Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิด ( Family Planning and Contraception) -…
การวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิด
( Family Planning and Contraception)
ยาแผ่นแปะผิวหนังคุมกำเนิด
( Contraceptive Patches )
วิธีใช้
ใช้แผ่นละ 1 สัปดาห์ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ แล้วเว้น 1 สัปดาห์ การเริ่มแปะแผ่นแรกมี 2 วิธี คือ1.แปะแผ่นแรกในวันที่มีประจำเดือนวันแรก นับเป็นวันที่ 1 ของการใช้ 2.แปะแผ่นแรกในวันอาทิตย์ ระหว่างสัปดาห์ที่มีประจำเดือนมา นับเป็นวันที่ 1 ของการใช้
บริเวณที่เหมาะสมในการแปะแผ่นยา
-บริเวณต้นแขนด้านนอก แผ่นหลังช่วงบน สะโพกและหน้าท้อง
-เมื่อเปลี่ยนแผ่นใหม่ ไม่ควรแปะซ้ำรอยเดิม แต่แปะคนละด้านได้
-ไม่แนะนำให้แปะบริเวณเต้านม
-ก่อนแปะไม่ควรใช้เครื่องสำอางหรือครีมทาผิว
วิธีปฏิบัติเมื่อลืมเปลี่ยนแผ่นยา
1.ถ้าลืมเปลี่ยนภายใน 2 วัน ให้เปลี่ยนแผ่นใหม่ทันทีที่จำได้ และเปลี่ยนแผ่นถัดไปตามกำหนด ไม่ต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย
2.ถ้าลืมเปลี่ยนแผ่นนานกว่า 2 วัน หยุดใช้ และเริ่มต้นการแปะแผ่นในรอบใหม่ และในช่วง 7 วันแรก ใช้วิธีคุมกำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วย
ข้อปฏิบัติถ้าแผ่นยาหลุดลอกออก
1.ถ้าหลุดลอกออกภายใน 1 วัน ให้ปิดแผ่นเดิมให้สนิท หรือเปลี่ยนแผ่นใหม่ทันทีถ้าปิดแผ่นเดิมไม่ได้ แล้วเปลี่ยนแผ่นยาตามกำหนดเดิม 2.ถ้าหลุดลอกนานเกิน 1 วัน หยุดใช้แผ่นเดิม เริ่มเริ่มแปะใหม่ให้นับเป็นรอบใหม่ และใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย ในช่วง 7 วันแรก
ข้อดี
-ประจำเดือนมาตรงเวลา
-ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูง
-ไม่ต้องกังวลเรื่องการรับประทานยา เมื่อเปรียบเทียบกับยาคุมกำเนิดนิดรับประทาน
ข้อเสีย
-ในช่วงรอบเดือนแรกที่ใช้แผ่นยา อาจจะมีเลือดออกกะปริดกะปรอย
-ต้องเปลี่ยนแผ่นยาทุก 7 วัน
-อาจมีการลอกหลุดของแผ่นยาได้
อาการข้างเคียง
-เจ็บตึงหน้าอก
-คลื่นไส้ อาเจียน
-ปวดศีรษะ
-ระคายเคืองผิวบริเวณที่แปะแผ่นยา
ห่วงอนามัย
( Intrauterine Device - IUD )
กลไกในการคุมกำเนิด
1.ยับยั้งการว่ายของอสุจิขึ้นไปสูส่วนบนของมดลูกและท่อนำไข่
2.เปลี่ยนแปลงขบวนการปฏิสนธิ หรือการผสมกันระหว่างตัวอสุจิกับไข่
3.เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนตัวของไข่
ข้อห้ามโดยเด็ดขาด
1.ตั้งครรภ์
2.หลังคลอด หรือหลังแท้งติดเชื้อ
3.มีการอักเสบในอุ้งเชิงกราน
4.มีเลือดออกจากช่องคลอด
5.มะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี
6.เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก
ข้อควรระวัง
1.หลังคลอดตั้งแต่ 2วันขึ้นไปจนถึง 4 สัปดาห์
2.ครรภ์ไข่ปลาอุก
3.โรคทางอายุรกรรมที่ติดเชื้อได้ง่าย เช่น เบาหวาน ไต หัวใจ
4.โรคโลหิตจาง
5.เคยมีประวัติแพ้ทองแดง
คำแนะนำ
1.ชนิดของห่วงและระยะเวลาที่ต้องเปลี่ยน
2.อาการข้างเคียงที่พบบ่อยในช่วง 2-3 เดือนแรก เช่นปวดท้องน้อย เลือดออกผิดปกติ
3.อาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์เช่นปวดท้องหรือปวดท้องขณะมีเพศสัมพันธ์ มีไข้ หนาวสั่น ขาดประจำเดือน เลือดออกมาก คลำสายห่วงอนามัยไม่พบ
4.ตรวจสายห่วงหลังมีประจำเดือนและหลังมีเพศสัมพันธ์