Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การลดความกลัวในการทำหัตถการในเด็ก :smiley: - Coggle Diagram
การลดความกลัวในการทำหัตถการในเด็ก :smiley:
เด็กวัยก่อนเรียน (อายุ 3-5 ปี)
ตัวอย่างการเบี่ยงเบนความสนใจที่สามารถลดความกลัวของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนได้
การเล่นบทบาทสมมุติ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยใช้ตุ๊กตามาแสดงบทบาทเป็นพยาบาล รวมทั้งใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เป็นทั้งของจริงของเล่นจำลองมาประกอบการเล่น
2.เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจโดยให้ฟังเทปนิทานเพลงขณะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
3.พยาบาลสวมใส่ชุดคลุมลายการ์ตูน ไม่สวมหมวกพยาบาล พาผู้ป่วยเด็กไปยังห้องหัตถการได้ตกแต่งด้วยภาพลายการ์ตูน และมีของเล่นเด็ก
การจัดการกับความกลัวในเด็กวัยก่อนเรียน
1.การให้ข้อมูล เพื่อเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ โดยอธิบายเกี่ยวกับการทำหัตถการ เพื่อลดจินตนาการที่มากเกินไป
2.การผ่อนคลายความตึงเครียด ใช้วิธีการพูด สัมผัส ปลอบโยนให้กําลังใจ นำสิ่งที่เด็กสนใจมาดึงดูด
3.การเสริมสร้างกําลังใจ ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจและมีประสบการณ์ที่ดี
4.การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย
5.จัดสิ่งแวดล้อม สร้างบรรยากาศห้องหัตถการให้มีแสงสว่างเพียงพอ สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวกช่วยลดปฏิกิริยาทางจิตใจแก่เด็ก
เด็กวัยก่อนเรียนอายุระหว่าง 3-6 ปี มีความคล่องแคล่ว อยากรู้อยากเห็น ชอบเลียนแบบ ต้องการอิสระ มีความคิดสร้างสรรค์ อธิบายรูปภาพได้ เมื่อเด็กป่วยจะมีความกลัวใน 3 เรื่องที่สำคัญ คือ กลัวในสิ่งที่ไม่รู้ กลัวถูกทอดทิ้ง และกลัวเสียอวัยวะ เด็กวัยก่อนเรียนเริ่มมีจินตนาการต่างๆ กันทั้งทางด้านบวกและด้านลบ อาจมีความกลัวต่อหัตถการการรักษาต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย จึงมีจินตนาการไปในทางลบได้
การประมินความกลัว
การวัดทางสรีรวิทยา เช่น HR RR BP1&
การประเมินจากพฤติกรรม เช่น การแสดงสีหน้าและแววตา ลักษณะการเคลื่อนไหวของแขนขา น้ำเสียง คำพูด การร้องไห้ เป็นต้น
การประเมินด้วยตนเองให้เด็กบอก ความรู้สึกของตนเอง โดยเลือกภาพใบหน้าที่สื่อความหมายถึงระดับความกลัว
การทดสอบด้วยภาพ ให้เด็กวาดภาพ พูดคุยเกี่ยวกับภาพที่วาดได้
เด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี)
เด็กวัยเรียนหมายถึงเด็กที่มีช่วงอายุ 6-12 ปี เป็นวัยที่เริ่มมีความคิดเป็นของตนเอง มีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ดีและมีคุณภาพมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถคิดหาเหตุผลได้ ไม่เข้าใจเกี่ยวกับร่างกายของตนเอง การเจ็บป่วย และการรักษา ทำให้เด็กวัยเรียนมีความเชื่อว่าการดูแลรักษาที่เด็กไม่ชอบนั้นเป็นการลงโทษ และเด็กจะคิดเชื่อมโยงเหตุการณ์กับประสบการณ์ในดีตทำให้เด็กเกิดความกลัวและต่อต้านได้
สาเหตุความกลัวของเด็กวัยเรียน
1.ความกลัวที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น บิดามารดา โดยจะเห็นจากถ้าบิดามารดาแสดงพฤติกรรมกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ตนเองได้รับรู้ เด็กมักจะมีความกลัวในสิ่งเหล่านั้นด้วยเช่นกัน
2.ความกลัวที่เกิดขึ้นตามวุฒิภาวะ มักเกิดจากความคับข้องใจ ความคาดหวังของครอบครัว การแข่งขัน และการไม่ยอมรับจากเพื่อนๆ
3.ความกลัวที่เกิดขึ้นจากจินตนาการ
ลักษณะความกลัวของเด็กวัยเรียน
-วัยเรียนตอนต้น 6-8 ปี จะมีความกลัวตามจินตนาการตนเองและสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น กลัวผี กลัวเสียงฟ้าร้อง หลังจากนั้นจะเริ่มมีความกลัวตามสิ่งที่เห็นและจินตนาการของตนเอง
-วัยเรียนตอนปลาย 8-12 ปี จะมีความกลัวที่เป็นรูปธรรมและมีเหตุผลมากขึ้น เช่น กลัวคนแปลกหน้า กลัวการติดเชื้อ กลัวความเจ็บปวด และกลัวเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง เป็นต้น
ความกลัวของผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาล
จากงานวิจัยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่ศึกษาจากผู้ป่วยเด็กจำนวน 8 คน
1.ความกลัวเกี่ยวกับอุปกรณ์ในโรงพยาบาล
2.ความกลัวเกี่ยวกับบุคลากรในโรงพยาบาล
3.ความกลัวเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตน
4.ความกลัวการแยกจากบุคคลใกล้ชิด
5.ความกลัวอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยในโรงพยาบาลหรือครอบครัว
การประเมินความกลัวในเด็กวัยเรียนแบบมาตรวัดความกลัวโดย
1.การประเมินจากพฤติกรรมการแสดงออก(behavoir rating scales) เช่น การแสดงสีหน้าและแววตา ลักษณะการเดิน การเคลื่อนไหว
2.การประเมินโดยการทดสอบด้วยภาพ (projective test) เช่น เด็กที่กลัวเข็มฉีดยาจะวาดภาพเข็มฉีดยาให้มีขนาดใหญ่กว่าตนเอง หรือเปลี่ยนรูปร่างจากความจริง
3.การประเมินทางสรีรวิทยา (physiological techniques) เช่น การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ มีเหงื่อออก ความเกร็งของผิวหนัง
4.การประเมินโดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง (self-report method) ได้แก่ child medical fear scale (CMFS)
5.แบบมาตรวัดความกลัวโดยประเมินจากรูปภาพ,thai state-trait anxiety inventory for children-revised(T-STAIC-R) เป็นต้น
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความกลัว
1.ให้ความสนใจเด็กวัยเรียนและครอบครัว
2.หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์ทางการแพทย์
3.ให้ความสำคัญและซักถามในสิ่งที่เด็กและครอบครัวมีความกังวล
4.ให้เด็กและครอบครัวมีส่วนร่วมในการรักษาให้มากที่สุด
5.สร้างเป้าหมายหรือความคาดหวังร่วมกัน
6.ให้กำลังใจเด็กและครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ
ผลของโปรแกรมการใช้สื่ออารมณ์ขันต่อความกลัวของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ศึกษาโดยใช่เด็กวัยเรียน 6-12 ปีที่ต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 24 คน กลุ่มควบคุม12 คน กลุ่มทดลอง 12 คน ใช้แบบประเมินระดับความกลัวโดยภาพการแสดงออกทางใบหน้า แบบบันทึกอัตราการเต้นของชีพจร แบบสังเกตพฤติกรรมของเด็กวัยเรียน พบว่าเด็กที่ได้รับโปรแกรมการใช้สื่ออารมณ์ขันมีค่าเฉลี่ยคะแนนความกลัวโดยภาพการแสดงออกทางใบหน้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
สาเหตุของความกลัวการทำหัตถการในเด็กในเด็ก
สิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล
-อุปกรณ์การตรวจ
-เครื่องใช้ประจำวันที่แปลกไป
-แสง สี เสียง
-คนแปลกหน้า
การแยกจาก
-บิดาและมารดา
-ผู้เลี้ยงดู
-ของใช้ส่วนตัว
ความเจ็บปวดและความไม่สุขสบาย
-จากการตรวจรักษา
-จากอาการของโรค
การสูญเสียการควบคุม
-ถูกrestain
-ถูกจำกัดกิจกรรม
-การให้IV
การสูญเสียภาพลักษณ์
-ถูกผ่าตัด
เครื่องมือวัดความกลัวในการทำหัตถการเด็ก
Newborn & Infant Pain Scale (NIPS)
เป็นเครื่องมือที่ประเมินจากพฤติกรรม โดยพิจารณาจากสีหน้า การร้องไห้ การหายใจ ลักษณะแขนขา และระดับการตื่น ระดับคะแนนตั้งแต่ 0-7 คะแนน
ช่วงอายุ แรกเกิด – 1ปี
Children’s Hospital of Eastern Ontario Pain Scale (CHEOPS)
เป็นเครื่องมือที่ประเมินจากพฤติกรรม โดยพิจาณาจากการร้องไห้ สีหน้า การส่งเสียง ท่าทางของลำตัว การสัมผัสที่แผลหรือบริเวณที่เจ็บปวด ลักษณะขา มีระดับคะแนนตั้งแต่ 4-13 คะแนน
ช่วงอายุ 1-6 ปี
Faces Pain Scale
เป็นเครื่องมือที่ประเมินด้วยตนเอง โดยให้เด็กชี้หรือบอกระดับความรู้สึกของตนเองผ่านภาพ ลักษณะสีหน้าแสดงความเจ็บปวด ก่อนที่จะให้เด็กเลือกภาพ ต้องอธิบายให้เด็กเข้าใจระดับที่เริ่มตั้งแต่ความรู้สึกไม่เจ็บปวดเลย ไปจนถึงระดับที่เจ็บปวด ช่วงอายุ 3-4 ปี
Visual Analog Scale (VAS)
เป็นเครื่องมือที่ประเมินด้วยตนเอง โดยให้เด็กกากบาทหรือชี้ไปบนเส้นรงที่ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร โดยไม่มีตัวเลขให้เห็น ช่วงอายุ 5 ปีขึ้นไป
เอกสารอ้างอิง
วชรีกร อังคประสาทชัย,และยุนี พงศ์จตุรวิทย์.(2561).ความกลัวของเด็กวัยเรียนที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า.35(2).222-230.
อลิษา ทรัพย์สังข์, เสน่ห์ ขุนแก้ว และมณฑา อุดมเลิศ.(2560).การจัดการกับความกลัวความเจ็บปวดจากการแทงเข็มในเด็ก. วารสารพยาบาลทหารบก,18(1). สืบค้น 14 พฤษภาคม 2563, จาก
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/dowload/101577/78695/
พัชนี สมกำลัง, สมสมร เรืองวรบูรณ์, สุชาดา ปราบมีชัย. (2561). การประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการความกลัวในเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนมฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ25ปี, 196-202.
จิตสิริ รุ่นใหม่ และ ดวงกมล มงคลศิลป์.(2561). ผลของการใช้เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจร่วมกับการนัดสภาพแวดล้อมต่อความกลัวการได้รับสารน้ำทาวหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2563, จาก
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/apnj/article/download/160930/116049/
พัชมณฑ์ เกษรบัว. (2558). ผลของโปรแกรมการใช้สื่ออารมณ์ขันต่อความกลัวของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
พริมา ปวโรจน์กิจ, ปริชวัน จันทร์ศิริ, ณภัควรรต บัวทอง. (2562). การเล่นบทยาทสมมุติทางการแพทย์ เพื่อจัดการกับความเครียดต่อหัตถการเจาะเลอดในผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์. วารสาร Chula Med Bull. 323-335
ทัศนีย์ ไทยนิรันประเสริฐ, สมพร สุนทราภา, ศศิธร จันทรทิณ และฤดีมาศ อัยวรรณ. (2560). ผลของการใช้หนังสือการ์ตูนต่อความกลัวการได้รับยาพ่นแบบฝอยละอองในผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารพยาบาลศาสตร์, 35(3). สืบค้นวันที่ 14 พฤษภาคม 2563, จาก
http://www.pccms.ac.th/wp-content/uploads/2018/09/8.pdf