Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พินัยกรรมชีวิต (Living Will) - Coggle Diagram
พินัยกรรมชีวิต (Living Will)
ความหมาย
คือหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียง
เพื่อยื้อการตายในวาระสุดท้ายของตน
หรือ
เพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
(มาตรา 12 ของ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550)
การเลือกวิธีการรักษาในระยะสุดท้าย หรืออาจกำหนดเป็นคำสั่งเสียหรือคำขอสุดท้ายของผู้ป่วยที่ใกล้จะเสียชีวิตพินัยกรรมชีวิตจึงไม่ใช่การทำหนังสือเพื่อให้บุคคลที่เจ็บป่วยและไม่สามารถรักษาให้หายได้ จบชีวิตลงเพื่อให้พ้นทุกข์ทรมานที่เรียกว่า (Euthanasia) หรือการุณยฆาต (Mercy killing) ซึ่งทั้งสองเรื่องข้างต้นเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ตามกฎหมายไทย
ตายแบบไหนที่จะเรียกว่าตายดี
ในหนังสือปทานุกรมแห่งความตาย
ปทานุกรมความตาย ระบุการตายดีไว้ 12 ข้อ ได้แก่
การตายที่ผู้ตายยอมรับได้พร้อมที่จะจากไป
เป็นการตายอย่างมีสติ
ทราบว่าความตายจะมาถึงและเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
ได้รับการปฏิบัติอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และมีความเป็นส่วนตัว
ได้รับข้อมูลและการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ตามความจำเป็น
ได้รับการดูแลบรรเทาอาการปวดและอาการทางกายอื่นๆ เป็นต้น
สามารถเลือกได้ว่าจะตายที่ไหน (ที่บ้านหรือโรงพยาบาล)
ได้รับการดูแลทางอารมณ์และจิตวิญญาณตามต้องการ
สามารถเลือกได้ว่าควรมีใครอยู่ด้วยในวาระสุดท้ายของชีวิต
มีเวลากล่าวลาบุคคลที่ตนเองรัก สะสางสิ่งที่คั่งค้างในใจ
สามารถแสดงเจตนาล่วงหน้าได้ว่าต้องการได้รับการปฏิบัติอย่างไรในวาระสุดท้าย (Advance Direction)
สามารถจากไปอย่างสงบเมื่อถึงเวลาไม่ถูกเหนี่ยวรั้งหรือยืดชีวิตโดยไร้ประโยชน์
ประโยชน์ของการทำหนังสือ
1.จะทำให้แพทย์ และญาติทราบ เป็นการช่วยลดความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับญาติในการวางแผนการรักษา เมื่อผู้ป่วยไม่อยู่ในสภาพที่แสดงเจตนาได้
2.ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่นการเจาะคอ การใส่ท่อช่วยหายใจ การปั๊มที่ช่วยยืดการตายออกไปซึ่งที่ไม่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.ทำให้ผู้ป่วยและญาติไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการรักษา จนกระทั่งถึงต้องขายทรัพย์สินจนสิ้นเนื้อประดาตัวมาเป็นค่ารักษา
4.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยมีการสื่อสารและร่ำลาคนในครอบครัวในขณะที่มีสติสัมปชัญญะอยู่
การทำหนังสือแสดงเจตนาแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ
1.ผู้ป่วยทำหนังสือแสดงเจตนาด้วยตนเองไม่ว่าจะเขียนหรือพิมพ์ หรือ ใช้แบบตามตัวอย่างที่กำหนด
2.การแสดงเจตนาด้วยวาจาต่อแพทย์ พยาบาล หรือญาติผู้ใกล้ชิดโดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ หรืออาจจะให้ผู้อื่นช่วยเขียนหรือพิมพ์แทน
“วาระ สุดท้ายของชีวิต”
ภาวะของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือโรค ที่ไม่อาจจะรักษาให้หายได้และจากการพยากรณ์โรคตามมาตรฐานทั่วไปในทางวิชาชีพ เห็นว่า ภาวะนั้นจะนำไปสู่การตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้