Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพครอบครัว กลุ่มคนและชุมชน, นางสาว ธนวรรณ…
บทที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพครอบครัว กลุ่มคนและชุมชน
นิยามความหมายสุขภาพ
องค์การอนามัยโลก
ให้นิยาม “สุขภาพ” ว่าหมายถึง สุขภาวะอันสมบูรณ์และมีความเป็นพลวัตทั้งทางกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณและ ไม่ใช่เพียงปราศจากโรคและการเจ็บป่วยเท่านั้น
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ ศ 2550
ได้มีการกําหนด นิยามของสุขภาพไว้ว่า “สุขภาพ หมายถึง
ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งกาย จิต ปัญญาและสังคม
เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล”
ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพครอบครัว กลุ่มคนและชุมชน แบ่งออกเป็น
ปัจจัยภายใน
1.ด้านร่างกาย
องค์ประกอบที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก หรือไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่พันธุกรรม เชื้อชาติ เพศ อายุและระดับพัฒนาการ
1.ความแตกต่างทางด้านร่างกาย (Physical)
ความแตกต่างทางด้านสติปัญญา (Intelligence)
ความแตกต่างด้านอารมณ์ (Emotion)
ความแตกต่างทางสังคม (Social)
ความแตกต่างด้านบุคลิกภาพ (Personality)
2.ด้านจิตใจ ทัศนคติ ความเชื่อ
ค่านิยม ความเครียด
ทัศนคติ ความเชื่อ
ของบุคคลเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการเกิดพฤติกรรมการป้องกันโรคและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นบุคคลจะเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการกระทํานั้นๆ
1) การับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค (perceived susceptibility)
5) การรับรู้อุปสรรค/ค่าใช้จ่ายว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก
6) การรับรู้ความสามรถตนเอง(self-efficacy)
2) ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรค (perceived severity)
3)ภาวะคุกคาม การรับรู้โอกาสเสี่ยงกับการรับรู้ความรุนแรงของ
4) การรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อกระทําตามคําแนะนําลดความเสี่ยงหรือลดความรุนแรง
ค่านิยม
บุคคลได้รับอิทธิพลจากสังคม และมีอิทธิพลต่อการประพฤติปฏิบัติของบุคคลในสังคมนั้นๆ ในปัจจุบันผู้ที่มาใช้บริการทางโรงพยาบาล มีค่านิยมที่เกี่ยวกับสาธารณสุขเปลี่ยนไปจากเดิม ผู้ใช้บริการจะรู้สึกว่าเป็นการซื้อบริการ ไม่ใช่มารับความช่วยเหลือ ดังนั้นเมื่อบุคลลากรทางการแพทย์บริการไม่ดีหรือเกิดความผิดพลาดก็จะต้องดําเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ดังจะเห็นได้จากสถิติการร้องเรียนและฟ้องร้องเรื่องทางการแพทย้เพิ่มมากขึ้น
ความเครียด
ความเครียดในระดับต่ําหรือปานกลางจะเป็นตัวกระตุ้นในบุคคลมีความกระตือรือร้น หากมีในระดับสูงจะส่งผลให้ร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลงการทํางานของอวัยวะต่างๆเปลี่ยนไป
พฤติกรรมสุขภาพ หรือแบบแผนการดําเนินชีวิต (life style )
การที่สังคมไทยมีประชากรหลากหลายกลุ่มอายุทําให้วิธีการคิด มุมมองโลกทัศน์และ ค่านิยมต่างๆ มีความแตกต่างกัน ซึ่งอาจมีผลต่อวิถีการดําเนินชีวิต และพฤติกรรมสุขภาพ เช่น กลุ่มวัยเจเนอเรชันวายเน้นใช้เทคโนโลยีในเรื่องความบันเทิง สนทนากับเพื่อน และเชื่อมต่อสังคม1ใน 3 ของวัน พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้มีกิจกรรมทางกายน้อยมาก
3.ด้านความรู้การเรียนรู้และสติปัญญา
ครอบครัวมีผลทําให้เด็กได้รับประสบการณ์ ทัศนคติ ความคาดหวัง ความรู้ และคุณธรรมจริยธรรม จึงมีงานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะบทบาทเชิงจริยะ (Ethical Role)
การพัฒนาวิธีสนทนาวิสาสะเรื่องราวต่าง ๆ กับเยาวชน ให้เป่นการสนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับเยาวชนเพื่อวิเคราะห์ปัญหาจริยธรรมในชีวิตประจําวัน
หลีกเลี่ยงการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมโดยวิธีอบรมสั่งสอนโดยตรง เพราะทําให้เยาวชนมีแนวโน้มปฏิเสธมากกว่าจะเกิดสํานึกทางจริยธรรม
การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทางคุณธรรมจริยธรรม
ส่งเสริมให้เยาวชนการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น
สร้างข้อแนะนําทางจริยธรรมที่เป็นเอกลักษณะของครอบครัวอีสาน
การยอมรับสิทธิทางจริยธรรมของเยาวชนซึ่งถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
4.ด้านสังคม บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และสัมพันธภาพของ
สมาชิกในครอบครัวและชุมชน ของครอบครัว กลุ่มบุคคลและชุมชน
วิถีการดําเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัว กลุ่มคนและชุมชน
ครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นของการวางรากฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีการอบรมเลี้ยงดูปลูกฝัง ขัดเกลาทางด้านคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นสมาชิกของสังคมที่มีความสมบูรณ์การได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว ช่วยป้องกันการใช้ยาเสพติด และช่วยป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นได้
ครอบครัวมีความสําคัญและควรดูแลผู้สูงอายุ4 ด้าน ดังนี้
1.การดูแลดูานร่างกาย เช่น การจัดหาอาหารและการรับประทานอาหาร จัดที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมปลอดภัย การพาไปรับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ําเสมอ
2.การดูแลทางด้านจิตใจ เช่น การเอาใจใส่พูดคุยอย่างสม่ําเสมอ การให้ความรักความเคารพ
3.การดูแลด้านสังคม เช่น การแสดงความยินดีที่จะพาผู้สูงอายุไปร่วมกิจกรรมทางสังคมที่เหมาะสม
ตามที่ผู้สูงอายุต้องการ
4.4การดูแลด้านเศรษฐกิจ โดยการดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือในด้านการเงินอย่างเพียงพอและสม่ําเสมอ
ปัจจัยภายนอก
1.สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การปกครอง
ปัญหาที่ยุ่งยากที่ต้องตามแก้ไขกันเป็นเวลานานและไม่ก่อให้เกิดความสุขที่แท้จริงอย่างยั่งยืนได้
ผู้ที่มีระดับการศึกษาที่สูงดูจะมีความสุขสูงกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาที่ต่่ำกว่า
และผู้ที่มีรายได้/รายจ่ายสูงกว่าดูจะมีความสุขสูงกว่าผู้ที่มีรายได้รายจ่ายต่ำกว่า
นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครมีค่าเฉลี่ยความสุขต่ำกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด
2.สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดซึ่งมีผลต่อสุขภาพ ได้แก่ เชื้อโรคต่างๆ Corona virus เป็นต้น
2.สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งมีผลต่อสุขภาพ ได้แก่ สัตว์พวกหนอนพยาธิต่างๆ พวกแมลงต่างๆ
3.สิ่งแวดล้อมพวกพืชต่างๆหลายชนิด
ที่เป็นเหตุของโรคภูมิแพ้ต่างๆ
4.สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต และมีผลกระทบต่อสุขภาพ ของคน ครอบครัว สังคม ชุมชน หรือของเมืองนั้น เช่น ฝุ่นPM.
เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
สรรพวิชาความรู้ทั้งหมดที่ชุมชนท้องถิ่นใช้แก้ปัญหาหรือจรรโลงชีวิตในการดํารงชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ทําให้ชุมชนและชาติผ่านพ้นวิกฤติและดํารงความเป็นนชาติหรือชุมชนไว้ได้ กรณีศึกษาการใช้สมุนไพรรางจืด ในเกษตรกร ตําบลแสนพัน อําเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
3.วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
Thailand 4.0 โมเดล
โลกมีความเป็นพลวัตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสามารถจําแนกได้เป็น 4 ยุค ดังนี้
ยุคที่ 1เกิดการปฎิวัติในภาคเกษตรหรือที่เรียกกันว่า Green Evolution
ยุคที่ 2 เกิดการปรับเปลี่ยนสู่สังคมอุตสาหกรรมผ่าน Industrial Revolution ครั้งที่ 1 และ 2
ยุคที่ 3 เกิด Digital Revolution เป็นระลอก ๆ
ยุคที่ 4 คือ ยุคป้จจุบัน หรือเรียกว่า The Fourth Industrial Revolution
เกิดการรวมตัวและแตกตัวของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในยุคที4นั้น
มี5กระแสที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของผู้คน ดังนี้
1.Globalization
2.Digitization
3.Urbanization
4.Individualization
5.Communization
5 กระแสดังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติดังนี้
การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมของการดํารงอยู่การดํารงชีวิตให้อยู่รอดในศตวรรษที่ 21
การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมของการดําเนินธุรกิจ
การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมของการทํางาน
การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมของการเรียนรู้
4.โครงสร้างประชากร/ระบบสุขภาพ
โครงสร้างประชากร
โองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้นิยามว่าประเทศใดมีประชากรอายุ 60ปีขึ้นไป
เป็นสัดส่วนเกิน 10% หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป เกิน 7% ของประชากร ทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเ็นสังคม
ผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เมื่อสัดส่วนเมื่อสัดส่วนประชากร
อายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มเป็น 20% และอายุ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มเป็น 14%
ผลกระทบจากการที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
1.ผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) การที่มีแรงงานใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานน้อยลง ขณะที่แรงงานต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุมากขึ้น
2.ผลกระทบตองบประมาณของรัฐบาล จรัฐบาละต้องใช้งบประมาณมากขึ้นในการดูแลผู้สูงอายุ ค่าใช้จ่ายด้ายสุขภาพและการสาธารณสุขเพิ่มขึ้น การขาดแคลนบุคลากรด้้านสาธารณสุข
3.ผลกระทบด้านแรงงาน เกิดจากสมรรถนะทางกายภาพที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น และยังส่งผลกระทบต่อรายได้หลังเกษียณที่ไม่เพียงพอต่อการดํารงชีพ
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรทําให้สังคมไทย
กลุ่มไซเลนต์เจเนอเรชัน (Silent generation) หมายถึง คนที่เกิดในช่วง พ ศ 2468-2488
มีความเคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนมาก มีความจงรักภักดีต่อนายจ้างและประเทศชาติสูง เคารพกฎหมาย
2.กลุ่มเจเนอเรชั่นบี หรือเบบี้บลูมเมอร์ (Baby Boomer Generation) หรือ “Gen-B” ซึ่งเป็นคนสูงอายุในปัจจุบัน เกิดในช่วง พ ศ 2489-2507 คนรุ่นนี้มีความอดทนสูง สู้งาน ชอบทํางานและประสบความสําเร็จด้วยตัวเอง
3.กลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ (Generation X) หรือ “Gen-X” ซึ่งเป็นคนวัยทํางานในยุคปัจจุบัน เกิดในช่วง พ ศ 508-2522 คนกลุ่มนี้เริ่มมีความอดทนน้อยลง คนเจนนี้ยังทํางานด้วยตัวเอง ยึดระบบชนชั้นน้อยลง เก็บออมและใช้เท่าที่มี เลือกทํางานที่ชอบ รักอิสระ และมีความคิดสร้างสรรค์แหวกกรอบ
5.กลุ่มเจเนอเรชั่นซีหรือแซด (Generation Z) หรือ “Gen-Z” เกิดในช่วง พ ศ 2540 ขึ้นไปคนกลุ่มนี้เกิดมาด้วยการเลี้ยงดูที่เพียบพร้อม เทคโนโลยีทันสมัยและแพร่หลาย รวมถึงองค์ความรู้ เพียงกระดิกนิ้วก็ได้สิ่งที่ต้องการและมีตัวเลือกมากมักทําในสิ่งที่ชอบ ชอบความสะดวกสบาย ไม่ชอบพิธีการ และสามารถทําอะไรหลาย ๆ อย่างได้ในคราวเดียวกัน
4.กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) หรือ “Gen-Y” ซึ่งเป็นคนวัยตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลายถึงเริ่มทํางานใหม่ เกิดในช่วง พ ศ 2523-2540 คนเจนนี้ไม่ชอบชนชั้น การทํางานและใช้ชีวิต มักชอบการทํางานเป็นทีม ทํางานร่วมกัน มากกว่าฟังคําสั่งจากหัวงานหรือผู้นําอย่างเดียว และการบังคับขู่เข็ญจากพ่อแม่
ระบบสุขภาพ
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2
พ ศ 2559 ได้วางกรอบสาระสําคัญขององค์ประกอบ
ของระบบสุขภาพเอาไว้ 14 หมวด ดังนี้
1.สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ การได้รับสิทธิด้านสุขภาพที่จําเป็นตามหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อให้
ทุกคนมีสุขภาวะ ครอบคลุมทั้งการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและป้จจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ
2.การสร้างเสริมสุขภาพ การส่งเสริมและสนับสนุนบุคคล ครอบครัว ชุมชนและประชาชนกลุ่มต่างๆให้สามารถ
จัดการหรือพัฒนาสุขภาพของตน ครอบครัว ชุมชนและกลุ่มได้
3.การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคาม สุขภาพ สิทธิของบุคคลและชุมชนในการดํารงชีวิตอยู่ ภายใต้สิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
4.การบริการสาธารณสุขและการสร้างหลักประกัน คุณภาพการบริการสาธารณสุขต้องมุ่งสู่การมีสุขภาพดีอย่างถ้วนหน้า ตอบสนองต่อความจําเป็นด้านสุขภาพของประชาชน
5.การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่น
6.การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านสุขภาพ
7.การสร้างองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สําคัญสําหรับ การกําหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพและการ พัฒนาสุขภาพ
8.การเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การสื่อสารข้อมูลและข่าวสารด้านสุขภาพสู่สาธารณะ จะต้องมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและทันตะอสถานการณ์
9.การสร้างและพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพ กําลัคนด้านสุขภาพ
10.การเงินการคลังด้านสุขภาพ การเงินการคลังด้านสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อความยั่งยืนของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์
11.สุขภาพจิต การดําเนินงานด้านสุขภาพจิตต้องมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพจิต
12.สุขภาพทางปัญญา สุขภาพทางปัญญาเป็นฐานรากของสุขภาพองค์รวม
การปฏิบัติเพื่อสุขภาพ ทางปัญญานําไปสู่ขภาวะของ มนุษย์ที่มีความรู้ทั่ว
13.การอภิบาลระบบสุขภาพ การอภิบาลระบบสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อความยั่งยืน และทําหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผล
14.ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ เป็นเครื่องมือในการจัดการ ระบบสุขภาพในระดับพื้นที่ เพื่อให้การพัฒนาระบบสุขภาพเป็นไปอย่างสอดคล้องกับบริบทและความ จําเป็นด้านสุขภาพของแต่ละพื้นที่
นางสาว ธนวรรณ หงษ์ทอง 611001018 เลขที่19