Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การทำคลอดและการช่วยเหลือการคลอดปกติ - Coggle Diagram
การทำคลอดและการช่วยเหลือการคลอดปกติ
การช่วยเหลือการคลอดปกติ
1.การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ใช้คีมคีบสำลีชุบน้ำยาฆ่าเชื้อ เช็ดทำความสะอาด มีวิธีการเช่นเดียวกับการฟอกทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
2.การปูผ้า
ผืนที่ 1 ปูรองก้น
ผืนที่ 2 ปูใกล้ตัว
ผืนที่ 3 ปูขาไกลตัว
ผืนที่ 4 ปูหน้าท้อง
3.การเชียร์เบ่ง
เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวให้สูดลมหายใจเข้าทางจมูกและเป่าลมหายใจออกทางปากหนึ่งครั้งเพื่อหายใจล้างปอด จากนั้นสูดลมหายใจเข้าเต็มที่แล้วกลั้นลมหายใจไว้ยกศีรษะจนคางจรดหน้าอก (C-shaped, Up-right position) ออกแรงเบ่งลงก้นเหมือนการเบ่งถ่ายอุจจาระ ประมาณ 6 – 8 วินาทีไม่ควรเกิน 10 วินาทีต่อครั้ง
4.การตัดฝีเย็บ
การทำคลอด
การทำคลอดศีรษะ
ใช้นิ้วมือซ้าย (มือข้างที่ไม่ถนัด) ของผู้ทำคลอดช่วยกดศีรษะทารกบริเวณ vertex ไว้ ไม่ให้ศีรษะทารกเงยเร็วเกินไป ส่วนอุ้งมือขวา (มือข้างที่ถนัด) จับผ้า safe perineum วางทาบลงบนฝีเย็บ ให้นิ้วหัวแม่มือและอีก 4 นิ้ว อยู่คนละด้าน วางผ้าsafe perineum ให้ต่ำกว่าขอบฝีเย็บ1-2 ซม. จนกระทั่งส่วนที่กว้างที่สุดของศีรษะทารกคลอดออกมาหรือศีรษะทารกมี Crowning
ให้หยุดเบ่งและหายใจทางปากลึกๆ ยาวๆ เพื่อรอกลไกการคลอดและป้องกันการฉีกขาดของ ฝีเย็บ
ทิ้งผ้า safe perineum ลงถังขยะ
ใช้ลูกสูบยางแดงดูดมูกออกจากปาก ลำคอ และจมูกของทารกจนหมดและใช้สำลีชุบ N.S.S. บีบพอหมาด เช็ดตาทารกโดยเช็ดจากหัวตาไปหางตา
ตรวจสอบสายสะดือพันคอ
การทำคลอดไหล่และลำตัว
2.1 การทำคลอดไหล่หน้า
ห้ามเอามือดึงรั้งใต้คาง เพราะอาจทำอันตรายต่อประสาทบริเวณนั้น
การดึงศีรษะลงมามากๆ อาจทำให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ sternomastoid ทำให้เกิดภาวะคอเอียง (congenital torticollis)
2.2 การทำคลอดไหล่หลัง
ห้ามสอดนิ้วเขาไปดึงรักแร้หรือใต้คางทารก เพราะจะทำอันตรายต่อกลุ่มประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณแขน คือ brachial plexus ทำให้ทารกที่เกิดออกมามีภาวะ Erb – Duchenne paralysis
(อ่อนแรงแขนส่วนบน จะยกแขนไม่ได้ แต่กำมือได้ )
การทำคลอดลำตัว
ค่อยประคองตัวทารกออกมา (ห้ามจับรักแร้ แขน หรือท้องเพื่อดึงตัวทารก)
ทารกคลอดทั้งตัว การพยาบาล คือ Suction เช็ดตัว กระตุ้นร้อง
รอเวลา 1-2 นาที แล้วค่อยตัดสายสะดือ ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปหาทารกได้ประมาณ 80 มล.(มาตุเหล็กประมาณ 50 กรัม) ลดซีดของทารกได้
ทารกปกติหลังตัดสายสะดือ ให้มารดาอุ้ม สัมผัสทารก Skin to skin ส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาทารก
การตัดสายสะดือ
ตัดสายสะดือควรห่างจาก clamp ตัวที่ 1 ประมาณ 1 ซม. ขณะตัดต้องไม่ดึงรั้งสายสะดือ ทั้งด้านทารกและมารดา เพราะจะทำให้เกิดการฉีกขาดตรงรอยต่อระหว่างสายสะดือกับผิวหนังหน้าท้องทารก