Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การช่วยเหลือพยาบาลวิชาชีพในการดูแลบุคคลวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหากา…
การช่วยเหลือพยาบาลวิชาชีพในการดูแลบุคคลวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
การดูแลความต้องการพื้นฐานของบุคคลด้านการขับถ่ายปัสสาวะ
การขับถ่ายปัสสาวะ เป็นการรักษาความสมดุลของเหลว เกลือแร่ และสารที่เป็นประโยชน์ ต่อร่างกายซึ่งเป็นการทำงานของร่วมกันของไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ระบบประสาทที่อยู่ในอำนาจจิตใจและระบบประสาทที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ
ลักษณะปกติของปัสสาวะ
ปริมาณ ปริมาณปัสสาวะที่ขับถ่ายออกจะแตกต่างกันตามวัย
สี สีปัสสาวะแตกต่างกันตามปริมาณสารนำ้ที่รับเข้าสู่ร่างกาย
ความใส ปกติปัสสาวะจะใส ไม่มีตะกอนขุ่น
กลิ่น ปัสสาวะที่เพิ่งขับถ่ายออกมาจะมีกลิ่นอ่อน ปัสสาวะที่ใส่ภาชนะตั้งไว้นานๆจะมีกลิ่นแอมโมเนีย
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
การเติบโตและพัฒนาการ
การขับถ่ายได้ดีขึ้นเมื่อเติบโตขึ้นตามวัย จวบจนเข้าสู่วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเสื่อมของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
ปัจจัยด้านอารมณ์ จิตใจ ความวิตกกังวล และความเครียดทำให้มีความรู้สึกปวดปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะไม่สุด
นิสัยส่วนบุคคล คนส่วนใหญ่จะปัสสาวะได้เฉพาะเวลาที่อยู่ในห้องสุขาที่สะอาดปกปิดมิดชิด
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ คือ กล้ามเนื้อที่หน้าที่หน้าท้องและกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน
ปริมาณสารนำ้ที่รับเข้าสู่ร่างกาย ขณะที่ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลของสารนำ้ได้รับนำ้เพิ่มเข้าสู่ร่างกายจะทำให้มีการผลิตปัสสาวะเพิ่มขึ้นปริมาณสารนำ้ที่เข้าสู่ร่างกายนี้ทีผลต่อจำนวนครั้ง
ปริมาณนำ้สูญเสียออกจากร่างกาย ผู้ที่มีการสูญเสียนำ้ออกจากร่างกายที่นอกเหนือจากการสูญเสียนำ้ทางปัสสาวะ เช่น การเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย อาเจียน ท้องเสีย
ความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ
ถ่ายปัสสาวะไม่ออก เป็นภาวะที่มีปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะออกมาได้บางส่วนหรือไม่สามารถขับออกได้ทั้งหมด
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เกิดจากเชื้อโรคที่เข้ามาทางท่อปัสสาวะ
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เนื้องจากไม่สามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดชั้นนอกที่ท่อปัสสาวะ
ปัสสาวะลำบาก การปัสสาวะลำบากที่มีอาการปวดแสบร่วมด้วยสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ
ปัสสาวะมาก เป็นภาวะที่ไตมีการสร้างปัสสาวะออกมามากกว่าวันละ 2,500-3,000 มิลลิลิตร สาเหตุจากระดับแคลเซียมในเลือดสูง โรคเบาจืด โรคเบาหวาน
ปัสสาวะน้อย เป็นภาวะที่ไตมีการสร้างปัสสาวะออกมาน้อยกว่าวันละ500มิลลิลิตร สาเหตุจากการขาดนำ้อย่างรุนแรง โรคไต
ไม่มีปัสสาวะ เป็นภาวะที่ไตสูญเสียการทำหน้าที่ในการสร้าง และขับปัสสาวะ ทำให้ปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า วันละ 100 มิลลิลิตร สาเหตุจากภาวะไตวายเฉียบพลัน
การส่งเสริมการทำงานหน้าที่ของระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้ได้รับสารนำ้อย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 2ลิตร เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมสุขอนามัย ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก สำหรับเพศหญิงให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังและซับให้แห้ง ไม่กลั้นปัสสาวะ
ส่งเสริมความแข็งแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหน้าท้อง
ส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ ไม่กลั้นปัสสาวะ
การจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ไม่สามารถลุกเข้าห้องนำ้ได้เอง ได้แก่ หม้อนอน สำหรับผู้ป่วยหญิง โถปัสสาวะ
การดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะ
การฝึกการขับถ่ายปัสสาวะ
การนวดกระเพาะปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับนำ้อย่างน้อยวันละ3ลิตร รับประทานเนื้อสัตว์ ผลไม้รสเปรี้ยว
ดูแลให้ปัสสาวะไหลลงถุงรองรับปัสสาวะสะดวกตลอดเวลาระวังไม่ให้สายบิด หัก พับ งอ
ตวงและบันทึกปริมาณนำ้ดื่มและปัสสาวะให้ถูกต้อง
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าจะมีความรู้สึกปวดถ่ายปัสสาวะตลอดเวลา
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วยนำ้และสบู่อย่างน้อยวันละ2ครั้ง
ดูแลให้ชุดสวนปัสสาวะอยู่ในระบบปิดโดยหมั่นตรวจสอบบริเวณจุดเชื่อมต่อของสายสวนปัสสาวะ ท่อระบายและถุงรองรับปัสสาวะไม่ให้เลื่อนหลุด
เทัสสาวะออกจากถุงรองรับปัสสาวะอย่างน้อยทุก8ชั่วโมง
ดูแลให้สายระบายปัสสาวะ และถุงรองรับปัสสาวะอยู่ตํ่ากว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ
แนะนำการปฏิบัติตนขณะคาสายสวนปัสสาวะ
ติดพลาสเตอร์ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ดูแลไม่ให้พลาสเตอร์เลื่อนหลุด
การดูแลช่วยเหลือเมื่อปฏิบัติการถอดสายสวนปัสสาวะ
ถุงมือสะอาด
กระบอกสูบขนาด 10 มิลลิลิตร
ถุงขยะ
กระดาษชำระ
หากผู้ป่วยไม่สามารถทำความสะอาดอวัยวะ
หากผู้ป่วยไม่สามารถทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกได้ด้วยตนเอง