Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พินัยกรรมชีวิต (Living will) - Coggle Diagram
พินัยกรรมชีวิต (Living will)
คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการทำหนังสือแสดงเจตนา
การทำหนังสือแสดงเจตนาควรมีพยานรู้เห็นในขณะทำหนังสือแสดงเจตนาอย่างน้อย 2 คน เช่น สมาชิกในครอบครัว ญาติ เพื่อนหรือคนใกล้ชิด ก็สามารถเป็นพยานได้ เพื่อยืนยันความประสงค์ของผู้ทำหนังสือ รวมถึงเนื้อหาของหนังสือดังกล่าว
เนื้อหาของหนังสือแสดงเจตนาจะระบุวิธีการรักษาผู้ป่วยที่ต้องการหรือไม่ต้อง การไว้ เช่น เมื่อเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายแล้ว ไม่ต้องการเจาะคอเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจ หรือไม่ต้องการถูกปั๊มหัวใจ แต่ต้องการเสียชีวิตอย่างสงบ หรือต้องการเสียชีวิตที่บ้านท่ามกลางคนในครอบครัว เป็นต้น
เนื้อหาในหนังสือจะไม่ระบุเรื่องทรัพย์สิน การทำพินัยกรรมหรือการจัดการเรื่องมรดกของผู้ทำหนังสือ เพราะควรจัดทำเป็นเอกสารต่างหากออกไป โดยขอคำแนะนำจากผู้มีความรู้ทางกฎหมาย
ทุกคนสามารถทำหนังสือแสดงเจตนาในขณะที่ยังมีสุขภาพดีอยู่ก็ได้ แต่ผู้ที่เหมาะสมคือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตตามการวินิจฉัย ของแพทย์ การกรอกเนื้อหาในหนังสือที่รายละเอียดบางประการ ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาลหรือผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้
ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาควรจัดเก็บหนังสือไว้เอง หรือมอบให้บุคคลที่ใกล้ชิดเก็บรักษาไว้ และมอบสำเนาหนังสืออย่างละ 1 ฉบับให้แก่ญาติ คนในครอบครัว พยาน หรือแพทย์ที่เคยทำการรักษาพยาบาลตนเอง เพื่อให้ทราบความประสงค์ของผู้ทำหนังสือ
กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ แต่ควรเป็นผู้ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เพราะมีวุฒิภาวะในการตัดสินใจด้วยตนเองได้แล้ว
กรณีเด็กหรือผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะคือ มีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องการทำหนังสือแสดงเจตนา จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง (บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่ศาลแต่งตั้ง)
เมื่อผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล ให้ผู้ป่วยหรือญาตินำหนังสือแสดงเจตนาหรือสำเนาหนังสือมาแสดงต่อแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่ไม่ได้นำหนังสือแสดงเจตนาหรือสำเนามาด้วย ญาติหรือผู้ป่วยควรแจ้งยืนยันต่อแพทย์ พยาบาลว่า ผู้ป่วยได้ทำหนังสือแสดงเจตนาตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 และให้นำหนังสือแสดงเจตนามาแสดงในภายหลัง
ผู้ทำหนังสือจะต้องเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ และมีความเข้าใจในเนื้อหาของหนังสือแสดงเจตนา โดยควรขอคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาล หรือผู้ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ในเรื่องนี้ในการกรอกข้อมูล รายละเอียดต่างๆ โดยผู้ทำหนังสือสามารถเขียนหรือพิมพ์หนังสือด้วยตนเอง หรือใช้แบบฟอร์มของโรงพยาบาล (หมายเหตุ สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล สามารถจัดทำแบบฟอร์มหนังสือแสดงเจตนาไว้เองได้ : ดูตัวอย่างแบบฟอร์ม)
ในกรณีที่ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาหมดสติหรือไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ บุคคลที่ใกล้ชิดที่ผู้ทำหนังสือฯ ไว้วางใจให้ตัดสินใจแทน ควรปรึกษาหารือกับแพทย์ถึงแนวทางการรักษาผู้ป่วย อย่างไรก็ดี จะต้องเป็นการตัดสินใจที่สอดคล้องกับความประสงค์ของผู้ป่วยที่ทำหนังสือ
ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาสามารถยกเลิกหรือแก้ไขปรับปรุงหนังสือได้ทุกเมื่อ หรือถ้าทำหนังสือไว้นานหลายปีแล้ว ก็ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาลในการปรับปรุง และควรแจ้งให้พยานหรือบุคคลใกล้ชิด ญาติหรือผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบในเรื่องนี้โดยไม่ชักช้า
ประเด็นสำคัญที่ใช้พิจารณาการเขียนพินัยกรรมชีวิต
3.คนที่ใกล้ชิดเรา คนที่เรารัก ครอบครัว ลูก พี่น้อง ญาติ มิตรสหาย เราอยากให้เขาเป็นอย่างไร ทำอะไร
1.เราต้องการให้ญาติ และทีมแพทย์ รักษาจัดการร่างกายของเราอย่างไร เช่น หากเราป่วยในภาวะไร้สติจะให้ทำการใดกับเราบ้างหรือเมื่อเราเสียชีวิตแล้ว
2.เราค้องการจัดการทรัพย์สิน เงินทอง ประกันชีวิต หรือไม่บางกรณีอาจระบุถึงภาวะหนี้สินด้วย
4.ประโยชน์ทางสังคม ที่อยากให้คนทำแทนเรา เช่นบริจาคสิ่งของของสะสม หรือของใช้ของเราให้ใครบ้าง (ทั้งนี้ก็ไม่ควรสร้างภาระ หรือรบกวนผู้อื่นมากนัก ตัวอย่างกรณีหนึ่ง อยากทำความดี บริจาคอุปกรณ์การเรียนตามที่ต่างๆ ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายและการจัดการมาก กลับสร้างภาระให้แม่
6.งานศพเราอยากให้จัดอย่างไร บางคนเตรียมรูปแบบงานศพของตน ของชำร่วยว่าจะเอาหนังสือแบบใด เขียนหนังสืองานศพของตัวเอง เป็นต้น
5.การงานที่คั่งค้างของเรา จะให้ใครช่วยดำเนินการต่อ หรือจะให้ทำอย่างไร
Living will
หนังสือแสดงเจตนาตามมาตรา 12พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ คือ หนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเจตนาของตนให้คนอื่นทราบว่าตนต้องการตายอย่างสงบ โดยขอปฏิเสธบริการสาธารณสุขที่ไม่มีประโยชน์เพื่อยืดการตายออกไป หรือขัดขวางการตายอย่างสงบ
แนวคิด Living Will
ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 หมวดที่ 1
สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ในมาตรา 12
“มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
การดําเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กําหนดในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทํานั้นเป็นความผิด และให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”
การเขียน Living Will ไว้จึงเป็นแนวทางให้แพทย์ได้เดินไปในแนวทางของ Passive Euthanasia โดยไม่ใช้เครื่องมือต่างๆ จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ การรักษาพยาบาลที่ควรกระทํา คือ การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ตามอาการที่เกิดขึ้น บรรเทาความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วย และช่วยให้เขาได้จากไปอย่างสงบตามวิถีแห่งธรรมชาติ
ประโยชน์ที่จากการเขียนหนังสือแสดงเจตนา
เลี่ยงความทรมานจากการรักษาที่ไม่มีประโยชน์เพราะได้ปฏิเสธบริการบางอย่างที่ตนไม่
ต้องการ เช่น การปั้มหัวใจการเจาะคอ
ทำให้แพทย์ และญาติทราบ เป็นการช่วยลดความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับญาติในการวางแผนการรักษา เมื่อผู้ป่วยไม่อยู่ในสภาพที่แสดงเจตนาได้
ผู้ทําหนังสือได้บอกเจตนาว่าในวาระสุดท้ายของตนต้องการตายอย่างสงบ ให้ญาติและ
ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ และยังอาจลดความขัดแย้งในหมู่ญาติ
ทำให้ผู้ป่วยและญาติไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการรักษา จนกระทั่งถึงต้องขายทรัพย์สินจนสิ้นเนื้อประดาตัวมาเป็นค่ารักษา
รูปแบบการทำหนังสือแสดงเจตนา
ทําหนังสือแสดงเจตนาอาจเขียนหรือพิมพ์เจตนาของตน หรือจะเขียนหรือพิมพ์ด้วยตัวเอง
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อาจเขียนหรือพิมพ์ด้วยตนเองได้แต่ยังมีสติสัมปชัญญะดีอาจแสดงเจตนาด้วยวาจาต่อแพทย์พยาบาลที่ให้การรักษา ญาติหรือผู้ใกล้ชิด แล้วให้ผู้อื่นช่วยเขียนแทนหรือพิมพ์ข้อความให้