Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความสัมพันะ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายทางไปโอม - Coggle…
ความสัมพันะ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายทางไปโอม
กิ่วแม่ปาน เขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
ลักษณะภูมิอากาศ
มีความหลากหลายด้านระดับความสูงทำให้ลักษณะอากาศในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก
อิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดเอาความชุ่มชื้นและเมฆฝนเข้ามาทำให้ฝนตกและลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดมาจากจีนจะนำเอาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งเข้ามาทำให้เกิดฤดูในพื้นที่สูงสภาพอากาศโดยทั่วไปจะมีลักษณะค่อนข้างเย็นและชื้นอุณหภมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 20องศาเซลเซียสกาลต่างๆ
ในพื้นที่สูงสภาพอากาศโดยทั่วไปจะมีลักษณะค่อนข้างเย็นและชื้นอุณหภมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 20องศาเซลเซียส
ลักษณะภูมิประเทศ
ประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อนเป็นส่วนหนึ่งของแนวเขตเทือกเขาถนนธงชัยที่ทอดตัวตามแนวเหนือ-ใต้ทอดตัวมาจากเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาลมีระดับความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 400-2, 565 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำปิงให้กำเนิดแม่น้ำลำธารหลายสาย
โครงสร้างทางธรณีประกอบด้วยหินที่มีอายุตั้งแต่ยุคแคมเบรียนขึ้นไปและหินส่วนใหญ่จะเป็นหินในส์และหินแกรนิตส่วนหินชนิดอื่นๆที่พบจะเป็นหินยุคออร์โดวิเชียนซึ่งได้แก่หินปูนจนถึงยุคเทอร์เซียร์ได้แก่หินกรวดมน
พืชพรรณและสัตว์ป่า
เป็นแหล่งของนกป่าที่สำคัญของประเทศไทยและเป็นแหล่งของสัตว์ป่าที่หายากและมีอยู่เฉพาะถิ่นอยู่หลายชนิดที่สำคัญได้แก่หนูหญ้าดอยกระท่างเต่าปูลูนกศิวะหางสีน้ำตาลนกปีกสั้นสีน้ำเงิน
ส่วนมากเป็นสัตว์ขนาดเล็กเช่นกระรอกกระแตธรรมดากระเล็นขนปลายหูสั้นอันเล็กเม่นหางพวง
ป่าดิบแล้ง
พบกระจายเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยตามบริเวณหุบเขาริมลำห้วยและสบห้วยต่างๆพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ยางปาย ยางแดง ยางนาตะเคียนทอง ก่อเดือย เป็นต้น
ป่าดิบเขาตอนล่าง
บริเวณตอนกลางของอุทยานแห่งชาติส่วนใหญ่จะถูกทำลายจากชาวเขาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทำให้มีป่าที่มือยู่เป็นป่าที่กำลังฟื้นสภาพหรือป่ารุ่นใหม่พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ สนสามใบ สารภีดอยเหมือดคนตัวผู้ ก่อแป้นก่อใบเลื่อม เป็นต้น
ป่าเต็งรัง
พบกระจายทั่วๆไปในพื้นที่รอบๆอุทยานแห่งชาติตามเนินเขาหรือสันเขาที่แห้งแล้งพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สัก ตะแบก ประดู่แดง มะเกิ้มสมอไทย กาสามปีก สลีนก กระบก เป็นต้น
ป่าดิบเขาตอนบน
แบ่งออกได้เป็นป่าดงดิบ-ป่าก่อขึ้นป่าดงดิบเขตอบอุ่นและป่าพรเขตอบอุ่นสภาพโดยทั่วไปเป็นป่าที่มีต้นไม้สูงใหญ่-ลำต้นของไม้ในป่าจะมีมอสกล้วยไม้เฟินกุหลาบพันปีสำเภาแดงขึ้นปกคลุมพันธุ์ไม้ในป่าดิบเขาหรือป่าก่อขึ้นได้แก่ก่อดานก่อแอบจำปีหลวงแกงนางพญาเสือโคร่งเป็นต้น
ไบโอมบนบก
ในโอมป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น (temperate deciduous forest)
พบทั่วไปบริเวณละติจูดกลาง มีอากาศค่อนข้างเย็น ฤดูร้อนอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวไม่หนาวมาก มีฝน 60-250 เซนติเมตรต่อปี ซึ่งมีความชื้นเพียงพอจะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีพืชมีทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก พืชส่วนใหญ่เป็นไม้ใบกว้าง ทิ้งใบเมื่อฤดูแล้งและฤดูหนาว ผลิใบอีกครั้งเมื่อฝนตก พืชจะโตช้าและหยุดเป็นช่วง ๆ
ไบโอมทุนตรา (tundra)
อากาศหนาวเย็น มีลมพัดเเรงตลอดเวลา และมีหิมะคลุมตลอดทั้งปี แม้แต่ฤดูร้อน 2-3 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่ตกฝนรูปหิมะ มีหนองน้ำเป็นแหล่ง ๆ และมักพบที่ราบ ส่วนใหญ่ก็เป็นหนองน้ำที่เกิดจากน้ำแข็งที่ละลายโดยที่พื้นล่างยังคงเป็นน้ำแข็งอยู่ ไม่มีฮิวมัสในดิน เนื่องจากการระเหยต่ำทำให้มีการสลายตัวของจุลินทรีย์เกิดขึ้นอย่าง ๆ ส่งผลให้พืชขาดเเคลนอาหาร
ไบโอมป่าสน (coniferous forest)
เป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบ อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ดินเป็นกรดสูง โดยปกติอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่าจุดเยือกแข็งนาน 6 เดือน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25-75 เซนติเมตรต่อปี ส่วนใหญ่ตกช่วงฤดูร้อนพืชเด่นที่พบ ได้แก่ พืชจำพวกสน เช่น ไพน์ (pine) เฟอ (fir) สพรูซ (spruce) และเฮมลอค (hemlok) เป็นต้น
ไบโอมทะเลทราย (desert)
พบได้ทั่วไปในโลก เป็นบริเวณแห้งแล้ง ฝนน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี อัตราการระเหยของน้ำสูงกว่าที่ได้รับ 5-7 เท่า บางแห่งอุณหภูมิสูงถึง 60 องศาเซลเซียส แต่บางวันของบางแห่งมีอากาศหนาวเย็น และในฤดูหนาวอุณหภูมิอาจต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง พืชเป็นไม้ทนแล้ง อวบน้ำ ลดการเสียน้ำโดยเปลี่ยนจากใบเป็นหนาม เช่นกระบองเพชร หรือพืชบางชนิดมีการหยั่งรากลึกลงไปในดินเพื่อดูดน้ำ
ไบโอมป่าดิบชื้น (tropical rain forest)
เป็นป่าไม้สูง อากาศร้อนและชื้น มีฝนตกชุกตลอดปี น้ำฝนเฉลี่ย 200-400 เซนติเมตรต่อปี เป็นป่าไม่ผลัดใบเนื่องจากปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมากทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ พื้นดินมืดและชื้น มีอินทรียสารสมบูรณ์มาก ป่าตั้งอยู่ในเขตร้อน จึงได้รับแสงเยอะทำให้ต้นไม้โต
ไบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น(temperate grassland)
รู้จักกันในชื่อของ ทุ่งหญ้าแพรี่ (prairie) ในตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือและทุ่งหญ้าสเตปส์(steppes) ของประเทศรัสเซีย เป็นต้นเป็นเขตที่มีทุ่งหญ้าปกคลุม มีฝนตกในฤดูร้อนและเเห้งแล้งในฤดูหนาว น้ำฝนเฉลี่ย 25-70 เซนติเมตรต่อปี ดินมีความสมบูรณ์สูง
ไบโอมสะวันนา (Savanna)
เป็นทุ่งหญ้าที่พบได้ในทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปออสเตรเลีย และพบบ้างทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียเป็นทุ่งหญ้าเขตร้อน เป็นป่ากึ่งผลัดใบ มีต้นไม้ขึ้นห่างกันเป็ยระยะ ๆ ปริมาณน้ำฝน 100-150 เซนติเมตรต่อปี ดินแห้งผาก แข็ง และฝุ่นเยอะ มีไฟป่าเกิดขึ้นในฤดูร้อน หรือไม่ใช่ฤดูร้อนก็มีเกิดขึ้นบ่อย
ไบโอมน้ำ
ไบโอมแหล่งน้ำกร่อย
แหล่งน้ำกร่อยเป็นบริเวณที่มีน้ำจืดมาบรรจบกับน้ำเค็ม มักพบตามบริเวณปากแม่น้ำ ปากอ่าวและช่องแคบ เป็นต้น นอกจากนี้แหล่งน้ำกร่อยยังเป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารสูง ดังนั้นจึงพบสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดในบริเวณนี้โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่มีค่าทางเศรษฐกิจที่เป็นอาหารของมนุษย์ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลาต่างๆ
ไบโอมแหล่งน้ำเค็ม
หาดทราย คือ ระบบนิเวศชายฝั่งตั้งแต่ระดับน้ำลงต่ำสุดจนถึงระดับน้ำขึ้นที่ละอองน้ำเค็มสาดซัดไปถึง ประกอบด้วยพื้นผิวที่มีเม็ดทรายขนาดต่างๆ กัน และในพื้นที่แต่ละแห่งจะมีความลาดชันไม่เหมือนกัน กระแสน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความชื้นและอุณหภูมิของหาดทรายแตกต่างกัน และมีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบริเวณหาดทราย
หาดหิน เป็นบริเวณที่ประกอบด้วยโขดหิน ไม่ราบเรียบ มีซอกและแอ่งน้ำที่เป็นกำบังคลื่นลมและหลบซ่อนศัตรูของสิ่งมีชีวิต สภาพของอุณหภูมิ แสงและความชื้นมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดน้ำขึ้นน้ำลง
แนวปะการัง (coral reefs) เป็นระบบนิเวศทางธรรมชาติใต้น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด อยู่ใกล้บริเวณชายฝั่งทะเลและใช้เป็นดัชนีในการบ่งบอกถึงสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเลบริเวณนั้นได้ เนื่องจากปะการังจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในบริเวณที่มีน้ำสะอาดมีออกซิเจนที่เพียงพอ
ไบโอมแหล่งน้ำจืด
บริเวณผิวน้ำ (limner tic zone) เป็นบริเวณที่อยู่ถัดออกจากชายฝั่ง มีบริเวณที่มีพื้นที่ผิวของน้ำสัมผัสกับอากาศและได้รับแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมากระจายอย่างทั่วถึงที่พื้นผิวน้ำ
บริเวณน้ำชั้นล่าง (profundal zone) เป็นบริเวณที่อยู่ชั้นน้ำต่ำกว่าระดับผิวน้ำลงไปจนถึง พื้นท้องน้ำ (benthic zone) และเป็นบริเวณที่แสงอาทิตย์ส่องลงไปไม่ถึง
บริเวณชายฝั่ง (littoral zone) เป็นบริเวณที่อยู่ติดกับพื้นดินและห่างจากฝั่งไม่มากนัก บริเวณนี้จะพบว่าเป็นแหล่งน้ำตื้นๆ มักจะมีพืชน้ำจำพวกรากหยั่งลึกในดิน และพืชที่ลอยน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก