Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อธิบายความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายของไบโอม…
อธิบายความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายของไบโอม และยกตัวอย่างไบโอมชนิดต่าง ๆ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน เขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตรง กม.ที่ 42 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอย อินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
-
-
-
-
-
-
โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำเค็ม ซึ่งได้แก่ ทะเลและมหาสมุทร ซึ่งพบได้ในปริมาณมากถึงร้อยละ 71 ของพื้นที่ผิวโลก และมีความลึกมากโดยเฉลี่ยถึง 3,750 เมตร ไบโอมแหล่งน้ำเค็มจะแตกต่างจากน้ำจืดตรงที่มีน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยกายภาพ สำคัญ
-
ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด มี 2 ระบบ คือ ชุมชนในแหล่งน้ำนิ่ง และชุมชนในแหล่งน้ำไหล การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในชุมชนแหล่งน้ำไหลแรง ส่งมีชีวิตที่อาศัยในช่วงน้ำไหลแรงจะมีโครงสร้างสำหรับเกาะหรือดูดติดกับพื้นผิวอย่างมั่นคง สามารถสกัดเมืองเหนียวใช้ยึดเกาะ เช่น หอยมีรูปร่างเพรียว เพื่อลดความต้านทานของกระแสน้ำ มีรูปร่างแบนราบไปกับพื้นที่ผิวที่เกาะชอบว่ายทวนน้ำอยู่เสมอ เกาะติดกับพื้นผิวหรือซุกซ่อนตัวตามวัตถุใต้น้ำ
-
-
-
เส้นทางเดินศิกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปานเขตอุทยานแห่งชาตืดอยอินทนนท์ ตรงกมปิที่42ของถนนสายจอมทอง-ยอดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
ป่าเขาสูงชัน หน้าดินถูกน้ำฝนชะล้างมีความหนาเพียง 1-2 เมตร ส่วนด้านในเป็นชั้นหินต้นไม้สูงใหญ่มักไม่พบรากแก้วเพราะไม่สามารถเจาะลงหินได้เมื่อมีพายุใหญ่มาต้นไม้ก็ล้มได้ง่าย
-
-
กุหลาบพันปี ปรับตัวเองให้อยู่ได้ในอากาศหนาวเย็น และลมแรง ใบเป็นแผ่น เหนียวหนา ลดการคายน้ำ กิ่งโปร่งลมผ่านสะดวก ดอกสีแดงเข้ม จะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม.
-
-
ทุ่งหญ้าสะวันนา คือระบบนิเวศทุ่งหญ้าในเขตร้อน พบมากในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรเช่นทวีปแอฟริกาเหนือ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เราก็มีเช่นเดียวกัน โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นทุ่งหญ้า มีต้นไม้ขึ้นห่างกันออกไป ต้นไม้ส่วนมากจะเป็นต้นไม้ชนิดที่ปรับตัวได้ดี สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ จึงจะทนอยู่ในสภาพอากาศร้อนได้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักเดินทางไปเที่ยวทุ่งหญ้าสะวันนาแถบแอฟริกาเพราะค่อนข้างสวยงาม แถมยังมีสัตว์ป่าตามธรรมชาติมากมายให้ได้ชม
-
-
ทะเลทราย คือบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝน 250 มม. ต่อปี และบางช่วงอาจ ไม่มีฝนตกยาวนานถึง 8-10 ปี พบได้ทั่วไปในโลก ในพื้นที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปี ทะเลทรายบางแห่งร้อนมากมีอุณหภูมิเหนือผิวดินสูงถึง 60 องศาเซลเซียสตลอดวัน บางวันแห่งมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ทะเลทรายบางแห่งซึ่งมีอากาศร้อน เช่น ทะเลทรายซาฮาราในอัฟริกา ทะเลทรายโซโนรันในเม็กซิโก มีฤดูหนาวสั้นๆ ที่ไม่หนาวมากนัก แต่ทะเลทรายบางแห่ง เช่น ทะเลทรายโกบีในมองโกเลียอาจมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งยาวนานในฤดูหนาวพืชที่พบในทะเลทรายเป็นพวกไม้พุ่มทนแล้ง พืชอวบน้ำ และพืชปีเดียว พืชที่พบในไบโอมทะเลทรายนี้มีการป้องกันการสูญเสียน้ำ โดยใบลดรูปเป็นหนาม ลำต้นอวบ เก็บสะสมน้ำดี ในทะเลทรายมีสัตว์เลื้อยคลาน พวกงูและกิ้งก่า และสัตว์ใช้ฟันกัดแทะ เช่น พวกหนูชุกชุม สัตว์ส่วนใหญ่หากินกลางคืนเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อนในตอนกลางวัน
-
-
-
-
-
-
พบกระจายทั่วไปในละติจูดกลาง ทั้งในเขตอบอุ่น และเขตร้อนของโลก เช่น ในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ประเทศจีน และในประเทศไทย ป่าผลัดใบได้รับน้ำฝนประมาณ 600-2,500 มม. ต่อปี ซึ่งมีปริมาณความชื้นเพียงพอที่ต้นไม้ใหญ่จะเจริญเติบโตได้ดี และมีอากาศค่อนข้างเย็น พรรณไม้หลักเป็นไม้ต้นใบกว้างซึ่งทิ้งใบในช่วงฤดูแล้ง หรือช่วงฤดูหนาว และผลิใบอีกครั้งเมื่อมีฝนตก ในป่าชนิดนี้และต้นไม้จะทิ้งใบหรือผลัดใบก่อนฤดูหนาว และจะเริ่มผลิใบอีกครั้งเมื่อฤดูหนาวผ่านพ้นไปแล้ว สัตว์ที่พบ เช่น กวางเอลก์ และสุนัขจิ้งจอก โดยมีต้นไม้ที่พบมีหลากหลายทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม รวมถึงไม้ล้มลุก
-
-
ทุ่งหญ้าเขตร้อนจะเป็นเขตที่พบพืชตระกูลหญ้าปกคลุมดิน มีสภาพภูมิอากาศแบบฤดูแล้งยาวนาน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีค่อนข้างต่ำพื้นดินส่วนใหญ่ขาดความอุดมสมบูรณ์หรือมีความเค็มสูง พื้นที่ที่มีระบบนิเวศแบบนี้ ได้แก่ ทุ่งหญ้าสะวันนา (Savanna) โดยทั่วไปสังคมพืชที่ประกอบด้วยหญ้าเป็นส่วนใหญ่ และส่วนที่เป็นหญ้ามีการปกคลุมพื้นที่ต่อเนื่องกันไปกว้างมากกว่า 10 เท่า ของความสูงต้นไม้ที่ปรากฏอยู่ มักจำแนกให้เป็นทุ่งหญ้าเขตร้อน หรือหากประเมินพื้นที่หญ้าปกคลุมดินควรมีมากกว่าร้อยละ 70 ทุ่งหญ้าเขตร้อนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในประเทศไทยมีพบอยู่น้อยและส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เล็ก ๆ
-
-
-
-
มีอาณาเขตตั้นแต่เส้นรุ้งที่ 60 เหนือขึ้นไปจนถึงขั้วโลก เป็นบริเวณหนาวเย็นที่มีหิมะปกคลุมเกือบตลอดปี แม้ในช่วงฤดูร้อน ซึ่งเป็นสั้นๆ ประมาณ 2-3 เดือน อุณหภูมิในฤดูร้อนเฉลี่ยต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูหนาว อากาศหนาวจัด อุณหภูมิ ต่ำกว่าจุดเยือกแข็งยาวนานกว่า 6 เดือน ฝนตกน้อย ปริมาณหยาดน้ำฟ้าประมาณ 500 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตกในรูปของหิมะ ใต้พื้นดินก็ยังเป็นน้ำแข็ง เขตทุนดรา ได้แก่ พื้นที่ของรัฐอะลาสก้า และไซบีเรีย
-
:
มีพื้นที่ครอบคลุมในเขตทวีปอเมริกาเหนือจากมหาสมุทรแปซิฟิกไปจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก รวมทั้งพื้นที่บริเวณยุโรปเหนือ สแกนดิเนเวีย รัสเซียและแถบเอเซียผ่านไซบีเรียและมองโกเลียไปทางตอนเหนือของประเทศจีนและตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น ลักษณะภูมิอากาศของไบโอมป่าสนจะหนาวเย็นและแห้ง โดยปกติจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่าจุดเยือกแข็งนานถึง 6 เดือนต่อปี มีช่วงฤดูร้อนสั้น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25-75 เซนติเมตรต่อปี ส่วนใหญ่ฝนจะตกในช่วงฤดูร้อน ไม้เด่นที่พบในป่าสน
-
-
-
-
จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี ต้นไม้จะไม่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก ต้นไม้ไม่มีความจำเป็นต้องผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ
ป่าชนิดนี้มักจะเรียกกันว่าป่าดงดิบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร) และมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มม./ปี พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด