Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลมารดาในระยะที่ 2 ของการคลอด - Coggle Diagram
การดูแลมารดาในระยะที่ 2 ของการคลอด
เมื่อสตรีตั้งครรภ์มีปากมดลูกที่เปิดจนถึง 10 เซนติเมตร แสดงว่าเข้าสู่ระยะที่ 2 หรือช่วงเวลาของการเบ่งคลอดแล้ว ดังนั้นสตรีตั้งครรภ์จะถูกย้ายไปเข้าห้องคลอด (ในกรณีที่ห้องรอคลอดเป็นคนละที่กับห้องคลอด) และอยู่ในท่า Lithotomy (ในบางโรงพยาบาลอาจทำคลอดในท่านอนหงายปกติก่อนได้ แล้วจึงเปลี่ยนเป็นท่า Lithotomy เมื่อหลังคลอดรกแล้วและต้องการเย็บแผลฝีเย็บ)
เก็บรวบรวมข้อมูลของผู้คลอดเพื่อนำมากำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลซึ่งเป็นแนวทางในการวางแผนการพยาบาล
การหดรัดตัวของมดลูก
ประเมินทุก 15 นาทีหรือทุกครั้งที่มีการหดรัดตัวของมดลูกและคลายตัว ปกติมดลูกจะมีการหดรัดตัว ทุก 2-3 นาทีนาน 60-90 วินาทีความรุนแรงระดับ +++
การเคลื่อนต่ำของส่วนนำ
โดยการตรวจภายในเพื่อประเมินระดับส่วนนำของทารก การสังเกตบริเวณฝีเย็บ และการเคลื่อนต่ำของตำแหน่งเสียงหัวใจทารกในครรภ์ที่ฟังได้ชัดเจนที่สุด
แรงเบ่ง (bearing down effort)
ประเมินลักษณะการเบ่งของผู้คลอดว่าถูกต้องหรือไม่ เบ่งแล้วการคลอดก้าวหน้าหรือไม่
กระเพาะปัสสาวะ
ประเมินว่ากระเพาะปัสสาวะเต็มหรือไม่ เนื่องจากมีกระเพาะปัสสาวะเต็ม เป็นสาเหตุทีทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดีและขัดขวางการเคลื่อนต่ำของส่วนนำทารก
สภาวะของทารกในครรภ์โดยการฟังเสียงของหัวใจทารกในครรภ์
ทุก 15-30 นาทีเป็นอย่างน้อยในรายที่มีภาวะผิดปกติ ต้องฟังทุกครั้งที่มดลูกคลายตัว เช่น มีขี้เทา หรือมารดามีโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดผลเสียต่อการไหลเวียนเลือด
สัญญาณชีพ
โดยการจับชีพจร นับการหายใจ และวัดความดันโลหิต ทุก 30 นาทีถึง 1 ชม. หากมีภาวะเสี่ยงให้ตรวจวัดทุก 30 นาที
สภาวะร่างกายของผู้คลอด
โดยประเมินว่าผู้คลอดมีภาวะอ่อนเพลีย หมดแรง ขาดน้ำ ขาดอาหารหรือไม่ รวมทั้งการประเมินระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดของผู้คลอด
สภาวะจิตใจของผู้คลอด
ประเมินความรู้สึกวิตกกังวลและความหวาดกลัวของผู้คลอดต่อการคลอด
กิจกรรมการพยาบาล
ในระยะแรกของการเบ่ง ควรนวดบริเวณ sacrum โดยให้ผู้คลอดนอนตะแคงซ้าย พยาบาลยืนอยู่ข้างหลัง นวดลึกๆ เป็นวงกลมที่บริเวณ sacrum ใช้มือกดให้คงที่สม่ำเสมอไม่กดลึกจนเกินไป แต่ไม่ใช่เป็นการถูไปถูมาเร็วๆ เพราะเป็นการกระตุ้นผิวหนังเท่านั้นจะไม่มีผลในการลดความเจ็บปวดอย่างใด
ให้กำลังใจผู้คลอดว่าการคลอดใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว พร้อมทั้งฝึกซ้อมวิธีการเบ่งที่ถูกต้อง
อาการเป็นตะคริว ในระยะนี้จะเกิดได้มากจากการเกร็งอยู่ในท่าเดียวนานๆ ได้แก่การชันเข่าหรือการนอนบนขาหยั่งนานๆ เพื่อออกแรงในการเบ่ง ดังนั้นควรนวดบริเวณที่เป็นให้กับผู้คลอด
ท่านอน ในขณะที่มดลูกคลายตัว จะนอนพักในท่าใดก็ได้ที่รู้สึกสบายที่สุด แต่ในขณะที่มดลูกหดรัดตัวและมีแรงเบ่ง ควรนอนหงายชันเข่าขึ้น มือทั้งสองข้างจับที่ขอบเตียงหรือข้อเท้าทั้งสองข้างเพื่อช่วยให้ทารกเคลื่อนต่ำได้เร็วขึ้น
การดูแลเกี่ยวกับการดำเนินการคลอด
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก
สังเกตการเคลื่อนต่ำของส่วนนำ
การเจาะถุงน้ำ (Puncture of membranes) ปกติถุงน้ำจะช่วยถ่างขยายปากมดลูกให้ทารกเคลื่อนต่ำลงมาเร็วขึ้น และถุงน้ำจะแตกในปลายระยะที่ 1 หรือเริ่มต้นของระยะที่ 2 ของการคลอด แต่ถ้าถุงน้ำยังไม่แตกควรจะเจาะเพราะอาจทำให้การเคลื่อนต่ำของทารกล่าช้า การเจาะจะต้องทำโดยถือหลัก aseptic technique และให้น้ำค่อยๆ ไหลออกเพื่อปูองกันภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดและการติดเชื้อ
แนะนำเกี่ยวกับการเบ่ง การเบ่งมีความสำคัญต่อการคลอดในระยะนี้มาก หากทารกเคลื่อนต่ำลงมามากเท่าใดแรงเบ่งยิ่งมีความสำคัญมากเท่านั้น เพราะแรงจากการหดรัดตัวของมดลูกจะยิ่งลดน้อยลงตามลำดับ