Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พัฒนาการวิชาชีพพยาบาลในต่างประเทศ, วัลลภา บุญรอด.2555.เอกสารประกอบการเรียน…
พัฒนาการวิชาชีพพยาบาลในต่างประเทศ
การบริการพยาบาล
ก่อนคริสต์ศักราช
ไม่มีการกล่าวถึงที่แน่นอน แต่เชื่อว่าการดูแลเกิดจากสัญชาตญาณความเป็นแม่
ระยะเริ่มต้นแห่งอารยธรรม
วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละศาสนา
พระมีบทบาทสำคัญในการรักษายาที่ใช้ได้แก่ พืชสมุนไพร เวทมนต์ คาถา
ที่อินเดีย มีการระบุหน้าที่ และคุณสมบัติของพยาบาลไว้ชัดเจน
มีแต่ด้านบริการ ยังไม่มีการศึกษาหรือด้านบริหารเข้ามาเกี่ยวข้อง
ยุคเริ่มต้นศาสนาคริสเตียน
คำสอนของคริสต์ศาสนา ช่วยให้มีการยอมรับคุณค่าของบุคคลมากขึ้น การพยาบาลอยู่ในกลุ่มชีและสตรีผู้ใจบุญ ซึ่งอุทิศตนเข้ามาช่วยเหลือคนจน
การบริการพยาบาลเป็นลักษณะของพยาบาลในชุมชน โดยกลุ่มชีและสตรีผู้ใจบุญออกเยี่ยมบ้านของผู้ป่วย
การถ่ายทอดความรู้เป็นไปในลักษณะการบอกหรือฝึกหัดปฏิบัติตาม
ยุคกลางระยะต้น(ค.ศ.500-1000)
ภาวะสงครามครูเสดยืดเยื้อยาวนานทำให้
เกิดพยาบาลที่เป็น บุรุษ
การปฏิบัติงานใช้ระเบียบวินัยทหาร ปฏิบัติงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด
หลังสงครามครูเสด เกิดกาฬโรคระบาดขึ้น ผู้คนอพยพหนี เกิดการจ้างคนรับใช้ดูแลผู้ป่วย
การพยาบาลตกอยู่ในมือของคนรับใช้จนถึงปลายยุคกลาง
ยุคเรเนสซองค์ (ค.ศ.1500-1700)
การพยาบาลในยุคนี้ตกอยู่ในมือของผู้ที่ไม่มีความรู้
"ยุคมืด(ค.ศ.1600-1900)"
มีการนำนักโทษหญิง มาช่วยให้การพยาบาล
มิส ฟอเรนท์ ไนติงเกล (Lady of the lamp)
เข้ามาแก้ไขสถานการณ์ต่างๆให้ดีขึ้น
เป็นผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพพยาบาล และเป็นมารดาแห่งวิชาชีพพยาบาลสากล
ทำการปฏิรูปโรงพยาบาลได้สำเร็จภายในระยะเวลา 8 เดือน
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลไม่ได้มีจิตใจเป้นกุศล จึงเกิดการฉ้อโกงขึ้น
การปฏิบัติงานเป็นของพยาบาล แพทย์และนักศึกษาเเพทย์ ส่วนในเรื่องส่วนตัวจะเป็นงานของคนใช้โดยตรง
ยุคแรกในสหรัฐอเมริกา
พระทำหน้าที่เป็นแพทย์ผู้รักษา
คำสวดมนต์อ้อนวอนถือเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้รักษา
สงครามโลกครั้งที่ 2
พยาบาลทหารออกไปทำหน้าที่อย่างกล้าหาญ ส่งผลให้มีการพัฒนาการพยาบาลจนถึงปัจจุบัน
การศึกษาพยาบาล
ก่อนสมัยไนติงเกล
สมัยโบราณ
ไม่มีการกล่าวถึงการศึกษาพยาบาลที่แน่ชัด คาดว่าอาจเกิดจากสัญชาตญาณความเป็นแม่ การสังเกตจากสัตว์ป่า
ผู้ให้การพยาบาลมีแต่แรงจูงใจที่จะให้บริการผู้อื่นแต่ไม่มีความรู้มากพอ การรักษาพยาบาลจึงเป็นแบบง่ายๆ
การศึกษาพยาบาลยังไม่ได้แยกจากการบริการพยาบาล
เชื่อกันว่าผู้ให้การพยาบาลหากเพียงมีความปราถนาที่จะดูแลผู้ป่วยก็เพียงพอแล้ว
การปฏิรูปทางสังคม
ผู้ริเริ่มหลักสูตรการศึกษา คือนักบวชลูเทอร์ชื่อ ทีโอดอร์ ฟลีดเนอร์
โรงเรียนฝึกหัดพยาบาล
ในเวลาเรียน ต้องมีเวลาทำพิธีทางศาสนาได้รับการฝึกจากแม่ชี หลักสูตรการเรียนจจึงนับได้ว่าหลักสูตรมีทั้งวิชาจริยศาสตร์และศาสนา
โดยเป็นนักเรียนทดลอง 3 ปี และศึกษาต่ออีก 3 ปี โดยแพทย์เป็นคนสอนทฤษฎีและนางฟลีดเนอร์สอนปฏิบัติ มีวิชาเภสัชศาสตร์ด้วย
รับนักเรียนผู้หญิงอายุ 18 ปี ที่มีกิริยาท่าทางเรียบร้อย สุขภาพแข็งแรง
นักเรียนต้องวนไปทุกแผนกเพื่อหาประสบการณ์ และเป็นคนให้บริการทุกอย่างแก่ผู้ป่วย
สมัยไนติงเกล
แตกต่างจากการปฏิรูปทางศาสนาและการเมือง มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
งานวิชาชีพการพยาบาล
ต้องเป็นคนที่เข้มแข็ง คล่องแคล่วว่องไว มีไฟกระตุ้นตัวเองอยู่เสมอ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และมีความรัดในเพื่อนมนุษย์ พยายามสร้างความดีและความอารีอารอบให้แก่ตนเอง
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นพื้นฐานของการสร้างความรู้และประสบการณ์ในวิชาชีพพยาบาลมาจนทุกวันนี้
การวิจัยทางการพยาบาล
สมัยมิส ฟอเรนท์ ไนติงเกล
ใช้การวิจัยเพื่อพิสูจน์ให้เห็นวิธีการลดอัตราตายของทหารจากการบาดเจ็บในสงคราม โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
เน้นการพยาบาลโดยวิธีการสังเกตอย่างมีจุดมุ่งหมาย ละเอียด รอบคอบ พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลที่สังเกตได้ เพื่อนำไปพัฒนาทางการพยาบาล
หลังสมัย มิสไนติงเกล
เน้นเฉพาะการบริการเพียงอย่างเดียว
วิวัฒนาการในช่วงนี้จึงเป็นไปอย่างช้าๆและมีขอบเขตจำกัด
ค.ศ.1900-1949
มีงานวิจัยเกิดขึ้นเล็กน้อย แต่มุ่งเน้นการศึกษาพยาบาลมากกว่าปฏิบัติ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในการวิจัยค้นคว้า
งานวิจัยทางการศึกษาพยาบาลเนื่องจากรูปแบบการจัดการศึกษาพยาบาลไม่ชัดเจน
จากการศึกษาของ Adelaide&Stewart,1906 : Goldmark,1923 : Browm,1948 จัดตั้งโรงเรียนพยาบาลในระดับมหาวิทยาลัย
ช่วงปลายมีงานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารและการบริหารพยาบาล เช่น คุณภาพของพยาบาล
ค.ศ.1900 มีวารสารการพยาบาลชื่อ American Jonmal of Nursing เกิดขึ้นครั้งแรก และมีการวิจัยกรณีศึกษา พิมพ์ลงในวารสาร Case Studies มีลักษณะเป็นการวิเคราะห์ประเมินผล ระบบการบริการในคนไข้แต่ละคน
ค.ศ.1950-1959
มีการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญทางการวิจัยพยาบาลของอเมริกา และเสนอให้มีการพัฒนาการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เพื่อเร่งการพัฒนาการวิจัยพยาบาล
ค.ศ.1952 มีการจัดตั้งแผนกวิจัย , มีศูนย์วิจัยทางการพยาบาลเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารและผลการวิจัย มีการศึกษาระยะยาว 5 ปี เกี่ยวกับบทบาทและกิจกรรมของพยาบาล เพื่อปรับปรุงการทำงานของพยาบาล และตีพิมพ์ในชื่อ Twenty Thousands Nurses Tell Their Stories ซึ่งนำไปสู่การกำหนดหน้าที่ของพยาบาล
ผู้นำทางการพยาบาล Henderson & Abdellah
เริ่มนำวิจัยมาใช้ในหลักสูตรพยาบาลระดับปริญญาตรี ปีค.ศ.1995
ค.ศ.1960-1969
มีการพัฒนาศาสตร์ทางการพยาบาลอย่างจริงจัง นักทฤษฎีหลายท่านเริ่มเขียนหนังสือแนวคิดทางการพยาบาล การใช้กระบวนการทางพยาบาลในการปฏิบัติการทางพยาบาล
ระยะนี้เป็นการวิจัยด้านการปฏิบัติทางพยาบาล ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยของนักศึกษาปริญญาโท เรื่องที่วิจัยส่วนใหญ่เรื่องการตอบสนองของผู้ป่วย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การดูแลผู้สูงอายุ การดูแลแม่และเด็ก
ค.ศ.1970-1979
การวิจัยปฏิบัติการทางพยาบาลก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
มีจัดตั้งหลักสูตรปริญญาเอกทางการพยาบาลเกิดขึ้น
มีทฤษฎีทางการพยาบาลสำคัญๆเกิดขึ้น เริ่มพัฒนาเป็นรูปร่างชัดเจนยิ่งขึ้น
การวิจัยทางด้านการศึกษาเป็นเรื่องวิธีการสอนและการเรียนจากประสบการณ์ นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้นการสอน
สมาคมพยาบาลแห่งชาติอเมริกันได้กำหนดทิศทางการวิจัย เน้นให้มีการวิจัยทางด้านปฏิบัติการพยาบาล และด้านวิชาชีพพยาบาลให้มากขึ้น
การสร้างและทดสอบทฤษฎีทางการพยาบาล
ค.ศ.1980-1989
การวิจัยปฏิบัติการทางพยาบาลก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
มีหลักสูตรปริญญาเอกมากกว่า 40 หลักสูตร มีคนจบปริญญาโทและปริญญาเอกมากขึ้น
งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยทางคลินิก ซึ่งครอบคลุมปัญหาสุขภาพของบุคคล การใช้กระบวนการทางพยาบาลในคลินิกประเภทวิจัย ส่วนใหญ่คือการทดลอง และกึ่งทดลอง
มุมมองของสังคมต่อวิชาชีพพยาบาล
ค.ศ1854-1919
เสียสละและอุทิศตนเองในการให้ความช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย
นางฟ้า
ความหมายผู้มีความปราณี มีจริยธรรม มีความเมตตากรุณา
ค.ศ1920-1929
สตรีผู้จงรักภักดี
ผู้รับใช้จงรักภักดีพร้อมที่จะรับใช้แพทย์ ได้รับอิทธิพลจากยุคฮิพโพเครตีส
ค.ศ1930-1945
วีรสตรี
ได้รับอิทธิพลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่พยาบาลต้องให้การดูแลรักษาทหารและผู้เจ็บป่วย
แสดงถึงความกล้าหาญ เสียสละและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ค.ศ1946-1965
ภรรยาหรือมารดา
เป็นภรรยาที่คอยเลี้ยงดูบุตร มีความเป็นมารดา ไม่กล้าแสดงออก มีความเห็นอกเห็นใจ
ค.ศ1966-1982
วัตถุทางเพศ
ถูกมองเป็นผู้หญิงฉาบฉวย เชื่อถือไม่ได้
ค.ศ1983-1989
นักวิชาชีพ
มีความรู้ ฉลาดเฉลียว มีการตัดสินใจเป็นของตนเอง มีเหตุผลและหนักแน่น
ค.ศ1994
ผู้ที่อยู่ในกฎระเบียบ
ค.ศ2006
Tzengศึกษาภาพลักษณ์พยาบาลโดยใช้แนวคิด Kalisch and Kalisch
ภาพลักษณ์ในทางบวก
นางฟ้าผู้เมตตา
นักวิชาชีพ
ภาพลักษณ์ในทางลบ
ผู้อยู่ในกฎระเบียบ
การพัฒนาองค์กรทางวิชาชีพทางการพยาบาล
เป็นการสร้างเอกภาพและเอกสิทธิ์ของวิชาชีพ
จากการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรวิชาชีพสุ่การพัฒนาวิชาชีพเป็นรูปธรรม
การพัฒนาบุคคลากรให้มีภาวะผู้นำมากขึ้น
ผู้นำจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ
คุณลักษณะผู้นำที่ดี
มีพฤติกรรมเป็นวิชาชีพ
พัฒนาตนเองอยู่เสมอและต่อเนื่อง
มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองและองค์กรในด้านต่างๆ
การพัฒนาภาวะผู้นำ
เพื่อนำองค์กรเข้าสุ่ยุคเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมทุกกิจกรรมที่ทำให้เกิดวิสัยทัศน์ ศักยภาพ ทักษะการแก้ปัญหา
กิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆที่นำองค์กรพยาบาลและวิชาชีพไปในทางที่ดีขึ้น
วัลลภา บุญรอด.2555.เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชา 619413 ประเด็นและแนวโน้มทางวิชาชีพ.สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2563,
http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/5772
ไพลิน นุกูลกิจ.2529.การวิเคราะห์พัฒนาการของการศึกษาพยาบาลในประเทศไทย.สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2563,
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29994
อรนุช อักษรดี.2560.ภาพลักษณ์ของพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการที่แผนกผู้ป่ วยนอก.สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563,
http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/55920300.pdf