Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หัวข้อที่ 2 การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด และการสื่อสารเพื่อการบำบัด,…
หัวข้อที่ 2 การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด และการสื่อสารเพื่อการบำบัด
สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย (Nurse – Patient Relationship)
เป้าหมายในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วย
ตระหนักในตนเอง ยอมรับตนเอง และเพิ่มความนับถือตนเองให้มากขึ้น
รู้จักตนเองดีขึ้น และปรับปรุงตัวเองด้านความคิดและการแสดงออก
มีความสามารถที่จะสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับผู้อื่น พึ่งพาผู้อื่นพอควร มี
ปรับปรุงการกระทำหน้าที่ในการดำรงชีวิต และเพิ่มความสามารถที่จะทำตามความต้องการ
และความจำเป็นต่าง ๆ
ให้โอกาสผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกไม่สบายใจ ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจปัญหาของตนเอง และเกิด
การเรียนรู้ในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมได้
ระยะการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด (Phase of therapeutic relationship)
1.ระยะก่อนการสนทนา (Pre interacting phase)
1.1 เตรียมตัวให้ชัดเจนในด้านเป้าหมายของการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
1.2 วางแผนการสนทนาในแต่ละครั้งเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การสนทนา สถานที่ เวลา และ
ให้ข้อมูลต่าง ๆ กับทีมผู้รักษาได้ร่วมรับรู้
1.3 ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของผู้ป่วยเกี่ยวกับแผนการรักษาที่ผ่านมา ปัญหาที่เคยเกิดขึ้น และภูมิหลังบางประการ เช่น อาชีพ สถานภาพการสมรส
1.4 พยาบาลควรตรวจสอบสภาพด้านร่างกายและจิตใจของตนเองให้มีความพร้อมในด้าน
แนวความคิด และความรู้สึกในการเข้าไปสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
2.ระยะเริ่มต้นของสัมพันธภาพ (Initiating phase)
การเตรียมสถานที่และบรรยากาศให้น่าไว้วางใจ
เมื่อพบหน้ากันควรกล่าวทักทายด้วยท่าทางเป็นมิตร พูดคุยเรื่องทั่วไปก่อน แนะนำตัว มาจากไหน บอกวัตถุประสงค์ บอกบทบาทหน้าที่
กำหนดของตกลงในการสร้างสัมพันธภาพ เช่นวัตถุประสงค์ ระยะเวลาที่สนทนา ระยะเวลาที่ดูแล
สร้างความไว้วางใจ โดยดารพแสดงถึงการยอมรับ ความเข้าใจ การเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ป่วย ความสม่ำเสมอ ไวต่อความรู้สึก การรับฟัง ทั้งคำพูดและการกระทำ
การค้นหา หรือระบุปัญหาที่แท้จริง เช่น การเสริมให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก ค้นหาความคิดความเชื่อต่อปัญหาที่เกิดขึ้น การสนองตอบต่อปัญหาหรือความกังวลที่เกิดขึ้น
ปัญหาที่พบ
ความวิตกกังวล (Anxiety) เกิดขึ้นได้ทั้งผู้ป่วยและพยาบาล ผู้ใช้บริการวิตกกังวลว่าพยาบาลเป็นคนแปลกหน้า ไม่เคยชินกับสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพยาบาล
การทดสอบ (Testing) ผู้ใช้ บริการมักจะทดสอบขอบเขตของสัมพันธภาพ
การต่อต้าน (Resistance) ผู้ป่วยไม่รับรู้ และไม่มีสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพยาบาล อาจเป็นเพราะประสบการณ์เรื่องมนุษย์สัมพันธ์ในอดีตของผู้ป่วยในอดีต
3.ระยะแก้ไขปัญหา (Working phase)
สิ่งที่พยาบาลควรปฏิบัติในระยะนี้
รักษาสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ค้นหาสาเหตุปัญหา หรือสิ่งที่มากระทบการดำเนินชีวิต โดยให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก และพยาบาลต้องรับฟัง ยอมรับ เข้าใจ และติดตามเรื่องราวต่างของผู้ป่วย
ประเมินการเจ็บป่วยว่ามีผลกระทบอย่างไรบ้างกับชีวิต
ร่วมกับผู้ป่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุ และกลไกของปัญหาต่าง ๆ วิธีแก้ไขปัญหา หรือปรับปรุงพฤติกรรมให้เหมาะสม
สนับสนุนด้านจิตใจ เช่น การให้เวลา ให้กำลังใจ ให้ข้อมูล
ข้อบ่งชี้ที่ทำให้พยาบาลทราบว่า สัมพันธภาพเข้าสู่ระยะแก้ไขปัญหาแล้วเช่น
ผู้ป่วยจะเลิกถามถึงวัตถุประสงค์ที่พยาบาลพบเขา
ผู้ป่วยจะมาตรงตามเวลานัดหรือ มาคอยพยาบาลในทีนัดหมาย
ผู้ป่วยจะรักษาเวลา จะพยายามรวบรัดเรืองราวให้จบภายในเวลาทีพยาบาลให้
ผู้ป่วยจะพูดถึงปัญหา และความยุ่งยากของเขา พูดออกนอกเรืองน้อยมาก
ผู้ป่วยจะพูดเชื่อมโยงเหตุการณ์ในครั้งก่อน ๆ กับเหตุการณ์ในครั้งหลังๆ
– ผู้ป่วยจะแจ้งให้พยาบาลทราบ ถ้าเขามีเหตุขัดข้องมาพบพยาบาลไม่ได้
ปัญหาที่พบในระยะนี้
1.ความวิตกกังวลของพยาบาล
มีความรู้สึกร่วมกับผู้ป่วย (Sympathy) เป็นความรู้สึกที่พยาบาลเข้าไปร่วมกับความรู้สึกของผู้ป่วยโดยที่พยาบาลแยกความรู้สึกของตนเองไม่ได้
การถ่ายโยงความรู้สึกของผู้ป่วยไปสู่พยาบาล (Transference) ปฏิกิริยาและความรู้สึกทุกชนิดที่ผู้ป่วยมีต่อพยาบาล
การถ่ายโยงความรู้สึกของพยาบาลไปสู่ผู้ป่วย (Counter transference) ซึ่งก็คล้ายกับTransference ที่อาจจะเป็นได้ทั้งด้านบวก
4.ระยะยุติสัมพันธภาพ (Termination phase)
การเตรียมผู้ป่วย
1.1 ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาลแต่ต้องยุติสัมพันธภาพ เพราะนักศึกษาหมดระยะเวลา
ในการฝึกปฏิบัติงาน
1.1.1 ควรบอกให้ผู้ป่วยทราบ ถึงระยะเวลาที่นักศึกษาจะยุติสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
ล่วงหน้าซึ่งนักศึกษาควรบอกกับผู้ป่วยตั้งแต่วันแรกว่านักศึกษาจะมาสนทนา กับผู้ป่วยนานเท่าไรและบอกผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ
1.1.2 บอกให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการอะไรที่ดีขึ้นของผู้ป่วยว่ามีอะไรบ้าง รวมทั้ง
อาการที่ยังต้องแก้ไข หรือปัญหาอะไรบ้างที่ได้แก้ไขไปแล้ว และปัญหาอะไรบ้างที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
1.1.3 บอกถึงประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับจากการสนทนากับผู้ป่วย และประเมิน
ถึงประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับจากการสนทนากับนักศึกษาพยาบาล
1.1.4 ประเมินความรู้สึกของผู้ป่วยต่อการยุติสัมพันธภาพ
1.1.5 บอกแหล่งที่ผู้ป่วยสามารถขอความช่วยเหลือได้ เช่น เจ้าหน้าที่ของหอผู้ป่วย
หรือนักศึกษาพยาบาลในกลุ่มใหม่ที่มาฝึกปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วย
1.2 ในกรณีที่ผู้ป่วยกลับบ้าน ควรมีการเตรียมตัวผู้ป่วยกลับบ้านดังนี้
1.2.1 บอกถึงอาการของผู้ป่วยที่ดีขึ้น และอาการของผู้ป่วยที่ต้องแก้ไข (ถ้ามีอาการหลงเหลืออยู่)
1.2.2 แนะนำข้อปฏิบัติในการดูแลสุขภาพ
สำหรับพยาบาลควรสรุปในส่วนที่ได้ร่วมแก้ปัญหากับผู้ป่วยโดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในตัวผู้ป่วย พร้อมกับส่งเสริมความมั่นใจในความสามารถที่จะช่วยตนเองของผู้ป่วย
ประเมินปฏิกิริยาของผู้ป่วยในระยะยุติสัมพันธภาพและให้เวลาผู้ป่วยได้บอกความรู้สึก
ยุติหรือสิ้นสุดสัมพันธภาพในรูปแบบของวิชาชีพ โดยบอกผู้ป่วยให้ชัดเจนและเตรียมผู้ป่วยให้สามารถเผชิญปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
ปฏิกิริยาต่อการยุติสัมพันธภาพ (Reaction to termination) ทั้งพยาบาลและผู้ป่วยจะเกิดความรู้สึกวิตกกังวล เนื่องจากการแยกจากกัน (Separation anxiety)
ด้านพยาบาลจะเกิดความรู้สึกเศร้า เพราะเกิดความรู้สึกผูกพันกับผู้ป่วย เป็นห่วงผู้ป่วยกลัวไม่มีใครเข้าใจผู้ป่วย กลัวผู้ป่วยจะไม่หาย หรือกลัวว่าผู้ป่วยจะมีอาการทางจิตกลับเป็นซ้ำ
ด้านผู้ป่วยจะมีปฏิกิริยาต่อการยุติสัมพันธภาพกับพยาบาลดังนี้
2.1 ไม่ยอมรับการยุติสัมพันธภาพ (Denial) เช่น ขอที่อยู่เพื่อที่จะติดต่อทางจดหมาย ขอรูป
พยาบาลไว้ดูต่างหน้า ขอไปเยี่ยมที่บ้าน
2.2ไม่ยอมรับในตัวพยาบาล (Reject) ผู้ป่วยมองการยุติสัมพันธภาพของพยาบาลว่าพยาบาลไม่
ยอมรับผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งผู้ป่วยจึงแสดงออกโดยการไม่ยอมรับในตัวพยาบาล
2.3 โกรธและไม่เป็นมิตร (Anger and hostility) ซึ่งแสดงออกได้ทั้งคำพูดและท่าทาง
เช่น การไม่มาพบพยาบาลตามเวลาที่นัดหมาย การพูดคุยแบบผิวเผิน
2.4 มีพฤติกรรมถดถอย (Regression) อาจมีการป่วยมากขึ้น เพื่อที่พยาบาลจะได้ดูแลเขาต่อไป
2.5 มีความรู้สึกเศร้า (grief) ที่พยาบาลจะต้องจากไป การเตรียมตัวผู้ป่วยล่วงหน้าให้ทราบ
ถึงการยุติสัมพันธภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับการยุติสัมพันธภาพได้
การสื่อสารเพื่อการบำบัด (Therapeutic Communication)
องค์ประกอบที่มีผลต่อการสื่อสารเพื่อการบำบัด
สถานที่ (place or setting) สถานที่ที่ใช้ในการสนทนา เพื่อให้การสื่อสารระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ
ท่านั่ง (seating) หรือการจัดที่นั่งรวมถึงลักษณะท่าทางของผู้สนทนา ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ควรคำนึงถึงเนื่องจากการสื่อสารกับผู้ป่วย ต้องใช้ระยะเวลาในการสนทนาครั้งละ 30-60 นาที รวมทั้งท่านั่งและท่าทีของผู้สนทนาเป็นการสื่อความหมาย
ระยะห่างระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย (space) หากระยะห่างระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยมีมากเกินไป ก็จะทำให้การสื่อสารขาดความชัดเจนห่างเหิน ในทางกลับกันหากระยะห่างใกล้ชิดเกินไป จะทำให้ผู้สนทนารู้สึกอึดอัด
เทคนิคการสื่อสารเพื่อการบำบัด เทคนิคที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้การบำบัดเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้ในการให้การช่วยเหลือผู้ป่วย
เทคนิคการกระตุ้นและส่งเสริมการสนทนา
Using broad opening Statement หมายถึง การใช้คำพูดกว้างๆโดยใช้คำถามง่ายๆ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเลือกหัวข้อในการสนทนา ผู้ป่วยอาจพูดในสิ่งที่กังวลใจ
Using general lead หมายถึง การใช้คำพูด หรือแสดงออกว่าพยาบาลกำลังฟัง สนใจในสิ่งที่ผู้ป่วย พูดและอยากให้เขาพูดต่อ
Restating หมายถึง เป็นการพูดทวนเนื้อหาหรือใจความสำคัญในสิ่งที่ผู้รับบริการพูด อาจจะทวนซ้ำทั้งหมดหรือเฉพาะข้อความสำคัญ
Questioning หมายถึง การตั้งคำถามทั่วไปเพื่อเปิดประเด็นการสนทนา และรวบรวมข้อมูล
เทคนิคที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดระบายความคิดความรู้สึก
Reflecting (content/feel) หมายถึง กล่าวซ้ำสะท้อนความคิดความรู้สึกโดยใช้คำพูดใหม่ที่มีความหมายและความรู้สึกเดิม
Accepting/Listening หมายถึง การยอมรับผู้รับบริการ และสิ่งที่ผู้รับบริการพูด อาจแสดงออกด้วยท่าทาง น้ำเสียง หรือ คำพูด เช่น การพยักหน้า การฟังโดยไม่โต้แย้ง/คัดค้านไม่แก้ตัวแทนบุคคล ที่ผู้ป่วยกล่าวถึง
8.Sharing observation หมายถึง การบอกในสิ่งที่พยาบาลสังเกตเห็น เกี่ยวกับตัวผู้รับบริการให้ผู้รับบริการทราบ
9.Using silence หมายถึง ผู้ป่วยคิดไตร่ตรองและพูดความรู้สึกตนเองพยาบาลจะสังเกตพฤติกรรมผู้ป่วย
10.Giving information หมายถึง การให้ข้อมูลที่เป็นจริง
11.Presenting reality หมายถึง เป็นการให้ความจริงแก่ผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยมีความคิดหรือการรับรู้ที่ผิดไปจากความเป็นจริง
เทคนิคการส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
12.Giving recognition หมายถึง แสดงความจำและระลึกได้
13.Listening หมายถึง การฟัง
Offering self หมายถึง เป็นการเสนอตนเองเพื่อรับฟังปัญหา ให้การช่วยเหลือ หรืออยู่ เป็นเพื่อนผู้ป่วยในยามที่ผู้ป่วยรู้สึกไม่ดี/เศร้า/หวาด กลัว/ไม่แน่ใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
positive reinforcement หมายถึง การให้แรงเสริมทางบวก
เทคนิคที่ช่วยพยาบาลกับผู้ป่วยเข้าใจให้ตรงกัน
16.Clarifying หมายถึง เป็นการขอคำอธิบายเพิ่มเติม ในกรณีที่ผู้ป่วยพูดคลุมเครือ/มีความหมายไม่ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถ
17.Verbalization implied thought and feeling หมายถึง ผู้ป่วยตระหนักถึงความรู้สึกตนเองในเมื่อผู้ป่วยพูดเป็นนัยๆให้พยาบาลเข้าใจเอง เราควรสอบถามความรู้สึกที่แท้จริงก่อน
18.Validating หมายถึง การตรวจสอบความรู้สึกของผู้ป่วย
เทคนิคช่วยส่งเสริมความเข้าใจในการปรับตัวผู้ป่วย
19.Exploring หมายถึง เป็น การสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูล/ปัญหา/รายละเอียดเกี่ยวกับผู้รับ บริการและเรื่องราวของเขามากขึ้น เพื่อที่จะทำความเข้าใจใน เรื่องราวของผู้ป่วยมากขึ้น
20.Focusing หมายถึง มุ่งความสนใจให้อยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
21.Encouraging evaluation หมายถึง การขอให้ผู้ป่วย ประเมินประสบการณ์ หรือสถานการณ์ที่ผู้ป่วยเคยเผชิญมาก่อน
22.Encouraging formulation of a plan of action หมายถึง การสนับสนุนให้ผู้ป่วยวางแผนในอนาคต เป็นการเตรียมผู้ป่วยให้วางแผนเลือกพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเหตุการณ์ในอนาคต
23.Summarizing หมายถึง การสรุปเนื้อหา ด้วยคำพูดสั้นๆเพื่อให้ได้ใจความทั้งหมด หรือสรุปประเด็นการ สนทนา/การให้ความช่วยเหลืออาจจะใช้เมื่อผู้รับบริการพูด/เล่า เรื่องราวยาว ๆ หรือสรุปประเด็น เมื่อสิ้นสุดการสนทนา
หลักปฏิบัติในการสื่อสาร
ฟังทั้งเนื้อหาและเจตนาว่าผู้ป่วยพูดถึงอะไรหมายความว่าอย่างไร
ไม่เสนอข้อมูลมากเกินไปจนทำให้ผู้ป่วยสับสน เบื่อหน่าย
ไม่พูดถึงอดีตที่ปวดร้าวเกินไป ขณะที่ผู้ป่วยยังไม่พร้อม
สื่อสารที่เน้นเรื่องราวที่เป็นปัจจุบัน
ใช้หลักการสื่อสารที่ให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสระบายความรู้สึก
ใช้หลักการต่างๆที่ง่ายๆ ชัดเจน ตรงไปมา
ให้สำคัญกับความสอดคล้องระหว่างเนื้อหา คำพูด ท่าทาง สีหน้า และน้ำเสียงของพยาบาล
อุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร (Block to therapeutic Communication)
การใช้เทคนิคการสนทนาไม่เหมาะสม
1.1 การใช้คำปลอบโยน "อดทนไว้ เดี๋ยวก็ดีขึ้น"
1.2 การให้คำแนะนำ "คุณควรจะ….."
1.3 การแสดงการเห็นด้วยกับข้อคิดเห็นหรือการกระทำผู้ป่วยเช่น "คุณทำถูกแล้ว"
1.4 การแสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นหรือการกระทำผู้ป่วยเช่น"คุณไม่น่าทำแบบนี้"
1.5 การขอคำอธิบาย
1.6 การดูถูกความรู้สึกผู้ป่วย
การดำเนินวิธีการสื่อสาร และใช้เทคนิคการสื่อสารที่ไม่เหมาะสมเช่น การที่พยาบาลไม่ฟัง พยาบาลพูดมากหรือน้อยเกินไป
สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมเช่น มีผู้ป่วยอื่นมาวุ่นวาย
ข้อจำกัดทางอาการของผู้ป่วย
ท่านั่ง ที่แสดงถึงความไม่สนใจผู้ป่วย เช่นนั่งกอดอก นั่งไขว่ห้าง การจดบันทึก
ระยะห่างระหว่างบุคคลมาหรือน้อยเกินไป
ปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาในกระบวนการของสัมพันธภาพ
ผู้ป่วยไม่มาตามนัด
วิธีแก้ไข
ตามหาผู้ป่วย
นัดหมายใหม่ อาจต้องจัดเวลาและสถานที่ใหม่
เตือนผู้ป่วยล่วงหน้าก่อนถึงวันนัด
จดวัน เวลานัดให้ผู้ป่วยในใบนัด
ผู้ป่วยมาพบตามนัด แต่มาช้าเป็นประจำ
วิธีแก้ไข
พิจารณาว่าผู้ป่วยรู้จักเวลาหรือไม่ (ผู้ป่วยที่มีอาการมากบางรายอาจไม่รู้จักเวลาและสถานที่)
คุยเตือนกับผู้ป่วยเรื่องเวลานัดที่เคยตกลงไว้ว่าเริ่มเวลาเท่าใด และเลิกเวลาเท่าใด
พยาบาลไปให้ตรงเวลา และรอผู้ป่วย ณ สถานที่นัดอย่างสงบ
พูดคุยกับผู้ป่วยเรื่องเหตุผลที่มาพบช้ากว่าเวลานัด
จบการสนทนาตามเวลาที่ได้กำหนดไว้
พยาบาลเองเป็นฝุายมาช้ากว่าเวลานัด หรือต้องของเปลี่ยนเวลานัด
วิธีแก้ไข
ให้แจ้งผู้ป่วยโดยตรง หรือผ่านบุคคลที่จะส่งข่าวให้ผู้ป่วยทราบหรืออาจเขียนบอก
ขอโทษ และให้เหตุผล
นัดหมายใหม่ให้เหมาะสม
ผู้ป่วยขอให้การสนทนาจบเร็ว ๆ กว่าเวลาที่กำหนดไว้ หรือขอเปลี่ยนกำหนดการนัด
วิธีแก้ไข
สำรวจความต้องการที่ขอเช่นนั้น
ปฐมนิเทศใหม่ถึงเรื่องเวลากำหนดการนัดตามที่ได้ตกลงกันไว้ในตอนแรก
กำหนดการนัดหมายใหม่ตามความเหมาะสมของทั้งสองฝ่าย
ผู้ป่วยลุกออกไปจากการสนทนาอย่างกะทันหัน
วิธีแก้ไข
ถามว่า “คุณกำลังจะไปไหน”
และหากว่าผู้ป่วยกำลังเดินออกไป พยาบาลบอกผู้ป่วยต่อไปเลยว่า “ดิฉันจะนั่งรอคุณอยู่ที่นี่จนกระทั่งเวลา……..” (ตามกำหนดของเวลานัดในครั้งนั้น)
พยาบาลนั่งรอในห้องนั้น
รอการกลับของผู้ป่วยในห้องอย่างสงบ และไม่ออกไปจากที่นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ไปทำกิจกรรมอื่นแทน
ผู้ป่วยปฏิเสธไม่ยอมให้
วิธีแก้ไข
-พยาบาลต้องฟังการปฏิเสธอย่างสงบ
พยาบาลจดบันทึกข้อมูลการสนทนา
ผู้ป่วยต้องการอ่านข้อความที่บันทึกวิธีแก้ไข
-อนุญาตให้อ่านได้ (ผู้ป่วยมีสิทธิจะรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง)
ผู้ป่วยตั้งคำถามว่าจะมีใครอ่านบันทึกที่พยาบาลบันทึกเกี่ยวกับตนบ้าง
วิธีแก้ไข
-อธิบายให้ชัดเจนว่าจะมีใครบ้างที่จะอ่านข้อมูลเหล่านี้ พยายามให้ผู้ป่วยได้ทราบว่าข้อมูลเหล่านี้แม้ว่าจะมีผู้รับทราบบ้าง แต่ก็จะเป็นบุคคลในทีมสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลโดยตรงเท่านั้น และเป็นความลับสำหรับบุคคลอื่น ๆ
-อภิปรายย้ำเรื่องข้อตกลงที่ได้เคยสนทนากันมาก่อน
นางสาว พิชยา หนูจักร เลขที่6 รหัสนศ.612001086 36/2
นางสาว สุวิมล เหี้ยมหาญ เลขที่51 รหัสนศ.612001132 36/2