Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย, 61105706 นางสาวปุณิกา เสียงหอม - Coggle…
การความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา1536 พิจารณาการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้2กรณี
กรณีที่1 บุตรจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายสามีหรือไม่ยึดโยงอยู่กับทะเบียนสมรส
กรณีที่2 กฎหมายได้ขยายเวลาสันนิษฐานความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของเด็กออกไปจนถึง310วันนับแต่การสมรสสิ้นสุดลง
มาตรา1536 เป็นเพียงบทสันนิษฐาน ไม่ใช่บทบัญญัติเด็ดขาดว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามี ชายก็มีสิทธิฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรได้ตามมาตรา1539
เด็กก็สามารถฟ้องไม่รับบิดาเป็นบิดาได้เช่นกัน
บุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีตามทะเบียนสมรส
ไม่ว่าการจดทะเบียนสมรสนั้นจะมีปัญหาหรือไม่ เช่น การสมรสเป็นโมฆะ โมฆียะ มีการฝ่าฝืนข้อห้ามการสมรส หรือแม้ว่าเด็กจะคลอดหลังจากสามีภริยาจดทะเบียนสมรสกันเพียงวันเดียว
เด็กที่เกิดจากการสมที่เป็นโมฆะ การสมรสที่เป็นโมฆะมี4เหตุ
1.ชายหรือหญิงเป็นคนวิกลจริต หรือเป็นคนไร้ความสามารถตามคำสั่งศาล ตามมาตรา1449
2.สมรสซ้อน ตามมาตรา1452
3.ชายและหญิงเป็นญาติสนิทกันตามมาตรา1450
4.การสมรสโดยปราศจากความยินยอม ตามมาตรา1458
เด็กนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี
หากมีคำพิพากษาศาลว่าการสมรสเป็นโมฆะ
หากหญิงคลอดบุตรภายใน310วันนับแต่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการสมรสเป็นโมฆะ เด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เคยเป็นสามี
ไม่ว่าการสมรสที่เป็นโมฆะคู่สมรสจะสุจริตหรือไม่ เด็กที่เกิดมาย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี
บุตรที่เกิดจากการสมรสที่เป็นโมฆียะ
การสมรสที่เป็นโมฆียะมี 5 เหตุ ตามมาตรา 1503
บุตรเกิดระหว่างสมรสซึ่งศาลพิพากษาให้เพิกถอนภายหลังนั้นให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามาตรา1560
หากบิดาต้องการฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตร กฎหมายก็ไม่อนุญาตให้บิดาตามมาตรา 1560 ฟ้องไม่รับเด็กเป็น
บุตรได้
ผู้เยาว์อายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์ทำการสมรส (มาตรา 1448)
การสมรสเพราะเหตุสำคัญผิดในตัวคู่สมรส (มาตรา 1505)
การสมรสเพราะถูกกลฉ้อฉลถึงขนาด (มาตรา 1506)
การสมรสเพราะถูกข่มขู่ถึงขนาด (มาตรา 1507)
การสมรสโดยปราศจากความยินยอมของบุคคลตามมาตรา 1454 (มาตรา 1509)
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร
หากชายที่กฎหมานสันนิษฐานว่าเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของเด็ก เห็นว่าข้อสันนิษฐานของกฎหมายไม่ถูกต้อง
นำพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงอื่น ๆ มาพิสูจน์ว่าเด็กนั้นไม่ใช่บุตรได้ เพื่อปลดเปลื้องภาระความเป็นบิดาจากชายที่ไม่ใช่บิดาที่แท้จริง และเพื่อให้บิดาที่แท้จริงเข้ามาทำหน้าที่
กฎหมายกำหนดข้อพิสูจน์ไว้2 ประการ
พิสูจน์ระยะเวลาตั้งครรภ์
พิสูจน์ว่าตนไม่ได้อยู่กับมารดาในระยะเวลาตั้งครรภ์
พิสูจน์ว่าตนไม่สามารถเป็นบิดาเด็กได้เพราะเหตุอย่างอื่น
ชายสามารถพิสูจน์ได้หลายวิธี
ชายที่มีสิทธิฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตร
ชายที่ต้องตามข้อสันนิษฐานในมาตรา 1536
ชายที่ต้องตามข้อสันนิษฐานในมาตรา 1537
ชายที่ต้องตามข้อสันนิษฐานในมาตรา 1538
ข้อยกเว้นห้ามมิให้ชายฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร
มาตรา1541
ชายที่ถูกกฎหมายปิดปากห้ามมิให้ฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตร คือ
ชายที่ไปแจ้งเกิดว่าเด็กเป็นบุตรของตนหรือจัด
หรือยอมให้มีการแจ้งเกิด
กำหนดระยะเวลาในการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร
กฎหมายให้ฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตรภายใน 1 ปีนับแต่รู้ถึงการเกิดของเด็ก หรือภายใน 10 นับแต่เด็กเกิด
กรณีชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีตายก่อนฟ้องไม่รับเด็ก
เป็นบุตรตามมาตรามาตรา 1544 แบ่งเป็น 2 กรณี
กรณีที่หนึ่งกรณีที่เด็กเกิดก่อนชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีจะตายและ คดีฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตรยังไม่ขาดอายุความ และกรณีที่สอง กรณีที่เด็กเกิดภายหลังชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีตาย
กรณีที่เด็กเกิดภายหลังชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีตาย
ผู้มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็กหรือผู้จะเสียสิทธิรับมรดกเพราะการเกิดของเด็ก ต้องฟ้องคดีภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่รู้ถึงการเกิดของเด็ก แต่ไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่เด็กเกิด
กรณีที่เด็กเกิดก่อนชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีจะตายและคดีฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตรยังไม่ขาดอายุความ
ผู้มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็กหรือผู้จะเสียสิทธิรับมรดกเพราะการเกิดของเด็ก ต้องฟ้องคดีภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่รู้ถึงการตายของชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามี
แต่ไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่เด็กเกิด
กรณีหญิงหม้ายสมรสใหม่ก่อน 310 วันและศาลมีคำพิพากษาว่าเด็กไม่ใช่บุตรของสามีใหม่ หรือหญิงทำการสมรสซ้อน และศาลพิพากษาว่าเด็กไม่ใช่บุตรของชายที่จดทะเบียนสมรสซ้อน ชายผู้เป็นสามีเดิมต้องฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตรภายใน1 ปี นับแต่รู้ว่าศาลมีค าพิพากษาถึงที่สุด โดยไม่คำนึงว่าเด็กจะเกิดมาเกิน 10 ปีแล้วหรือไม่
กรณีผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกเข้ามาเป็นคู่ความในคดี แทนชายผู้ฟ้องคดี (การรับมรดกความ)
ผู้จะเสียสิทธิรับมรดกเพราะการเกิดของเด็ก
ทายาทโดยธรรมลำดับหลัง
พี่น้องร่วมบิดามารดา
พี่น้องร่วมเฉพาะบิดาหรือ
มารดา
ปู่ยาตายาย
ลุงป้าน้าอา
ผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกับเด็ก
ทายาทโดยธรรมลำดับแรกของผู้ตาย
ผู้สืบสันดาน
บิดามารดา
ภริยาของผู้ตาย
การปฏิเสธข้อสันนิษฐานความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย เด็กฟ้องปฏิเสธความเป็นบิดา การฟ้องปฎิเสธความเป็นบิดา เด็กไม่สามารถเป็นโจทก์ด้วยตนเองได้เด็กต้องให้พนักงานอัยการฟ้องแทน
อายุความฟ้องปฏิเสธความเป็นบิดาอายุความตามมาตรา 1545 กรณีที่1
หากเด็กรู้ข้อเท็จจริงก่อนบรรลุนิติภาวะว่าตนไม่ใช่บุตรของบิดาตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
ห้ามอัยการฟ้องเมื่อครบ 1 ปีนับแต่เด็กบรรลุนิติภาวะ
อายุความฟ้องปฏิเสธความเป็นบิดาอายุความตามมาตรา 1545 กรณีที่2
หากเด็กรู้ข้อเท็จจริงหลังบรรลุนิติภาวะว่าตนไม่ใช่บุตรของบิดาตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
ห้ามอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่เด็กรู้ข้อเท็จจริงนั้น
อายุความฟ้องปฏิเสธความเป็นบิดาอายุความตามมาตรา 1545 กรณีที่3
ไม่ว่ากรณีใด ๆ ห้ามฟ้องคดีเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เด็กบรรลุนิติภาวะ
61105706 นางสาวปุณิกา เสียงหอม