนิติกรรม
มีการกระทำ จะเป็นการกระทำใดๆได้ทั้งสิ้น เช่น ด้วยการบอกกล่าวด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือโดยกระทำสัญลักษณ์ก็ได้
2.การกระทำนั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ขัดต่อกฎหมาย
ประเภทนิติกรรม
นิติกรรมฝ่ายเดียว คือ นิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคลากรฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว เช่น การทำพินัยกรรม
2.นิติกรรมสองฝ่าย คือ นิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป
โดยฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำเสนอ และอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำสนอง
เมื่อคำเสนอและคำสนองตรงกัน จึงเกิดมีนิติสัมพันธ์ขึ้นหรือเรียกว่าสัญญา เช่น สัญญาว่าจ้าง สัญญาซื้อขาย
บุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการกระทำนิติกรรม
ผู้เยาว์
บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
บุคคลจะพ้นสภาพการเป็นผู้เยาว์เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
หรือเมื่อทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงและชายที่มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์
การทำนิติกรรมของผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม คือ บิดา มารดา หรือผู้ใช้อำนาจ
คนไร้ความสามารถ
คนวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ โดยศาลจะแต่งตั้งให้คู่สมรสหรือผู้สืบสันดานหรือบุพการีของคนวิกลจริตเป็นผู้อนุบาล และผู้อนุบาลจะเป็นผู้ทำนิติกรรมแทนคนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ
คือ บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้เพราะ
กายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ
ติดสุรายาเมา
• สัญญา
การตกลงด้วยความสมัครใจระหว่างบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป โดยเจตนาจะต้องถูกต้องตรงกัน
• ละเมิด
การกระทำหรืองดเว้นการกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิของผู้อื่น
องค์ประกอบของการกระทำละเมิด
กระทำโดยบุคคลอื่นโดยผิดต่อกฎหมาย
กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กระทำโดยจงใจ
ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
การชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดให้กับผู้เสียหายตามกฎหมายแพ่ง เรียกว่า ค่าสินไหมทดแทน
กรณีสินทรัพย์เสียหาย ป.พ.พ มาตรา 438 วรรคสอง ค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ การคืนสินทรัพย์ที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเพราะการละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินรวมค่าเสียหายอันพึงจะบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันก่อขึ้น นั้นด้วย
กรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ป.พ.พ. มาตรา 443 ค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องชดใช้ให้กับทายาท ได้แก่
1.ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการปลงศพ เช่น ค่าโลงศพ ค่าธรรมเนียมวัด ค่าบำเพ็ญกุศล ฯลฯ
2.ค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดู เช่น บิดามารดา มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร หรือบุตรมีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูบิดามารดา
3.ค่าขาดแรงงาน ถ้าผู้ตายมีความผูกพันตามกฎหมาย จะต้องทำงานเป็นคุณให้แก่ ครอบครัว หรือแก่บุคคลภายนอกครอบครัว ผู้กระทำละเมิดต้องชดใช้ค่าแรงงานในส่วนนี้ด้วย
4.ค่ารักษาพยาบาลและค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ก่อนตาย (ถ้ามี)
กรณีผู้เสียชีวิตไม่ถึงแก่ความตาย เพียงแต่ได้รับอันตรายแก่กาย เช่น ได้รับบาดเจ็บหรือพิการ
ค่ารักษาพยาบาลอันจำเป็นแก่อาการ
2.ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างเจ็บป่วย
3.ค่าสูญเสียความสามารถในการประกอบอาชีพทั้งในเวลาปัจจุบันและอนาคต (ป.พ.พ.444)
ค่าเสียหายอื่นอันมิใช่ตัวเงิน ค่าเสียหายชนิดนี้มักเรียกว่า “ค่าทำขวัญ” (ป.พ.พ.มาตรา 446)
ผู้ร่วมรับผิดในการกระทำละเมิด
โดยปกติ ผู้กระทำย่อมต้องรับผิดชอบเฉพาะการกระทำของตนแต่ในเรื่องละเมิด บางกรณี ผู้ที่มิได้มีส่วนร่วม หรือรู้เห็นในการกระทำละเมิดเลย แต่อาจต้องรับผิดในการกระทำละเมิด
นายจ้างกับลูกจ้าง
ป.พ.พ.มาตรา425 กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องรับผิดชอบกับลูกจ้างในผลของละเมิดที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติของลูกจ้างในทางการจ้าง
บิดามารดากับผู้เยาว์ หรือผู้อนุบาลกับคนวิกลจริต
ป.พ.พ.มาตรา429 กฎหมายกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลต้องร่วมรับผิดชอบต่อผลของละเมิดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้เยาว์หรือคนวิกลจริตที่อยู่ในความดูแลของตน เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังแล้วตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ครูอาจารย์กับผู้ที่อยู่ในความดูแลของตน
ป.พ.พ.430 กฎหมายกำหนดให้ครูอาจารย์ รับผิดชอบต่อผลของการกระทำละเมิดของบุคคลที่อยู่ในความดูแลของตน ซึ่งได้กระทำลงขณะที่ผู้นั้นอยู่ในความดูแลของตน
ตัวการร่วมรับผิดชอบกับตัวแทน
ป.พ.พ.มาตรา427 กฎหมายกำหนดให้ตัวการรับผิดต่อผลการกระทำของตัวแทน ซึ่งได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนซึ่งได้รับมอบหมายจากตัวการ
การร่วมกันทำละเมิด
ป.พ.พ.มาตรา432 ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น โดยร่วมกันทำละเมิดท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่มาสามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้นคนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นด้วย
สภาพบังคับของกฎหมาย
1.โมฆะกรรม ความสูญเปล่าของนิติกรรม
ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย คือ กฎหมายห้ามกระทำ
เป็นการพ้นวิสัย คือ เป็นการกระทำในสิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้
ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
2.โมฆียกรรม
นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ในขณะที่ทำ แต่อาจถูกฝ่ายที่เสียเปรียบบอกล้างได้ในเวลาต่อมา
มีผลให้นิติกรรมนั้นสิ้นสุดลงและตกเป็นโมฆะกรรม โมฆียกรรมเมื่อบอกล้างแล้วให้ถือว่าเป็นโมฆะ
3.การบังคับชำระหนี้
อาจเป็นการบังคับชำระด้วยเงิน หรือการส่งมอบทรัพย์สิน หรือสั่งให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืองดการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพที่เกิดขึ้น
4.การชดใช้ค่าเสียหาย
กฎหมายแพ่งได้รับรองสิทธิให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กระทำผิดชดใช้ค่าเสียหาย
หรือค่าสินไหมทดแทนแก่ตนเพื่อให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายคืนสู่ฐานะเดิมให้ได้ใกล้เคียงที่สุด
ความรับผิดทางแพ่ง
ความรับผิดตามสัญญา
ความรับผิดจากการละเมิด
1.กระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
2.กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ
3.ทำให้บุคคลอื่นเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง
4.ผู้กระทำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ
กฎหมายอาญา
กฎหมายมหาชนประเภทหนึ่งที่กำหนดความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับราษฎรมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นความผิดและการลงโทษผู้ฝ่าฝืนไว้
ประเภทของกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา ได้แก่ กฎหมายที่รวบรวมการกระทำผิดสำคัญๆ และบังคับใช้
2.กฎหมายอาญาประเภทอื่นๆ ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเฉพาะเรื่องนอกจากที่ได้กล่าวไว้
ความผิดทางอาญา
การกระทำผิดที่มีผลกระทบต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ ความผิดทางอาญา
ความผิดต่อแผ่นดิน ได้แก่ ความผิดที่สำคัญและร้ายแรง มีผลกระทบต่อ ผู้ได้รับความเสียหายและส่งผลกระทบกระเทือนแก่สังคมส่วนรวม
ความผิดส่วนตัว ได้แก่ ความผิดที่ไม่ร้ายแรง และมีผลกระทบกระเทือนต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายแต่ฝ่ายเดียว
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา
ต้องมีการกระทำ
การกระทำนั้นกฎหมายบัญญัติว่าเป็นการกระทำผิดและกำหนดโทษไว้
ต้องกระทำโดยเจตนา หากเป็นการกระทำโดยประมาทหรือไม่เจตนา ต้องมีกฎหมายกำหนดไว้ด้วยว่าจะต้องรับโทษ
มาตรา 59 วรรค 2 การกระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สึกในการกระทำและขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
องค์ประกอบของการกระทำโดยเจตนา
ต้องกระทำโดยรู้สึกในการกระทำ
ต้องกระทำโดยประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล
องค์ประกอบของการกระทำโดยประมาท
1.การกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ไม่เจตนากระทำผิด
2.ได้กระทำไปโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะ เช่นนั้น ต้องมีตามวิสัย และพฤติการณ์
3.ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่
ไม่มีกฎหมายยกเว้นความรับผิดหรือกฎหมายยกเว้นโทษ
หน้าที่จักต้องกระทำอาจเกิดขึ้นได้ 2 กรณี
1.โดยกฎหมายบัญญัติ
โดยการกระทำของผู้กระทำผิดเอง
ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ต้องเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
ภยันตรายนั้นเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
ต้องเป็นการกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายนั้น
ความยินยอม หมายความว่า การอนุญาตให้กระทำได้
ต้องยินยอมโดยบริสุทธิ์ใจ มิได้เกิดขึ้นจากความหลอกลวง ขู่เข็ญหรือสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น การยอมให้ฆ่าไม่อาจกระทำได้เพราะผิดกฎหมาย
เหตุยกเว้นโทษ
กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
ผู้ใดกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะมิชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ผู้นั้นไม่รับโทษ เว้นแต่จะรู้ว่าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งซึ่งมิชอบด้วยกฎหมาย
กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน เจ้าพนักงาน หมายถึง บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย
2.คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง คำสั่งที่กฎหมายไม่ให้อำนาจที่จะให้ออกคำสั่งเช่นว่านั้นได้
3.ผู้กระทำมีหน้าที่ หรือเชื่อโดยสุจริตใจว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
กระทำผิดเพราะไม่สามารถรู้ผิดชอบ
ผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่องโรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น
ต้องกระทำผิดในขณะที่ไม่สามารถรู้รับผิดชอบหรือไม่ สามารถบังคับตนเองได้
2.เพราะจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน
ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
เพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้
2.เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นก็ได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อขึ้น เพราะความผิดของตน
อายุความและโทษทางอาญา
การลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญานอกจากการกระทำต้องมีกฎหมายกำหนดไว้ชัดแจ้งว่าเป็นความผิดแล้ว ต้องอยู่ในระยะของอายุความที่ศาลจะลงโทษได้ด้วย
สภาพบังคับของกฎหมาย
การลงโทษตาม กฎระเบียบ แก่ผู้กระทำผิดและก่อให้เกิดความไม่สงบในสังคม
อาจได้รับโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต หรือถูกกันออกไปจากสังคม
โทษสำหรับผู้กระทำ
ประหารชีวิต
จำคุก
กักขัง
ปรับ
ริบทรัพย์สิน
การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับความผิดทางอาญา
การไม่ช่วยเหลือหรือปฏิเสธการประกอบวิชาชีพ
2.ประกอบวิชาชีพโดยผู้ป่วยไม่ยินยอม
ทอดทิ้งหรือปล่อยปละละเลยผู้ป่วย
การเปิดเผยความลับผู้ป่วย
ประมาทในการประกอบวิชาชีพ
การทำหรือรับรองเอกสารอันเป็นเท็จ
การทำให้แท้งลูก
นางสาวกชกร ธนกรกิจสกุล เลขที่3 รหัส 612001003