Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ ๓ หลักการบริหารและพัฒนาองค์การ, นางสาว กุลชา มีจีน เลขที่ 4…
บทที่ ๓ หลักการบริหารและพัฒนาองค์การ
๑.การบริหารงานบุคคล
วัตถุประสงค์ของการบริหารงานบุคคล
๑. เพื่อสรรหาและเลือกสรร (recruitment and selection) ให้ได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและความประพฤติดีเข้ามาทำงาน
๒. เพื่อใช้ประโยชน์ (utilization) ของบุคคลอย่างเต็มกำลังในการทำงาน
๓. เพื่อรักษาไว้ (maintenance) ซึ่งบุคคลให้ทำงานกับองค์การนานๆ
๔. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี (relationships) ของบุคคลกลุ่มต่างๆขององค์การ
๕. เพื่อพัฒนาทักษะและเสริมสร้างความสามารถของบุคลากรให้มีสมรรถภาพเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง(development)
หลักการบริหารงานบุคคล
ระบบคุณธรรม (Merit System) เป็นระบบที่นิยม
ต้องการขจัดระบบอุปถัมภ์
หลักความเสมอภาค (equality of opportunity) ผู้มีความรู้ความสามารถ และมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดย่อมมีสิทธิ์และโอกาสเท่ากันในการแข่งขันเข้ามาทำงาน
หลักความสามารถ (Competency) เป็นการพยายามคัดเลือกให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งมากที่สุด
หลักความมั่นคง (Security of tenure)
หลักการเป็นกลางทางการเมือง (Political neutrality) มุ่งเน้นที่ข้าราชการมากกว่าวงการธุรกิจ
ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) เป็นระบบการบริหารงานบุคคลที่ตรงข้ามกับระบบคุณธรรม ส่วนใหญ่จะยึดถือหลักพวกพ้อง เครือญาติ หรือมีผู้อุปการะ
กระบวนการบริหารงานบุคคล
การวางแผนกำลังคน (Manpower Planning)
การสรรหาบุคคลและการบรรจุแต่งตั้ง
นิยมระบบคุณธรรม ในการสรรหาบุคลากรทางการพยาบาล
๑. การสรรหาจากภายนอกหน่วยงาน เช่น การเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไป
๒. การสรรหาจากหน่วยงานเดียวกัน ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นการส่งเสริมกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการบริหารงานบุคคล
๑. การสรรหาและการคัดเลือก
ข้อดี
มีโอกาสคัดเลือกพนักงานได้หลากหลาย กว้างขวาง ไม่เกิดปัญหาการขาดแคลน มีภาพพจน์ที่ดี ไม่ปิดกั้น มีโอกาสได้แนวคิดใหม่ๆมาใช้พัฒนางาน
ข้อจำกัด
สิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่าย เสียขวัญและกำลังใจของพนักงาน ปิดโอกาสความก้าวหน้าของพนักงานภายใน ต้องศึกษาพนักงานใหม่อย่างรอบคอบ อาจเกิดข้อขัดแย้งระหว่างพนักงานเดิม – พนักงานใหม่
๒. การพัฒนาบุคลากร
๑. การฝึกอบรมทางด้านความรู้ (Knowledge Skill)
๒. การฝึกอบรมทางด้านเทคนิค (Technical Skill)
๓. การฝึกอบรมทางด้านมนุษยสัมพันธ์(Human Skill
๔. การฝึกอบรมทางด้านความคิด (Conceptual Skill)
๓. การบำรุงรักษาบุคลากร
ทฤษฎีแรงจูงใจเกี่ยวกับการเสริมแรงจูงใจ
๑. การเสริมแรงจูงใจในทางบวก (positive reinforcement) หมายถึง การให้สิ่งจูงใจที่บุคลากรต้องการหรือชื่นชอบ
๒. การเสริมแรงจูงใจในทางลบ (negative reinforcement) หมายถึง การกำหนดเงื่อนไขที่บุคลากรทำงานไม่ต้องการหรือไม่ชอบ
๓. การระงับพฤติกรรม (extinction) เพื่อลดการกระทำพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
๔. การลงโทษ (Punishment) เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
แรงจูงใจภายนอก
แรงจูงใจภายใน
๔. การประเมินผลการปฏิบัติงาน
๑) Self-Appraisal การประเมินตนเอง เป็นแบบประเมินที่มุ่งให้พนักงานพัฒนาตนเอง และลดการต่อต้านในการประเมินผล
๒) Management by objective การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดเป็นเกณฑ์
๓) Psychological Appraisal/Competency Appraisal การประเมินผลเชิงจิตวิทยา มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการจ้างนักจิตวิทยาเข้ามาวัดประเมินศักยภาพในอนาคตของพนักงาน
๔) Assessment Centers ศูนย์ประเมิน ใช้การประเมินหลายรูปแบบและมีผู้ประเมินหลายคน
๒. การบริหารพัสดุ
วัตถุประสงค์การบริหารพัสดุ
เพื่อควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
เพื่อจัดหาพัสดุให้เพียงพอต่อการใช้อยู่ตลอดเวลา
เพื่อประหยัดงบประมาณหรือเงินบำรุงในการจัดซื้อพัสดุ
ง่ายต่อการตรวจสอบ ป้องกันทุจริต
พัสดุหมายความว่าวัสดุครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
วัสดุหมายถึงสิ่งของที่มีลักษณะไม่คงทนถาวรใช้แล้วสิ้นเปลืองหมดไปหรือสลายตัวไปในระยะสั้น
ครุภัณฑ์หมายถึงสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรมีอายุการใช้งานยาวนานไม่เป็นของใช้สิ้นเปลือง
๓. การบริหารงบประมาณ (Budget)
มาตรฐานการจัดการทางการเงิน คือ การรายงานผลการดำเนินงาน เป็นภารกิจและความตระหนักที่หน่วยงาน ได้จัดทำข้อตกลง การปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณและเป้าหมายที่จะดำเนินงานในแต่ละปี
ความสำคัญและประโยชน์ของงบประมาณ
๑) ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารหน่วยงาน
๒) ให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาหน่วยงาน
๓) เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้มีประสิทธิภาพ
๔) เป็นเครื่องมือกระจายทรัพยากร และเงินงบประมาณที่เป็นธรรม งบประมาณสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดสรรงบประมาณที่เป็นธรรมไปสู่จุดที่มีความจำเป็นและทั่วถึงที่จะทำให้หน่วยงานนั้นสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕) เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์งานและผลงานของหน่วยงาน
บทบาทของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ
๑) ผู้บริหารจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญของงบประมาณ
๒) ผู้บริหารจะต้องจัดองค์กรและวางแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับงบประมาณ
๓) ผู้บริหารจะต้องจัดบุคลากรที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานงบประมาณที่ต่อเนื่องและมีข้อมูลในด้านต่างๆไว้พร้อม
๔) ผู้บริหารจะต้องจัดเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการบริหารงานงบประมาณไว้ครบถ้วน
๔. การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)
รูปแบบของการเปลี่ยนแปลง
๑. การเปลี่ยนแปลงเชิงรุก (Proactive) เป็นการเปลี่ยนแปลงตนเองก่อนที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงจากผู้อื่น
๒. การเปลี่ยนแปลงเชิงรับ (Reactive) เป็นการถูกเปลี่ยนแปลงโดยผู้อื่นตัวเองไม่ยอมที่จะเปลี่ยนแปลง
องค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงในองค์การ
เทคโนโลยี (Technology)
ระเบียบสังคม (Social Order)
อุดมการณ์ (Ideology)
การขั้นตอนการบริหารการเปลี่ยนแปลง
๑. การวางแผนการเปลี่ยนแปลง (Planning for Change)
๒. การนำแผนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ (Implementing Change)
๓. การติดตามประเมินผลและรักษาผลการเปลี่ยนแปลง (Evaluating and Maintaining Change)
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
แรงต่อต้าน
ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียประโยชน์
ความรู้สึกหวั่นไหวต่อความคลุมเครือ
การขาดความรู้ความเข้าใจที่ดีพอเกี่ยวกับแนวทาง วิธีการ และจุดหมายปลายทางของการเปลี่ยนแปลง
ความไม่เชื่อถือ ไว้วางใจ ไม่เชื่อใจกัน
แรงเสริม
ความไม่พึงพอใจในสภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่
ความสามารถในการรับรู้ข่าวสารร่วมกันในหมู่คนในองค์การ
ภาพลักษณ์และการปฏิบัติตนของผู้นำที่แสดงถึงความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังต่อการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลในตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มตำแหน่งผู้บริหาร
ความจำเป็นขององค์การที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการดำเนินการ
สัมพันธภาพระหว่างบุคลากรในฝ่ายและระดับต่างๆ ในองค์การ
กลไกในการประเมิน ทบทวนสภาพภายในองค์การ
การได้ติดต่อสัมพันธ์กับภายนอกองค์การ ซึ่งทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์
นางสาว กุลชา มีจีน เลขที่ 4 (603101004)