Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก และการปรับพฤติกรรมเด็ก - Coggle Diagram
การส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
และการปรับพฤติกรรมเด็ก
แนวคิดในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
พันธุกรรมเป็นตัวกำหนดศักยภาพของร่างกายและสติปัญญา
สิ่งแวดล้อมเป็นตัวพัฒนาเสริมแต่งหรือปั่นทอนศักยภาพที่ได้มา
สติปัญญาได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมแต่ถ้าขาดการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมจะทำให้สติปัญญาพัฒนาไม่เต็มที่
สิ่งแวดล้อม
-อาหาร
-สภาพอารมณ์
-สุขภาพทางกายและจิตของมารดาในระหว่างตั้งครรภ์
-ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู
-ของเล่น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
ตัวเด็ก: เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันสิ่งที่ต้องคำนึงถึง
-ความพร้อม
-สุขภาพของเด็ก: ความเจ็บป่วย
-ความสัมพันธ์ของบุคคลอื่น
ผู้ดูแลเด็ก
จำนวนครั้งที่ได้รับการกระตุ้น
ระยะเวลาในการกระตุ้น
สภาพแวดล้อม
ขั้นตอนของการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
การประเมินพัฒนาการ
การวิเคราะห์ปัญหา
วางแผนการจัดโปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
ให้การกระตุ้นพัฒนาการเด็กตามแผนที่วางไว้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจนบรรลุขั้นตอนของพัฒนาการนั้นๆ
การประเมินผล
-การประเมินความก้าวหน้า
-การประเมินผลสำเร็จ
วิธีการส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
ด้านความเข้าใจและการใช้ภาษา
ด้านการช่วยเหลือตนเอง-สังคม
ด้านประสาทสัมผัส
ด้านการเคลื่อนไหวแขนขาและข้อต่อ
การกระตุ้นประสาทสัมผัส
การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางกายของทารก
การกระตุ้นประสาทการมองเห็นของทารก
การกระตุ้นประสาทการได้ยิน
การกระตุ้นประสาทการได้กลิ่น
การกระตุ้นประสาทการรับรส
การกระตุ้นการเคลื่อนไหวแขนขาและข้อต่อ
การปรับพฤติกรรม
การปรับพฤติกรรม (Behavior modification)
เป็นเทคนิคที่อยู่ในแนวคิดจากหลักการเรียนรู้ (Learning theory) นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เกิดในทิศทางที่พึงประสงค์
เพิ่มพฤติกรรม (Increasing behavior) เป็นการช่วยให้พฤติกรรมที่เด็กมีอยู่แล้วแต่ยังมีน้อยมากให้ความถี่ของพฤติกรรมสูงขึ้นเช่นเพิ่มให้เด็กใช้เวลาอ่านหนังสือเรียนเป็นวันละ 1 ชม. ทุกวันเทคนิคที่นำมาใช้เช่นการให้แรงเสริมทางบวกการให้แรงเสริมทางลบ
สร้างพฤติกรรม (Teaching behavior) เป็นการสอนให้เด็กทำพฤติกรรมที่ไม่เคยทำมาก่อนหรือทำได้แต่ไม่สมบูรณ์ให้ทำพฤติกรรมนั้นได้อย่างสมบูรณ์เช่นสอนให้ใส่เสื้อผ้าเองเทคนิคที่นำมาใช้เช่นการสอนและฝึกให้ทำ (Shaping) การชี้แนะทันที (Prompting) และการเป็นแม่แบบตัวอย่างให้เด็กเลียนแบบ (Modeling
ลดพฤติกรรม (Reducing or Eliminating behavior) เป็นการลดหรือขจัดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเช่นลดพฤติกรรมก้าวร้าวรังแกผู้อื่นเทคนิคที่ใช้เช่นการหยุดยั้ง (Extinction) โดยการงดให้แรงเสริมการแยกอยู่ตามลำพัง (Time out) การลงโทษการลดความรู้สึกกลัว (Fear desensitization)
หลักการเสริมแรง
กำหนดเงื่อนไขว่าจะให้แรงเสริมชนิดใดกับพฤติกรรมอะไร
ให้เสริมแรงสม่ำเสมอทันทีเมื่อต้องการสร้างหรือเพิ่มพฤติกรรมเช่นเมื่อเด็กทำถูกต้องให้ชมทุกครั้ง
ให้ปริมาณการเสริมแรงที่พอเหมาะเพื่อไม่ให้ตัวเสริมแรงหมดสภาพ
เลือกตัวเสริมแรงที่เหมาะสมกับความต้องการของเด็กและมีความหลากหลาย
จัดสถานการณ์ที่เอื้ออำนวยที่ทำให้เด็กได้รับการเสริมแรงสูงเช่นการชี้แนะหรือการเลียนแบบเพื่อให้ปฏิบัติได้ง่ายขึ้นหรือไม่ยากเกินไป
สิ่งสำคัญคือบิดามารดาหรือผู้ดูแลไม่ควรคาดหวังเด็กมากเกินไปบรรยากาศไม่ควรเคร่งเครียดต้องแน่ใจว่าเด็กเข้าใจกฎระเบียบที่ตกลงไว้ก่อนแล้ว
ก่อนจะใช้วิธีลงโทษควรประเมินว่าอาการไม่พึงประสงค์มีผลต่อการกระทำชนิดใดและอยู่ในสถานการณ์ใด
ถ้าประเมินแล้วว่าอาการไม่พึงประสงค์ควรได้รับการลงโทษควรเลือกใช้เทคนิคที่มีความรุนแรงน้อยที่สุด
ควรใช้การลงโทษควบคู่กับการเสริมแรงพฤติกรรมที่เหมาะสมจะช่วยให้การลงโทษมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การลงโทษต้องให้ทันทีและทุกครั้งที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ต้องบอกให้ทราบถึงเงื่อนไขพฤติกรรมและวิธีการลงโทษที่ชัดเจน
ควรมีการบันทึกพฤติกรรมก่อนการลงโทษและหลังการลงโทษเพื่อเป็นแนวทางให้ทราบว่าการลงโทษนั้นๆมีประสิทธิภาพหรือไม่