Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) :check:, จัดทำโดย …
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) :check:
:red_flag: ความหมายความเชื่อด้านสุขภาพ
ความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งสามารถเร้าให้บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบ ในรูปแบบของการ กระทำเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ
ความเชื่อสิ่งนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงเสมอไป หรือความเชื่อนั้นอาจเป็นเพียงความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจ ความคาดหวังหรือสมมุติฐาน ซึ่งอาจมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้
:pencil2:ความเป็นมาของแนวคิดทฤษฎี
พัฒนาจากทฤษฎีด้านจิตวิทยาสังคม แนวคิดทฤษฎีพลังงานสนามของนักจิตวิทยา Kurt Lewin กล่าวว่า “มนุษย์อยู่ในห้วงจักรวาล” (Life Space)ประกอบด้วย 3บริเวณ
• บริเวณที่เป็นบวก
• บริเวณที่เป็นกลาง
• บริเวณที่เป็นลบ
ฮอคบอม (Hochbaum, 1958)เป็นผู้พัฒนาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพครั้งแรก ➢ ต่อมา โรเซนสต๊อก(Rosenstock, 1974)เป็นบุคคลที่นำแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมาเผยแพร่ จึงเป็นผู้ถูกอ้างอิงในฐานะเป็นผู้ริเริ่ม
❖ ต่อมาเบคเกอร์ (Becker, 1974) เป็นผู้ปรับปรุงแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เพื่อนำมาใช้อธิบายและทำนายพฤติกรรมการป้องกันและพฤติกรรมอื่นๆ ❖ เบคเกอร์ และคนอื่นๆ (Becker; et al. 1975: 12) ได้ทำการเพิ่มส่วนของปัจจัยร่วม (Modifying factors) และสิ่งชักจูงที่จะนำไปสู่การปฏิบัติตน (Cues to action)
:<3:องค์ประกอบ
การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค (Perceived Susceptibility)
การรับรู้ความรุนแรงของโรค (Perceived Severity)
การรับรู้ถึงประโยชน์ของการรักษาและป้องกันโรค (Perceived Benefits)
4 การรับรู้ต่ออุปสรรค (Perceived Barriers)
5 สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ (Cues to Action)/
แรงจูงใจด้านสุขภาพ (Health Motivation)
:smiley: สิ่งชักนำภายในหรือสิ่งกระตุ้นภายใน (Internal Cues)ได้แก่ การรับรู้สภาวะของร่างกายตนเอง ส่วนสิ่งชักนำภายนอกหรือสิ่งกระตุ้น ภายนอก (External Cues) ได้แก่ การให้ข่าวสารผ่านทางสื่อมวลชนหรือการเตือนจากบุคคลที่เป็นที่รักหรือนับถือ
ปัจจัยร่วม (Modifying Factors)
ปัจจัยร่วมเป็นปัจจัยที่ไม่มีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมสุขภาพ แต่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะส่งผลไป ถึงการรับรู้และการปฏิบัติ ได้แก่
-ปัจจัย ด้านประชากร เช่น อายุ ระดับการศึกษา เป็นต้น -ปัจจัยทางด้านสังคมจิตวิทยา เช่น บุคลิกภาพ สถานภาพทางสังคม กลุ่มเพื่อนกลุ่มอ้างอิง มีความเกี่ยวข้องกับบรรทัดฐานทางสังคม
-ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ความรู้เรื่องโรค ประสบการณ์เกี่ยวกับโรค
:star:แนวทางการประยุกต์ในการปฏิบัติ
1.ศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพของคนในชุมชนและค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยพิจารณาจากปัญหาสุขภาพ ขอ้มูล พฤติกรรมสุขภาพที่มีอยู่แล้ว
2.เมื่อได้พฤติกรรมสุขภาพที่ต้องการปรับเปลี่ยนแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการสำรวจ หรือตรวจสอบความเชื่อด้านสุขภาพ ที่มีอยู่เดิมของบุคคลก่อน
หลังจากนั้น จึงจัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพที่มีเนื้อหาและกระบวนการมุ่งส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยง
วางแผนจัดสิ่งชักนำที่เหมาะสมที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลมีการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพได้ดีขึ้น
จัดทำโดย นางสาวจรรยาพร ศรีสว่าง รหัสนักศึกษา 61125310206
Section 02