Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พินัยกรรมชีวิต:living will - Coggle Diagram
พินัยกรรมชีวิต:living will
ความหมาย
เป็นหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยื้อการตายในวาระสุดท้ายของตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
มาตรา 12 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ (พ.ศ.2551) คือ สิทธิที่จะขอตายตามธรรมชาติ
เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลสามารถแสดง
เจตนาไวล่วงหน้าได้ว่า เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิตและจะต้องจากไป ขอจากไปตามวิถีธรรมชาติโดยไม่ประสงค์จะให้ใช้เครื่องมือต่างๆ
ไม่ใช่บทบัญญัติที่ให้บุคคลใดสามารถเร่งการตายได้ กล่าวคือไม่ใช่เรื่องของการุณยฆาต หรือการทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วขึ้น
บทบัญญัตินี้จะใช้ในกรณีผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายเท่านั้น
วาระสุดท้ายของชีวิต หมายความว่า ภาวะของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอันเกิดจากการบาดเจ็บ หรือโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายได้และผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้รับผิดชอบการรักษาได้วินิจฉัยจากการ พยากรณ์โรคตามมาตรฐานทางการแพทย์ว่า ภาวะนั้นนำไปสู่การตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในระยะเวลาอันใกลจะถึง รวมถึงภาวะที่มีการสูญเสียหน้าที่อย่างถาวรของเปลือกสมองใหญ่ ที่ทำให้ขาด ความสามารถในการรับรู้และติดต่อสื่อสารอย่างถาวร
ในทางปฏิบัติแพทย์เจ้าของคนไข้ จะเป็นผู้ประเมินตามหลักวิชาทางการแพทย์และแจ้งแก่ญาติ หากญาติเห็นพ้องตามที่แพทย์อธิบาย ทุกอย่างก็คงดำเนินการตามเจตนาที่ผู้ป่วยที่ได้แสดงไว้ใน Living will แต่ หากญาติไม่เห็นด้วยและประสงค์ให้ยื้อชีวิตต่อไป ก็คงต้องเป็นไปตามเจตนาของญาติ ในทางปฏิบัติ การเชิญญาติที่มีอำนาจตัดสินใจมาประชุมพูดคุยกัน จึงเป็นเรื่องที่แพทย์ พยาบาล พึงปฏิบัติ
เมื่อผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ญาติผู้ใกล้ชิดทางสายตรง จะเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน เช่น บิดามารดา สามีหรือภรรยา บุตรของผู้ป่วย
การให้ความรู้แก่ญาติ โดยพูดคุยกับญาติ เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่เกิดความทุกข์ทรมานมาก และจะทำให้จากไปอย่างสงบก็คือ การรักษาแบบประคับประคอง (palliative care) คือการดูแลบรรเทาโรคตามอาการ (symptom control) การบรรเทาความเจ็บปวด (relief pain) ตลอดจนการดูแลทางด้านจิตใจ (spiritual healing) ให้แก่ผู้ป่วย
การทำหนังสือแสดงเจตนาแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1.ผู้ป่วยทำหนังสือแสดงเจตนาด้วยตนเองไม่ว่าจะเขียนหรือพิมพ์ หรือ ใช้แบบตามตัวอย่างที่กำหนด
2.การแสดงเจตนาด้วยวาจาต่อแพทย์ พยาบาล หรือญาติผู้ใกล้ชิด โดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ หรืออาจจะให้ผู้อื่นช่วยเขียนหรือพิมพ์แทน
หนังสือแสดงเจตนานี้ผู้ที่ทำควรมีอายุเกิน 18 ปีที่สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ และสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือระงับยกเลิกได้ตลอดเวลา โดยต้องแจ้งการแก้ไขกับแพทย์ที่เคยได้รับการแจ้งไว้ก่อนแล้ว
ประโยชน์ของการทำพินัยกรรมชีวิต
2.ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่นการเจาะคอ การใส่ท่อช่วยหายใจ การปั๊มที่ช่วยยืดการตายออกไป
3.ทำให้ผู้ป่วยและญาติ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
1.ทำให้แพทย์ และญาติทราบ เป็นการช่วยลดความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับญาติในการวางแผนการรักษา เมื่อผู้ป่วยไม่อยู่ในสภาพที่แสดงเจตนาได้
4.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยมีการสื่อสารและร่ำลาคนในครอบครัว ในขณะที่มีสติสัมปชัญญะอยู่
การตายดี 12 ข้อ
ได้รับข้อมูลและการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ตามความจำเป็น
ได้รับการดูแลบรรเทาอาการปวดและอาการทางกายอื่นๆ
ได้รับการปฏิบัติอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และมีความเป็นส่วนตัว
สามารถเลือกได้ว่าจะตายที่ไหน (ที่บ้านหรือโรงพยาบาล)
ทราบว่าความตายจะมาถึงและเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
ได้รับการดูแลทางอารมณ์และจิตวิญญาณตามต้องการ
เป็นการตายอย่างมีสติ
สามารถเลือกได้ว่าควรมีใครอยู่ด้วยในวาระสุดท้ายของชีวิต
การตายที่ผู้ตายยอมรับได้พร้อมที่จะจากไป
สามารถแสดงเจตนาล่วงหน้าได้ว่าต้องการ ได้รับการปฏิบัติอย่างไรในวาระสุดท้าย
มีเวลากล่าวลาบุคคลที่ตนเองรัก สะสางสิ่งที่คั่งค้างในใจ
สามารถจากไปอย่างสงบ