Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล - Coggle Diagram
สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล
สถิติบรรยาย และสถิติอ้างอิง
สถิติบรรยาย (descriptive statistics)
2) การวัดการกระจาย (measure of dispersion หรือ variability)
1) การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (measure of central tendency)
สถิติอ้างอิง (inferential statistics)
สถิติที่ใช้ในการประมาณ
ค่าพารามิเตอร์ของประชากรที่กลุ่มตัวอย่างนั้นถูกเลือกมา
สถิติทดสอบ เป็นสถิติที่ใช้ในการทดสอบ
สมมติฐานเพื่ออ้างอิงผลสรุปที่ได้จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างไปยังกลุ่มประชากร
สถิติพาราเมตริก และสถิตินอนพาราเมตริก
สถิติพาราเมตริก (parametric statistics)
กลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่มากกว่า 30 ขึ้นไป
ข้อมูลต้องมีระดับการวัดแบบมาตราอัตราส่วน
หรือมาตราอันตรภาค
มีการแจกแจงแบบปกติ
สถิตินอนพาราเมตริก (non-parametric statistics)
ทดสอบสมมติฐาน ที่ไม่คำนึงถึงการแจกแจงของข้อมูลในกลุ่มประชากร
ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเล็กน้อยกว่า 30
ใช้ได้กับข้อมูลที่มีระดับการวัดแบบมาตราเรียงอันดับหรือมาตรานามบัญญัติก็ได้
กรณีที่ข้อมูลมีระดับการวัดแบบมาตราอัตราส่วนหรือมาตราอันตรภาค
สถิติที่ใช้บรรยายลักษณะของตัวแปรในกลุ่มตัวอย่าง หรือประชากร
การวัดการกระจาย (measure of dispersion หรือ variability)
พิสัย (range) คือ ผลต่างของค่าสูงสุดกับค่าต่าสุดของข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ
พิสัยควอไทล์ (interquartile range: IQR) คือ ค่าความแตกต่างของข้อมูลด้วยระยะห่างในลำดับที่ 3 และลำดับที่ 1 เหมาะสำหรับวัดการกระจายของชุดข้อมูลที่มีข้อมูลสูงหรือต่ำมากมากผิดปกติ(outliers) และใช้การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางโดยใช้ค่ามัธยฐาน
ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (quartile deviation: Q.D.) คือ ค่าครึ่งหนึ่งของผลต่างระหว่างควอล์ไทล์ที่ 3 กับ ควอไทล์ที่ 1 ของข้อมูลชุดหนึ่งๆ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation: S.D.) คือ การวัดการกระจายของข้อมูลชุดหนึ่งๆ (data variability) ได้จากการถอดรากที่ 2 ของค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนนแต่ละค่ากับค่าเฉลี่ยยกกำลังสอง
ความแปรปรวน (variance) คือ ค่ากำลังสองของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (coefficient of variation: CV) คือ การวัดการกระจายของข้อมูลต่างชนิดกัน ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนที่มีค่าใกล้ศูนย์จะหมายถึงมีการกระจายน้อย ส่วนใหญ่จะใช้ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของการกระจายระหว่างชุดข้อมูล
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (measure of central tendency)
มัธยฐาน (median) ค่ากลางของชุดข้อมูลที่เป็นค่าที่อยู่ตำแหน่งตรงกลางเมื่อนำข้อมูลชุดหนึ่งๆมาเรียงลำดับ
ฐานนิยม (mode) คือ กลางของชุดข้อมูลที่เป็นที่มีความถี่ของข้อมูลซ้ำกันมากที่สุดของข้อมูลชุดหนึ่งๆ
ค่าเฉลี่ย (mean) คือค่ากลางที่ได้จากการนำข้อมูลทั้งหมดในข้อมูลชุดหนึ่งๆ มารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด
ลักษณะเส้นโค้งความถี่ของข้อมูลเชิงปริมาณ
เบ้ขวา (positively skewed distribution หรือ right-skewed) จะมีค่ามัธยฐานน้อยกว่าค่าเฉลี่ย
เบ้ซ้าย (negatively skewed distribution หรือ left-skewed) จะมีค่ามัธยฐานมากกว่าค่าเฉลี่ย
เส้นโค้งความถี่สมมาตร หรือลักษณะของการกระจายแบบสมมาตร (normal distribution,Gaussian distribution หรือ bell-shaped) เรียกว่า การแจกแจงแบบปกติ (normal distribution) มีคุณลักษณะ คือ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยมมีค่าเท่ากัน
ความโด่ง (kurtosis) เป็นค่าที่ใช้วัดความโด่งของเส้นโค้งการกระจายข้อมูล ข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบปกติจะให้ภาพที่มีเส้นโค้งที่สมมาตรกันและมีค่าความโด่งเท่ากับศูนย์ โค้งที่มีความโด่งสูงกว่าโค้งปกติ
การนำเสนอข้อมูลสถิติบรรยาย สามารถการนำเสนอด้วยตาราง กราฟ แผนภูมิ และแผนภาพ
การเลือกใช้สถิติบรรยาย
มาตราอันดับ (ordinal scale) เพิ่มมัธยฐาน (median) ควอไทล์ (quartile) เดไชด์ (decile)เปอร์เซนไทล์ (percentile) ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (quartile deviation)
มาตราอันตรภาค (interval scale) หรือ มาตราอัตราส่วน (ratio scale) เพิ่มค่าเฉลี่ย(mean) พิสัย (range) ความเบ้ (skewness) ความโด่ง (kurtosis) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standarddeviation,SD.) ความแปรปรวน (variance)
มาตรานามบัญญัติ (nominal scale) ใช้ความถี่ (frequency, f) ร้อยละ (percentage, %) ฐานนิยม (mode)
การทดสอบสมมติฐาน
ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน
กำหนดสมมติฐานว่างและสมมติฐานทางเลือก
กำหนดระดับนัยสำคัญที่ต้องการทดสอบ
การเลือกสถิติทดสอบ
หาค่าตัวทดสอบสถิติโดยใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
ตัดสินใจยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ที่ระดับนัยสำคัญที่กำหนด
สรุปผลการทดสอบ
การยอมรับ H0 ถ้าค่าสถิติที่คำนวณได้ตกอยู่ในเขตยอมรับ
ปฏิเสธ H0 ถ้าค่าสถิติที่คำนวณได้ตกอยู่ในเขตวิกฤติ ซึ่งหมายถึงการยอมรับ H1
ความหมายและการจำแนกประเภทสมมติฐาน
สมมติฐานการวิจัย (research hypothesis)
สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (non-directional hypothesis)
สมมติฐานแบบมีทิศทาง (directional hypothesis)
สมมติฐานทางสถิติ (statistical hypothesis)
สมมติฐานศูนย์ (null hypothesis, H0)
สมมติฐานทางเลือก (alternative hypothesis, H1)
การทดสอบการแจกแจงปกติ
สถิติทดสอบการแจกแจงแบบปกติ
สถิติทดสอบการแจกแจงแบบปกติที่นิยมใช้ ได้แก่ Kolmogorov-Smirnov test, Shapiro-Wilk test
การตรวจสอบการแจกแจงโดยใช้กราฟ ทำได้หลายวิธี ได้แก่ histogram, stem and leaf, box plot,
normal probability plot, detrended normal plot
สถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างประชากร
สถิติที่ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย
ของตัวแปรตามจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม
กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระจากกัน ใช้สถิติทดสอบ independent t-test
กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระจากกัน ใช้สถิติทดสอบ dependent t-test
สถิติที่ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรตามจากกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่ม
เรียกว่า การวิเคราะห์ความแปรปรวน (analysis of variance, ANOVA) ใช้สถิติทดสอบ F-test
สถิติที่ใช้ทดสอบค่าเฉลี่ยใน 1 กลุ่มตัวอย่าง (one sample test for the mean)
กลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่ (≥30) และทราบค่าความแปรปรวน ใช้สถิติทดสอบ Z-test
กลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก (≤30) และไม่ทราบค่าความแปรปรวน
ใช้สถิติทดสอบ t-test
การเลือกสถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวแปร
สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation, rxy)
ข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติ
ข้อมูลมีความสัมพันธ์เชิงเส้น
ข้อมูลที่จะนามาหาสหสัมพันธ์ต้องได้มาจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน ได้จากการสุ่มเลือกค่าอย่างเป็นอิสระจากประชากร (random selection)
สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman correlation)
ข้อมูล 2 กลุ่มมีจำนวนเท่ากัน
การแจงแจงข้อมูลไม่เป็นโค้งปกติ
กลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก
ข้อมูลมีความสัมพันธ์เชิงเส้น
ข้อมูลมีค่าไม่ต่อเนื่อง อยู่ในมาตราเรียงอันดับ