Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Brain abscess - Coggle Diagram
Brain abscess
-
การประเมินภาวะสุขภาพ
1.การซักประวัติ
ผู้ป่วยที่เป็นฝีในสมอง อาจมีประวัติของการติดเชื้อที่พบ คือ ปวดศีรษะตลอดเวลา หรือปวดเป็นบางครั้งบางคราว
2.การตรวจร่างกาย
วัดสัญญาณชีพ จะมีไข้ อาเจียน คอแข็ง ตรวจระดับความรู้ สติอาจมีอาการสับสน การตรวจ Kernig’s sign จะพบให้ผลบวก (ไม่สามารถจะเหยียดขาออกได้ เพราะเจ็บปวดมาก) ตรวจ Brudzinski’s sign (เมื่อก้มคอจะมีสะโพกและเข่างอด้วย)
-
การรักษา
รักษาด้วยยา
ฝในสมองทเกดจากการอกเสบตดเชอของโพรงไซนส มกเกดจากเชอ 1.กลุ่ม carboxyphilic streptococci โดยเฉพาะเชื้ั้อ S. milleri มักจะไวต่อยากลม penicillin เป็นอย่างมาก และมักจะดื้อต่อ ยา metronidazole ดังนั้นในผู้ป่วยฝีในสมองที่เกิดจากเชื้อตัวนี้ก็ควรให้การรักษาด้วยยา penicillin G 10-20 ล้านยูนิต ต่อวน ในผู้ป่วยที่แพ้ยา penicillin ควรให้ยา vancomycin แทน
aerobic และ anaerobic bacteria การให้ยาปฏิชีวนะจำเป็นต้องให้ยาหลายขนานที่มีฤทธิ์ควบคุมเชื้อ หลายๆตัว(board spectrum) ควรใหยาปฏิชีวนะทั้งที่ออกฤทธิ์ต่อเชื้อ gram-negative aerobes และ streptococci ยาที่ใช้อาจเป็น penicillin ร่วมกบ metronidazole และ third generation cephalosporin(cefotaxime)
ผู้ป่วยที่มีฝีในสมองที่เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือดมักมีความจำเป็นที่จะต้องให้ยาปฏิชีวนะที่ ออกฤทธิ์กว้างที่สามารถครอบคลุมเชื้อ gram-negative ,anaerobic bacteria และ โดยเฉพาะ Enterobacteriaceae ซึ่งมักมีความไวต่อยาปฏิชีวนะในกลุ่ม third generation cephalosporin อย่าง cefotaxime, ceftazidime
ฝีในสมองที่เกิดตามหลังการบาดเจ็บ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อกลุ่ม S.aureus ซึ่งสามารถ รักษาให้ได้ผลดีโดยยาปฏิชีวนะกลุ่ม semisynthetic penicillinase-resistant penicillin หรือ vancomycin
-
พยาธิสภาพ
ฝีในสมอง เป็นการสะสมของฝีหนองทั้งที่มีถุงหุ้มและไม่มีถุงหุ้ม ซึ่งพบได้ทั้งนอกเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก ( Extradural abscess ) หรือใต้เยื่อหุ้มดูรามาเตอร์และในเนื้อสมองเอง เชื้อที่พบบ่อย คือ เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งรุกรานโดยตรงหรือโดยอ้อม จุลินทรีย์จะเข้าสู่สมองทางหู โพรงอากาศเซลล์มาสตอยด์ เข้าไปตามหลอดเลือดดำของสมองจึงสามารถกระจายได้ทั่วสมอง จุลินทรีย์จากหูทำให้กระดูกพรุนอักเสบเป็นหนองเข้าสู่สมองได้ง่าย เอมโบไลติดเชื้อ ( Infectious emboli) ที่หลุดลอยจากหัวใจ ปอด ฟัน หรือฝีรอบทอนซิลที่แตกออกจะเข้าสู่ระบบไหลเวียนได้ เชื้อที่พบบ่อยสุด คือ Streptococcus ที่ไม่ต้องการออกซิเจน
อาการ
อาการหลัก 3 อย่างของโรคฝีในสมอง คือ ไข้ ปวดศีรษะ และสูญเสียการบังคับร่างกายบางส่วน (อัมพาตบางส่วน) อาการมักค่อย ๆ เกิดภายในเวลา 1-2 สัปดาห์ เมื่ออาการเป็นมากขึ้นจะอาเจียน ตาพร่ามัว สับสน ซึมลง บางรายมีอาการชักและหลังคอตึงแข็งคล้ายโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย ถ้าฝีเกิดที่สมองน้อยทางด้านหลังของศีรษะจะมีอาการเวียนศีรษะ เดินเซ เสียการทรงตัวร่วมด้วย
ภาวะเเทรกซ้อน
การแตกของฝีในสมอง ซึ่งมักเกิดในรายที่โพรงฝีมีขนาดใหญ่แต่ผนังยังบางอยู่ ถ้าเกิดขึ้น มีอัตราตายสูงถึงร้อยละ 80
การป้องกันไม่ให้เกิดโรค
-
-
-
หมั่นดูแลรักษาความสะอาดและสุขอนามัยของร่างกายอยู่เป็นประจำโดยเฉพาะการทำความสะาดช่องปาก ฟัน และการสวนล้างจมูก เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดีและไม่ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย