Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดพื้นฐานในการบำบัดรักษาทางจิต การใช้ตนเองเพื่อการบำบัด - Coggle…
แนวคิดพื้นฐานในการบำบัดรักษาทางจิต
การใช้ตนเองเพื่อการบำบัด
การที่พยาบาลจิตเวชโดยใช้ “ตนเอง” เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกของความเป็นจริง การรู้จักตนเองของพยาบาลจิตเวชจึงมีความสำคัญ เพราะการที่พยาบาลรู้จักตนเองจะทำให้พยาบาลเข้าใจผู้ป่วย ในบริบทชีวิตต่างๆได้
พยาบาลต้องเข้าใจในมโนมติพื้นฐาน 3 ประการคือ
อัตมโนทัศน์ (self concept)
เป็นความคิดการรับรู้และการประเมินผลที่บุคคลมีต่อตนเองซึ่ง อาจจะตรงกับความเป็นจริงหรือคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
แบ่งออกเป็น 2 ด้าน
1.ตัวตนด้านร่างกาย (physical self) คือ การรับรู้เกี่ยวกับร่างกายของตนเอง ความเป็นจริงที่ตนเองเป็นอยู่
2.ตัวตนส่วนบุคคล (personal self) คือ การรับรู้คุณค่าของตนเอง เป็นความรู้สึกที่คนขอบข้างทำให้เขารู้สึกถึงคุณค่าของตนเองทั้งด้านความเชื่อ ความคาดหวัง อัตมโนทัศน์ส่วนบุคคลแบ่งออกเป็น 4 ด้าน
1.ตัวตนด้านศีลธรรมจรรยา (moral-ethical self) เป็นการรับรู้เกี่ยวกับถูกผิดที่บุคคล ประเมินตนเองจากการกระท าที่สอดคล้องหรือฝ่าฝืนค่านิยมทางศีลธรรมจรรยาที่ตนเอและยึดถืออยู่ในใจ
2.ตัวตนด้านความสม่ำเสมอแห่งตน (self-consistency) เป็นการรับรู้ในลักษณะประจำตัวบางอย่างของตัวเอง ซึ่งมีลักษณะคงที่
3.ตัวตนด้านความคาดหวัง ( self expectation) เป็นความรู้สึกนึก คิดเกี่ยวกับตนเอง จะตั้งความคาดหวังว่าอยากเป็นอย่างไร และจะพยายามเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นอย่างที่ตั้งปณิธานไว้
4.ตัวตนด้านการยอมรับนับถือตนเอง (self esteem) เป็นความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับคุณค่าของตนเองในหลายๆด้าน จะประเมินตนเองจากสิ่งที่เป็นกับสิ่งที่ตั้งเป้าไว้ว่าสอดคล้องกันหรือไม่ทำให้เกิดความรู้สึกภูมิใจ
ความตระหนักรู้ในตนเอง (Self awareness)
เป็นภาวะที่บุคคลรู้สึกตัวของตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ณ ขณะนั้นรู้ว่าตนเองเป็นใครคิดและรู้สึกอย่างไรกำลังทำอะไรอยู่
เครื่องมือในการดูแล
ผู้ป่วยประกอบด้วย
1.การตระหนักรู้ในตนเองในฐานะบุคคล เพราะบุคคลมีความแตกต่างกัน มีลักษณะเฉพาะตนเอง
2.การตระหนักรู้ในฐานะวิชาชีพ ใช้สัมพันธภาพทางวิชาชีพขณะติดต่อสื่อสารเพื่อบำบัดทางจิตให้ผู้ป่วยดีขึ้น
แนวทางในการเพิ่มการตระหนักรู้ตนเอง
2.รับฟังและเรียนรู้จากผู้อื่น โดยการที่ตัวเราต้องเปิดใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่เขาวิเคราะห์ วิจารณ์ พฤติกรรมของเราในสถานการณ์ต่าง ๆ
3.การเปิดเผยตนเอง โดยการบอกความรู้สึก ความต้องการของตนเองที่เกิดขึ้นอย่างธรรมชาติ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจะช่วยให้ผู้อื่น รู้จักตัวเรามากขึ้น
1.เพื่อพิจารณาตนเอง โดยการให้เวลาตนเองพิจารณาความคิด อารมณ์และพฤติกรรมที่อาจมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้อื่น พยายามเรียนรู้พฤติกรรมของตัวเองให้มากที่สุด
ประโยชน์
1.ทำให้ทราบถึงความคิดความรู้สึก อารมณ์ และสามารถควบคุมความเครียดได้
2.ทำให้ติดต่อกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความเข้าใจและเป็นไปในรูปแบบของการบำบัดได้
3.สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะรู้ตัวอยู่ทุกขณะในการทำงาน
4.ทำให้เป็นคนที่มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน และดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
สามารถปรับตัวให้เข้ากับงาน คน สิ่งแวดล้อมได้
อัตตา/ตัวตนของตนเอง (self)
ส่วนรวมทั้งหมดของบุคคลทั้งทางด้าน ร่างกายความคิดความรู้สึกความเชื่อค่านิยมและพฤติกรรมที่บุคคลนั้นเป็นอยู่หรือมีอยู่ตามความเป็นจริง
คุณสมบัติที่จำเป็นในการใช้ตนเองเพื่อการบำบัด
ความสอดคล้อง คือการสอดคล้องทั้งคำพูดและการกระทำ โดยเฉพาะการสื่อความหมายกับผู้ป่วยจิตเวชซึ่งผู้ป่วยมักจะรับรู้ได้เร็ว
ความอดทน คือการอดทนที่จะให้เวลาและโอกาสสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการ ต้องอดทนที่จะศึกษาผู้ป่วยติดตามดูแลความก้าวหน้าของผู้ป่วย
5.เข้าใจความรู้สึก คือตระหนักรู้ว่า ขณะที่ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมต่างๆ นั้นผู้ป่วยรู้สึกอย่างไร เป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ตนเองเพื่อการบำบัด ความคิดความรู้สึกต่อตนเองจะดีขึ้น เกิดความไว้วางใจ กล้าที่จะเปิดเผยตนเองมากขึ้น
ท่าทีอบอุ่น เป็นการแสดงออกทางท่าทางมากกว่าแสดงออกทางคำพูด โดยต้องวางตัวเสมือนเป็นพี่เลี้ยงของผู้ป่วย ให้ความช่วยเหลือในข้อเรียกร้องที่ไม่เกินขอบเขต
6.ความจริงใจ ต้องเน้นมากเพราะผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตนั้นเป็นผลมาจากการไม่ได้รับความจริงใจจากบุคคลอื่น โดยแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มีความต้องการใด ๆ ส่วนตัวแอบแฝงอยู่
ให้การยอมรับ คือการยอมรับในตัวบุคคลที่ผู้ป่วยเป็นซึ่งเป็นการยอมรับที่ผู้ป่วยเป็นอย่างนั้น และให้ความสนใจในพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออก
9.ให้ความเคารพ (Respect) เมื่อพยาบาลพิจารณาว่าบุคคลมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีและมีศักยภาพ
ไม่ตัดสินผู้อื่น ไม่เอามาตรฐานสังคมของพยาบาลไปตัดสินพฤติกรรมหรือการกระทำของผู้ป่วย ยกเว้นพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่างๆ
10.เชื่อถือได้ การมีลักษณะของความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวชส่วนมากมีพื้นฐานขาดความไว้วางใจผู้อื่น
11.การเปิดเผยตัวเอง สามารถบอกความรู้สึกความคิดเห็นและประสบการณ์ส่วนตัวเองให้ผู้ป่วยรับรู้ได้ การเปิดเผยตัวอย่าง เหมาะสมจะเป็นแบบอย่างที่ดีในการให้ผู้ป่วยเปิดเผยความรู้สึกของตัวเอง และกล้าที่จะสำรวจความรู้สึก ของตัวเองมากขึ้น
บุคคลทุกคนมีคุณค่า ต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วยโดยเชื่อว่าบุคคลทุกคนมีศักดิ์ศรี การที่พยาบาลให้เกียรติและเคารพในความเป็นบุคคลของผู้ป่วยจะเป็นแรงเสริมให้ผู้ป่วย เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเอง
12.มีความรู้ พยาบาลต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อเป็น แนวทางในการทำความเข้าใจสาเหตุกลไกการเจ็บป่วยทางจิตและพฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกมาของผู้ป่วย
13.มีความสม่ำเสมอ ทั้งด้านอารมณ์และพฤติกรรมทั้งต่อบุคคล ทำให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจและมีความเชื่อถือพยาบาล