Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Coronary artery disease), นางสาวอรทัย สิงห์โอ เลขที่ 75 รหัส610701078 -…
พยาธิสภาพ
เป็นการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่าง ๆ ภายในหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบและอุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียน เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตันจะทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานได้อย่างปกติเช่นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ความหมาย
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD/Coronary Heart Disease: CHD) เกิดจากการเกาะของคราบไขมัน (Plaque) ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ
สาเหตุ
**1.คอเลสเตอรอลในกระแสเลือดที่มากเกินไป คือ LDL หรือ “ไขมันร้าย” ไขมันร้าย LDL คือตัวการปิดกั้นหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจ
-
-
4.ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังส่งผลให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทำให้เซลล์เยื่อบุภายในหลอดเลือดทำงานผิดปกติ
-
อาการ
1.มีอาการแน่นหน้าอก (Angina Pectoris)แน่นแบบตื้อๆ เหมือนมีของหนักทับ รัด จุกเสียดแน่น อึดอัด แสบบริเวณกลางอก-หน้าอกซ้าย ลิ้นปี่ มีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ซ้าย แขนซ้ายด้านใน ร้าวไปที่กราม 2 ข้าง
2.อาการร่วมอื่นๆ เช่น เหนื่อย, คลื่นไส้, อาเจียน, เหงื่อออก, หวิวๆ จะเป็นลมผู้ป่วยประมาณ
อาการที่แสดงผู้ป่วยจะกระวนกระวาย อาการกำเริบบริเวณกลางอก บางคนมาด้วยเหงื่อออก ตัวเย็น
บางคนชีพจรเต้นช้า-เร็วผิดปกติ บางคนมาด้วยอาการ Cardiogenic shock
ปัจจัยที่มากระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก เช่น ออกกำลังกายหรือทำงานหนัก ยกของหนัก เครียด และอาการจะทุเลาดีขึ้นก็ต่อเมือพักหรืออมยาขยายหลอดเลือดใต้ลิ้น
การตรวจวินิจฉัย
1.การตรวจร่างกายและการซักประวัติ เช่น ประวัติในครอบครัว ประวัติการสูบบุหรี่ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย โรคประจำตัว เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่
-
การรักษา
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพรับประทานอาการที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควรผ่อนคลายความเครียดและควบคุมน้ำหนัก
- ให้ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด แอสไพริน (ถ้าไม่มีข้อห้าม) หากควบคุมอาการไม่ได้ดี ควรฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน
- ผ่าตัดหัวใจ (บายพาส) หากเกิดหลอดเลือดอุดตันภายใน 6 ชม. แพทย์อาจพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนทันที
การพยาบาล
- ประเมินสัญญาณชีพทุก 15 นาที จาํ นวน 2 คร้ัง ทุก 30 นาทีจำนวน 2 คร้ัง และทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่
- ประเมินและบันทึกอาการเจ็บหน้าอก หากผู้ป่วยมีอาการการเจ็บแน่นหน้าอกให้รายงานแพทย์ทันทีและตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือให้ยาตามแผนการรักษา
-
4.แนะนำผู้ป่วยห้ามงอข้อมือข้างที่ทำแต่สามารถขยับปลายนิ้วมือได้ เพื่ออกระตุ้นการ ไหลเวียนของเลือดไปยังส่วนปลายมือได้ หากมีอาการชา เจ็บที่ปลายนิ้วมือแจ้งแพทย์/ พยาบาลได้ทันที
- ประเมินภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดภายหลังทำหัตถการเช่น ภาวะเลือดออก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเนื่องจากการกำซาบของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ
2.ผู้ป่วยเสียงต่อปริมาณเลือดออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลง (low cardiac output) เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง
3.กล้ามเนื้อหัวใจมีการกำซาบเลือดไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากปริมาณเลือดในหลอดเลือดแดงโคโรนารีลดลง
4.ผู้ป่วยมีการกำซาบเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายลดลงเนื่องจากปริมาณเลือดออกจากหัวใจในหนึ่งนาที่ลดลง
5.ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่ายเนื่องจากได้รับยาละลายลิ่มเลือด
6.ผู้ป่วยมีความทนต่อกิจกรรมลดลงเนื่องจากปริมาณเลือดออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลง
-