Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกแรกเกิด(ต่อ) - Coggle Diagram
การพยาบาลทารกแรกเกิด(ต่อ)
ภาวะลำไส้เน่าอักเสบ Necrotizing Enterocolitis(NEC)
ทารกเกิดก่อนกำหนด
ระบบทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ ย่อย ดูดซึม ระบบภูมิต้านทาน สารโมเลกุลใหญ่ซึมผ่านผนังลำไส้ได้ ทำลายผนังลำไส้ Mucin และ secretory IgA ที่เยื่อบุผนังลำไส้มีน้อย การเคลื่อนไหวผนังลำไส้น้อย แบคทีเรียเจริญได้ดี สร้างก๊าซจำนวนมาก
ลำไส้ขาดเลือดและออกซิเจน
การตอบสนองแบบ diving reflex ท็อกซินของแบ็คทีเรียที่กระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารให้ลำไส้ หดตัว ทำให้เกิดการขาดเลือด การเน่าตายของลำไส้
การได้รับสารอาหารทางลำไส้
การได้รับนมปริมาณมากและเร็วเกินไป คาร์โบรไฮเดรต ย่อยไม่หมด ทำให้เกิดการหมักโดยแบคทีเรียในลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุลำไส้ พบอุบัติการณ์ในนมผสมมากกว่านมมารดา 10 เท่า
การติดเชื้อในลำไส้
เชื้อที่พบบ่อยได้แก่ E.Coli , Staphylococcus aureus, salmonella E4 , Proteus,Clostridium,Klebsiella
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ (Hypothermia) , Birth asphyxia , Polycythemia, Hypovolemia,Umbilical vessel catherization , Exchange transfusion, Severe stress ,Hypotension
พยาธิสรีรภาพ NEC
ลำไส้ขาดเลือดไปเลี้ยงเกิดการบาดเจ็บของเยื่อบุลำไส้ (Mucosal injury)มีเลือดคั่ง บวม และเน่าตายของเยื่อบุลำไส้ (Congestion,edema,necrosis)
มีลมแทรกในผนังลำไส้(Pneumatosis)
การหาย(healing) เนื้อเยื่อพังผืด (fibrous tissue) ติดยึด(adhesion) ตีบตัน(stricture)
อาการและอาการแสดง NEC
ท้องอืด (Abdominal distension)
ซึมลง(Lethargy)(Deep sleep)
อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง (T.instability)
อุจจาระเป็นมูกเลือด (Bloody stools)
ตัวเหลือง (Hyperbilirubinemia)
อาเจียนมีน้ำดีปน(Bilious vomiting)
ถ่ายเหลวเป็นน้ำ (Too watery stools)
หยุดหายใจเป็นพักๆ(Apnea) ผิวหนังแข็ง(Sclerema)
การพยาบาล NEC
งดน้ำและอาหารทางปาก(NPO)เพื่อให้ลำไส้ได้พัก และติดตามประเมินการทำงานของลำไส้ ถ้าดีขึ้นจะเป็นแนวทางในการพิจารณาให้อาหารทางปาก
ดูแลให้สารน้ำและสารอาหารทางหลอดเลือดดำ
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินอาหาร เช่น มีอาหารเหลือในกระเพาะ อาเจียนมีน้ำดี ปน bowel sound น้อยหรือไม่มี
ภาวะหยุดหายใจใน ทารกเกิดก่อนกำหนด (AOP)
Apnea of Prematurity
เป็นภาวะที่มีการหยุดหายใจนานกว่า 20 วินาที หรือภาวะหยุดหายใจอาจน้อยกว่า 15-20 วินาที แต่มีผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง (น้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที) และ/หรือมีอาการเขียว ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง (hypotonia)(Flaccid) และความอิ่มตัวของออกซิเจนลดลงเหลือ 80%
สาเหตุ
Central apnea
ภาวะหยุดหายใจที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของผนังทรวงอกหรือกระบังลมและไม่มีอากาศไหลผ่านรูจมูก มีสาเหตุจากความไม่สมบูรณ์ของระบบการควบคุมการหายใจ พบได้ประมาณร้อยละ50
Obstructive apnea
ภาวะที่มีการเคลื่อนไหวของผนังทรวงอกหรือกระบังลมแต่ไม่มีอากาศไหลผ่านรูจมูก มีสาเหตุจากการอุดกลั้นทางเดินหายใจส่วนบน ส่วนใหญ่เกิดที่บริเวณหลอดคอ (pharynx)
การรักษา
การกระตุ้นบริเวณผิวหนัง เช่น การลูบลำตัว แขนขา การดีดบริเวณฝ่าเท้าเบาๆ
การจัดท่านอนให้ทางเดินหายใจเปิดโล่ง โดยให้ทารกนอนหงายมีผ้าหนุนใต้ไหล่ ในรายที่มีคางสั้นควรจัดให้อยู่ในท่านอนตะแคง
โรคปอดเรื้อรัง(Bronchopulmonary dysplasia:BPD)
เป็นโรคที่พบบ่อยในทารก ที่มีภาวะ RDS และได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนและการใช้เครื่องช่วยหายใจ นอกจากนั้นภาวะ BPD ยังคงพบในทารกที่มีภาวะปอดอักเสบ ภาวะสูดสำลักขี้เทา (MAS) โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และภาวะมีรูรั่วของหลอดอาหารเข้าสู่หลอดลม
สาเหตุ
พิษของออกซิเจน (Oxigen toxicity)
บาดแผลจากแรงดัน (Barotrauma)
มีผลต่อเนื้อปอดโดยเฉพาะเนื้อปอดที่แข็งหรือไม่ยืดหยุ่น ส่งผลให้ปอดขยายตัวมากกว่าปกติ และถุงลมแตก
อาการและอาการแสดง
การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในเลือดจะพบว่ามีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ
ในรายที่รุนแรงอาจพบอาการเขียว อาจมีท้องอืด และอาเจียนหลังให้นม
พบเสียงวี๊ด (Wheeze) หรือ เสียง rales
หายใจเร็ว หรือ หายใจลำบาก หน้าอกบุ๋ม
การพยาบาล
ประเมินเสียงหัวใจและเสียงหายใจทุก 2 ชม. และตามความเจ็บเป็นเพื่อประเมินความสมดุล และการเกิด Mediastinal shift
สังเกตอาการหายใจลำบากเพิ่มขึ้น อาการเขียว ปอดขยายตัวไม่เท่ากัน ความดันโลหิตลดลงร่วมกับตัวเย็นซีด หยุดหายใจ
สังเกตอาการหายใจลำบากเพิ่มขึ้น อาการเขียว ปอดขยายตัวไม่เท่ากัน ความดันโลหิตลดลงร่วมกับตัวเย็นซีด หยุดหายใจ
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด Neonatal Hyperbilirubinemia
ภาวะตัวเหลืองจะปรากฏ อาการให้เห็นที่ผิวหนัง เยื่อบุตาขาว และอาจจะมองเห็นอาการเหลืองได้ที่เล็บ และปัสสาวะเหลือง เมื่อ ระดับบิลิรูบินสูงเกินกว่า 5 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาการเหลืองจะเริ่มจากบริเวณใบหน้าเข้าหาลำตัวไปสู่แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
สาเหตุ
ทารกมีจำนวนเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่
เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าผู้ใหญ่(90:120วัน)เนื่องจากฮีโมโกลบินเป็นชนิดF
การพยาบาลทารกได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือด
จัดเตรียมเลือดให้ถูกต้องตรงกับทารก เตรียมห้องสะอาดปลอดภัย เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ สำหรับเปลี่ยนถ่ายเลือด นำเลือดตั้งทิ้งไว้อุณหภูมิห้องเพื่อให้เลือดอุ่น
เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพ
อธิบายเหตุผลให้บิดามารดาทราบเพื่อลดความวิตกกังวล และเซนใบอนุญาตให้เปลี่ยนถ่าย
งดนมทารก 3-4 ชั่วโมงก่อนเปลี่ยนถ่ายเลือด และดูดน้ำในกระเพาะออกให้หมดป้องกัน อาเจียนและสำลัก
วัดV/S ตรึงทารกไว้ (Restraint)
บันทึกจำนวนเลือดเข้า-ออก HR ตลอดเวลาที่ดันเลือดเข้า และดูดเลือดออก เพราะปริมาตร เลือดมีการเปลี่ยนแปลงได้ทันทีและตลอดเวลา ทารกช็อกได้
สังเกตภาวะแทรกซ้อนได้แก่ หัวใจวาย แคลเซียมต่ำ น้ำตาลต่ำ ตัวเย็น ติดเชื้อ หลังเปลี่ยนถ่านเลือดต้องติดตาม V/S ทุก 15 นาที หรือ 30 นาทีจนคงที่ ให้ทารกอยู่ใน Incubator