Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Hyperthyroidism - Coggle Diagram
Hyperthyroidism
อาการของไทรอยด์เป็นพิษ
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
ผู้ป่วยมาด้วยอาการเมื่อยล้า, สั่น, ใจสั่น, คัน, ตาแดง, opthalmopathyโรคทางตา และ exopthalmosตาโปน
สาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษ
สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษ เกิดขึ้นจากการที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ จนทำให้ร่างกายมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าความต้องการของร่างกาย และมีสภาวะเป็นพิษ จนส่งผลต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ โดยไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจาก 3 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่
โรคเกรฟวส์ (Graves' Disease) จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนไทโรซีนออกมามากผิดปกติจนกลายเป็นพิษ ซึ่งยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าโรคเกรฟวส์นั้นเกิดจากอะไร พบเพียงแต่ว่าโรคดังกล่าวมักเกิดขึ้นในผู้หญิงในวัยรุ่นและวัยกลางคน อีกทั้งยังเป็นได้ว่าเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยการสูบบุหรี่จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคเกรฟวส์มากขึ้น
การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ เป็นกรณีที่พบได้น้อย เนื้องอกที่เกิดบริเวณไทรอยด์ และเนื้องอกที่เกิดบริเวณต่อมใต้สมอง อาจส่งผลให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษได้
การอักเสบของต่อมไทรอยด์ (Thyroiditis) การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุของต่อมไทรอยด์สามารถส่งผลต่อการทำงานของของต่อมไทรอยด์ได้ โดยการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะทำให้ฮอรโมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนรั่วไหลออกไปที่กระแสเลือด ทั้งนี้การอักเสบของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นอาการไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้น้อย สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บได้
การได้รับการเสริมฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษ
-
-
-
พยาธิของโรค
คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่อยู่ส่วนหน้าของบริเวณลำคอใต้ลูกกระเดือก และติดกับหลอดลม มีลักษณะคล้ายผีเสื้อ ลักษณะทางกายภาพของต่อมแบ่งเป็นทั้งหมด 2 ซีก คือ ซีกซ้ายและซีกขวา ซึ่งต่อมทั้ง 2 ซีกจะเชื่อมกันด้วยเนื้อเยื่ออิสมัส (Isthmus) โดยต่อมไทรอยด์จะทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนไทโรซีน (Thyroxine - T4) และฮอร์โมนไทรไอโอโดไทโรนีน (Triiodothyronine - T3) ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการเผาผลาญของร่างกายและฮอร์โมนแคลซิโทนิน (Calcitonin) ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในระบบไหลเวียนของเลือด ซึ่งถ้าหากเกิดความผิดปกติจนทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ฮอร์โมนไทโรซีน และฮอร์โมนไทรไอโอโดไทโรนีน ก็จะถูกผลิตออกมามากจนกลายเป็นพิษ
ผู้หญิงอายุ 32 ปีคนนี้ถูกเรียกตัวในปี 2551 ด้วยโรคเกรฟ เธอมาด้วยอาการเมื่อยล้า, สั่น, ใจสั่น, คัน, ตาแดง, opthalmopathyโรคทางตา และ exopthalmosตาโปนแพทย์เฉพาะทางเริ่ม carbimazole
carbimazole แต่เธอไม่ทราบ ในเดือนกันยายน 2008 ผลแสดงให้เห็นว่า FT4 73.6, TT3> 12.5, TSH <0.05 และ + TPO antibodies -> 1300
-
-
การพยาบาล
ไทรอยด์เป็นความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถดูแลและป้องกันได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องคอยหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยเคยป่วยด้วยโรคไทรอยด์เป็นพิษหากสิ้นสุดการรักษาแล้ว การติดตามผลในระยะยาวก็อาจเป็นสิ่งที่จำเป็น ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค เพื่อไม่ให้โรคไทรอยด์เป็นพิษกลับมาเป็นซ้ำอีก หากสูบบุหรี่ก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ความเสี่ยงโรคไทรอยด์เป็นพิษมากขึ้น โดยในการติดตามผล แพทย์จะสั่งให้ตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ เพื่อเฝ้าระวังอาการและเตรียมรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ