Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเข้ากลุ่ม PBL ครั้งที่ 2, เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ.(2554)…
การเข้ากลุ่ม PBL
ครั้งที่ 2
การทำคลอดและ
การช่วยเหลือการคลอดปกติ
การทำคลอดปกติ
1. การทำคลอดศีรษะ
เมื่อผู้คลอดเบ่งจนศีรษะทารกโผล่ออกมาปากช่องคลอด ซึ่งศีรษะทารกจะไม่ผลุบกลับเข้าไปในช่องคลอด เมื่อมดลูกคลายตัว หรือผู้คลอดหยุดเบ่ง เรียกว่า crowning
ให้ผู้คลอดเบ่งตามจังหวะการหดรัดตัวของมดลูกจนกระทั่งเห็นศีรษะทารกโผล่ประมาณ 3-4 cm ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลางของมือข้างที่ไม่ถนัดแตะไว้บนศีรษะทารก กดศีรษะเพื่อควบคุมไม่ให้ศีรษะเงยขึ้นก่อนกำหนด ส่วนมือข้างที่ถนัดให้ใช้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านหนึ่ง อีก 4 นิ้วอยู่อีกด้านหนึ่งวางไวใต้ฝีเย็บ
2. การทำคลอดไหล่หน้า
ใช้มือคลำที่ซอกคอทารกเพื่อตรวจสายสะดือพันรอบคอทารกหรือไม่
3.การทำคลอดไหล่
ทำคลอดไหล่หน้า ช่วยทำคลอดโดยใช้ 2 มือจับศีรษะบริเวณขมับของทารกให้อยู่ระหว่างฝ่ามือทั้งสองข้าง กดศีรษะทารกลงล่างตามแนวทิศทางของช่องเชิงกรานส่วนบนเมื่อเห็นไหล่หน้าจนถึงบริเวณซอกรักแร้จึงหยุด
การทำคลอดไหล่หลัง จับศีรษะทารกให้บริเวณขมับทั้งสองข้างอยู่ระหว่างฝ่ามือทั้งสอง แล้วยกศีรษะทารกขึ้นไปทางหน้าท้องผู้คลอดประมาณ 45 องศากับแนวดิ่งให้ไหล่หลังคลอดออกมา
4. การทำคลอดลำตัว
ดึงตัวทารกออกมาช้าๆ โดยใช้มือข้างที่ถนัดอยู่ข้างล่างช่วยพยุงรองรับให้ศีรษะอยู่ในอุ้งมือ และคอทารกอยู่ระหว่างซอกนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ค่อยๆลดศีรษะทารกลง
มือข้างที่ไม่ถนัดค่อยๆ ลูบตามหลังทารกในขณะที่ลำตัวทารกค่อยๆ เคลื่อนออกมา
เมื่อทารกคลอดหมดทั้งตัว นำทารกวางบนผ้าที่จัดเตรียมไว้โดยระวังไม่ให้สายสะดือดึงรั้ง
แจ้งเวลาทารกคลอดและเพศของทารก
ดูดมูกจากปากทารกออกให้หมด และใช้ผ้าขนหนูที่อุ่นๆ เช็ดศีรษะและตัวทารกให้แห้งสะอาด เมื่อคลอดกระตุ้นให้ร้อง
ประเมินทารกแรกเกิด ดูสีผิว การร้อง การเคลื่อนไหวของแขนขา การหายใจ
การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิดทันที
7-10 คะแนน จัดว่าอยู่ในภาวะดี ไม่ขาดออกซิเจน
4-6 คะแนน แสดงว่าอยู่ในภาวะปานกลาง หรือมีภาวะขาดออกซิเจนเล็กน้อย
0-3 คะแนน แสดงว่าอยู่ในภาวะไม่ดี หรือมีภาวะขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง
เพื่อบอกถึงสภาวะของทารกที่เปลี่ยนไปและประเมินการตอบสนองของทารกต่อการช่วยชีวิต
สรีรวิทยาการคลอดรกและ
การทำคลอดรก การตรวจรก
การคลอดรก
ระยะที่1
รกผ่านจากโพรงมดลูก ภายหลังจากรกลอกตัวได้หมดแล้ว รกจะยังค้างอยู่ภายในโพรงมดลูก
จนกระทั่งกล้ามเนื้อมดลูกมีการหดรัดตัวครั้งต่อไป การหดรัดตัวจะเริ่มที่ยอดมดลูกแล้วลุกลามต่อมายังบริเวณมดลูกส่วนล่าง
ดังนั้นจึงเป็นการผลักไล่รกที่ลอกตัวหมดแล้ว ให้เคลื่อนต่ำลงมาผ่านพ้นโพรงมดลูกส่วนบนลงมาอยู่ในมดลูกส่วนล่าง หรือบางครั้งผ่านลงมาถึงบริเวณส่วนบนของช่องคลอดได้
ขณะที่รกถูกผลักจากโพรงมดลูกลงมานั้น ก็จะดึงรั้งเยื่อหุ้มเด็กบริเวณที่ติดต่อจากขอบรก ทำให้เยื่อหุ้มเด็กชั้น Chorion ที่ติดกับผนังมดลูกลอกตัวออกมา โดยการฉีกขาดของชั้น Spongiosa เช่นกัน
เพราะชั้นนี้ของเยื่อบุมดลูกมีความเปื่อยยุ่ยมากกว่าชั้นอื่น แต่สำหรับเยื่อหุ้มเด็กบริเวณส่วนล่างของมดลูกจะยังไม่ลอกตัว จนกว่าจะถูกดึงรั้ง เปื่อยยุ่ยมากกว่าชั้นอื่น
เปื่อยยุ่ยมากกว่าชั้นอื่น แต่สำหรับเยื่อหุ้มเด็กบริเวณส่วนล่างของมดลูกจะยังไม่ลอกตัว จนกว่าจะถูกดึงรั้งขณะที่รกผ่านปากช่องคลอดออกมาในระยะที่ 2 ของการคลอดรก
ระยะที่ 2
อาศัยธรรมชาติ
ผู้ทำคลอดให้ความช่วยเหลือด้วยวิธีต่าง ๆ
หลังเด็กคลอด มดลูกมีขนาดแบนใหญ่เพราะมีรกที่ยังไม่ลอกตัวค้างอยู่ภายในระดับของยอดมดลูกจะอยู่ต่ำกว่าระดับสะดือเล็กน้อย
รกลอกตัวสมบูรณ์แล้ว และเคลื่อนลงมาอยู่ในส่วนล่างของมดลูก ถ่างบริเวณที่ย่นยู่ให้โปุงออกและดันให้มดลูกส่วนบน ซึ่งจะมีขนาดเล็กลงให้ลอยสูงขึ้นไปเหนือระดับสะดือและอยู่ค่อนไปทางขวา(Uterine sign ของรกลอกตัว)
รกคลอดออกมาแล้ว มดลูกจะกลมเล็กลงและตำแหน่งอยู่ต่ำกว่าสะดือประมาณ 2 นิ้วมือ
การทำคลอดรก
ให้คลอดเองตามธรรมชาติ โดยให้มารดาเบ่ง (bearing down effort) โดยอาศัยแรงเบ่งของมารดา ซึ่งแรงเบ่งจะช่วยทำให้ความดันภายในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ะช่วยดันให้รกเคลื่อนต่ำลงมาจนคลอดได้เอง วิธีนี้นิยมปฏิบัติกัน เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัยไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของมดลูกปลิ้น
ภายหลังตรวจพบว่ารกลอกตัวสมบูรณ์แล้ว ผู้ทำคลอดใช้มือซ้ายคลึงมดลูกให้แข็งแล้วจับมดลูกเลื่อนจากด้านขวามาอยู่ในแนวกลาง จับมดลูกให้อยู่ในอุ้งมือ มือขวาจับสายสะดือไว้
ให้มารดาเบ่ง เมื่อรกผ่านช่องคลอดออกมาใช้มือขวารองรับรกไว้ มือซ้ายโกยมดลูกส่วนบนขึ้นเพื่อเป็นการช่วยรั้งให้เยื่อหุ้มทารกที่เกาะอยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูกมีการลอกตัว
ผู้ทำคลอดช่วยเหลือให้รกคลอด
modified cede maneuver
ใช้มือข้างที่ถนัดคลึงมดลูก
ใช้อุ้งมือโอบยอดมดลูกและผลักลงมาหา Promontary of Sarum
เมื่อเห็นรกคลอดออกมา 2/3 เปลี่ยนจากผลักเป็นโกย
ขณะผลักมือข้างที่ไม่ถนัดพยุงรองรับรก
เมื่อรกคลอดใช้มือหมุนรกไปรอบๆทางเดียวกันจนเยื่อหุ้มรกคลอดหมด
บันทึกเวลารกคลอดและคลึงมดลูก
Brandt-andrews maneuver
ใช้มือข้างที่ถนัดกดที่บริเวณท้องน้อยเหนือหัวเหน่า
ผลักไล่รกออกมาจนโผล่ที่ปากช่องคลอดแล้วหยุด
ดันยอดมดลูกกลับขึ้นบนเพื่อดึงรั้ง
อีกมือดึงสายสะดือพอถึงช่วยดึงรกเบาๆ
Controlled cord traction
ประเมินให้ชัดเจนว่ารกลอกตัวสมบูรณ์
วางมือข้างที่ไม่ถนัดเหนือหัวเหน่าดันมดลูกส่วนบน
ใช้มือข้างที่ถนัดดึงสายสะดือเบาๆออกมาตามแนวของคลอด
การตรวจรก
การตรวจรกด้านลูก
สีของรกด้านเด็กการมีสีของขี้เทา
ขนาดและความหนาของเนื้อรกเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15-20 cm
การตรวจรกด้านแม่
สีและลักษณะรกที่มีลักษณะบวม
ความสมบูรณ์ของcotyledon
เนื้อตาย (infraction) และแคลเซียมเกาะที่เนื้อรก (calcification)
การป้องกันการตกเลือดระยะที่ 3 ของการคลอด
การดูแลในระยะรอคลอดเริ่มต้นตั้งแต่แรกรับ
ผู้คลอดเข้าสู่ห้องคลอด
ค้นหาปัจจัยเสี่ยงหลีกเลี่ยงหรือรักษาปัจจัยเสี่ยงและให้การเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
แก้ไขปัญหาภาวะซีดก่อนคลอดเช่นเม็ดเลือดแดงต่ำเกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น
ในรายที่มีความเสี่ยงสูงควรงดน้ำและอาหารทางปาก
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเจาะเลือดตรวจหาความเข้มข้นของเลือดจองเลือดให้พร้อม
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างเพื่อป้องกันการคลอดที่ยาวนานและระมัดระวังการได้รับยาบรรเทาปวดมากเกินไปเพราะจะทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
เตรียมทีมสหสาขาวิชาชีพประกอบด้วยสูติแพทย์วิสัญญีแพทย์ธนาคารเลือดหรือส่งตัวเพื่อคลอดในสถานที่ที่มีความพร้อม
การดูแลในระยะคลอด
หลีกเลี่ยงหรือรักษาปัจจัยเสี่ยงเช่นการคลอดยาวนานการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำเป็นต้นระมัดระวังไม่ให้เบ่งคลอดยาวนานเกินไป
ทำคลอดในระยะที่สองและสามของการคลอดอย่างถูกต้องและเหมาะสมไม่บีบเคล้นหรือคลึงมดลูกก่อนรกลอกตัวเพราะอาจทำให้รกลอกตัวผิดปกติและรกค้างได้และเมื่อตรวจพบว่ารกลอกตัวสมบูรณ์แล้วควรทำคลอดรกทันที
ดูแลแบบ active management of the third stage of labor
(AMTSL)
ให้ออกซิโทซิน 10 ยูนิตเข้ากล้ามเนื้อหลังทารกคลอดหรือผสมออกซิโทซิน 10-20 ยูนิตในสารละลาย 1,000 มิลลิลิตรเข้าทางหลอดเลือดดำหยกต่อเนื่อง 100-150 มิลลิลิตร / ชั่วโมง
การหนีบสายสะดือทารกภายใน 1-3 นาทีหลังทารกคลอด
ทำคลอดรกด้วยวิธีดึงสายสะดือ (controlled cord traction) ซึ่งทำโดยหนีบสายสะคือใกล้ฝีเย็บโดยใช้ sponge forcep5 จับสายสะดือให้ตึงเล็กน้อยรอจนมดลูกหดรัดตัวดีแล้วดึงสายสะดือลงอย่างนุ่มนวลขณะที่มืออีกข้างวางเหนือกระดูกหัวเหน่าคอยกันมดลูกไม่ให้เคลื่อนตามลงมาเพื่อป้องกันมดลูกปลิ้นพยายามให้ผู้คลอดช่วยเบ่งขณะดึงถ้ารกไม่เคลื่อนตามขณะดึง 30-40 วินาทีให้หยุดและทำใหม่เมื่อมดลูกมีการหดรัดตัวครั้งต่อไป
กลึงมดลูกทันทีหลังรกคลอดให้มดลูกหดรัดตัวดี
ตรวจรกรกว่าครบหรือไม่
ตรวจดูช่องทางคลอดว่ามีการฉีกขาดหรือไม่และเย็บซ่อมแซมโดยเร็ว
การดูแลในระยะหลังคลอด
ในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอดอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นระยะที่เกิดการตกเลือดหลังคลอดได้มากที่สุดโดยตรวจคลำมดลูกว่ามีการหดรัดตัวหรือไม่ประเมินปริมาณเลือดที่ออกจากช่องคลอดอาการทั่วไปและวัดสัญญาณชีพทุก 15-30 นาที
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างโดยกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะเพื่อไม่ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูกและทำให้ตกเลือดหลังคลอดได้หากปัสสาวะเองไม่ได้อาจพิจารณาสวนปัสสาวะทิ้ง
ในรายที่ได้รับออกซิโทซินอยู่แล้วภายหลังคลอดควรให้ต่อไปอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
สอนให้ผู้คลอดกลึงมดลูกเพื่อให้มดลูกหดรัดตัวจนแข็งจึงหยุดกลึง
ตรวจดูการบวมเลือดของอวัยวะสืบพันธุ์หลังคลอด
เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ.(2554).การคลอดปกติทางช่องคลอด (Normal vaginal delivery).สืบค้นเมื่อวันที่9 พฤษภาคม 2563 จากเว็บไซต์:
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=475:normal-labor&catid=38&Itemid=480
ปาริฉัตร อารยะจารุ.(2555).บทที่8 การประเมินภาวะสุขภาพการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพของทารกแรกเกิดปกติ.สืบค้นเมื่อวันที่9 พฤษภาคม 2563 จากเว็บไซต์:
https://docs.google.com/presentation/d/1rgqCC-yXxJlcA1XaCSa2f1NL_KanByuAN5xtPB57HaM/htmlpresent