Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลมารดาในระยะที่ 2 ของการคลอด unnamed (1) - Coggle Diagram
การดูแลมารดาในระยะที่ 2 ของการคลอด
การหดรัดตัวของมดลูก
-
มดลูกจะมีการหดรัดตัว ทุก 2-3 นาที นาน 60-90 วินาที ความรุนแรงระดับ +++ ซึ่งในการดูแลเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายควรอยู่ระหว่าง 45-60 วินาที
ผู้คลอดที่มีการหดรัดตัวของมดลูกมากกว่าปกติชนิดไม่คลาย (tetanic contraction) ถ้ามีร่วมกับ bandl' s ring อาจเกิดภาวะมดลูกแตกได้ โดยเฉพาะในมารดาครรภ์ หลังควรระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจทำให้เสียเลือดมากและเกิดภาวะช็อคได้
-
สภาวะของทารกในครรภ์
ฟังเสียงของหัวใจทารกในครรภ์ทุก 15-30 นาที เป็นอย่างน้อย ในรายที่มีภาวะผิดปกติ ต้องฟังทุกครั้งที่มดลูกคลายตัว
-
ถ้าพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์น้อยกว่า 100 ครั้งต่อนาที หรือมากกว่า 160 ครั้งต่อนาที หรือจังหวะ การเต้นไม่สม่ำเสมอ แสดงว่าทารกในครรภ์ในภาวะขาดออกซิเจนเกิดขึ้นแล้ว จำเป็นต้องช่วยให้การคลอดสิ้นสุดโดยเร็ว
สภาวะร่างกายของผู้คลอด
ประเมินว่าผู้คลอดมีภาวะอ่อนเพลีย หมดแรง ขาดน้ำ ขาดอาหารหรือไม่ รวมทั้งการประเมินระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดของผู้คลอด
สัญญาณชีพ
-
-
ถ้าอัตราการเต้นของชีพจรมากกว่า 90 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท
หรือสูงกว่า 130/90 mmHg และหายใจเร็วกว่า 24 ครั้งต่อนาที อาจแสดงว่ามีการตกเลือดในระยะคลอดและเกิดภาวะช็อค ต้องรีบรายงานแพทย์และให้การช่วยเหลือทันที
การเคลื่อนต่ำของส่วนนำ
-
ถ้ามดลูกหดรัดตัวไม่ดีหรือแรงเบ่งไม่ดี การเคลื่อนต่ำของส่วนนำก็จะไม่ดีด้วย ทำให้ระยะที่ 2 ของ
การคลอดยาวนาน (prolonged second stage of labor)
สภาวะจิตใจของผู้คลอด
การประเมินความรู้สึกวิตกกังวล และความหวาดกลัวของผู้คลอดต่อการคลอด
ซึ่งอาจมีผลทำให้มดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติ เกิดการคลอดล่าช้าได้
-
กิจกรรมการพยาบาล
- ในระยะแรกของการเบ่ง ควรนวดบริเวณ sacrum โดยให้ผู้คลอดนอนตะแคงซ้าย พยาบาลยืนอยู่ข้างหลัง นวดลึกๆ เป็นวงกลมที่บริเวณ sacrum ใช้มือกดให้คงที่สม่ำเสมอไม่กดลึกจนเกินไป แต่ไม่ใช่เป็นการถูไป ถูมาเร็วๆ เพราะเป็นการกระตุ้นผิวหนังเท่านั้นจะไม่มีผลในการลดความเจ็บปวดอย่างใด
- ท่านอน ในขณะที่มดลูกคลายตัว จะนอนพักในท่าใดก็ได้ที่รู้สึกสบายที่สุด แต่ในขณะที่มดลูกหดรัดตัวและมีแรงเบ่ง ควรนอนหงายชันเข่าขึ้น มือทั้งสองข้างจับที่ขอบเตียง
หรือข้อเท้าทั้งสองข้างเพื่อช่วยให้ทารกเคลื่อนต่ำได้เร็วขึ้น
3.อาการเป็นตะคริว ในระยะนี้จะเกิดได้มากจากการเกร็งอยู่ในท่าเดียวนานๆ ได้แก่ การชันเข่า
หรือการนอนบนขาหยั่งนานๆ เพื่อออกแรงในการเบ่ง ดังนั้นควรนวดบริเวณที่เป็นให้กับผู้คลอด
- การดูแลเกี่ยวกับการดำเนินการคลอด
-
-
-
-
-