Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 รายงานการประเมินตนเองและ แนวทางการเขียนรายงาน, นางสาวมัลลิกา…
บทที่ 8
รายงานการประเมินตนเองและ
แนวทางการเขียนรายงาน
มโนทัศน์ที่ถูกต้อง
รายงานประจำปีของสถานศึกษาเป็นรายงานฉบับเดียวกันกับรายงานที่ส่งเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก
รายงานประจำปีของสถานศึกษาเป็นเอกสารที่รวบรวม
ข้อมูลสารสนเทศจากการประเมินโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี
รายงานประจำปีของสถานศึกษาเป็นรายงานผลตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต้องสอดคล้องกับ
มาตรฐานการศึกษาของชาติมาตรฐานการศึกษาของต้นสังกัดและอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
รายงานประจำปีของสถานศึกษาเป็นเอกสารที่สำคัญของ
สถานศึกษาที่ทุกคนในสถานศึกษาต้องช่วยกัน
จัดทำรายงาน
รายงานประจำปีเป็นการนำเสนอผลการจัดการศึกษาของ
สถานศึกษา
รายงานประจำปีของสถานศึกษาเมื่อจัดทำเสร็จแล้วต้อง
นำสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน
การประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
สถานศึกษาต้องนำผลการประเมินคุณภาพภายในและผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปประกอบการจัดทำแผน
พัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
การประเมินตนเองเป็นการให้ข้อมูลที่ช่วยให้มีการปรับปรุงและหรือพัฒนาการทำงานของตนเองให้ดีขึ้นและปฏิบัติ
งานให้มีคุณภาพสูงขึ้น
การประเมินคุณภาพภายในเป็นภารกิจที่ต้องนำผลไปใช้
ประโยชน์ในการพัฒนาสถานศึกษา
มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน
รายงานประจำปีของสถานศึกษากับรายงานที่ส่งเพื่อขอ
ประเมินคุณภาพภายนอกเป็นรายงานคนละฉบับ
รายงานประจำปีของสถานศึกษา คือ มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา คือ มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษา
รายงานประจำปีของสถานศึกษาเป็นเอกสารของสถาน
ศึกษาที่รับผิดชอบโดยครูวิชาการและผู้บริหารเท่านั้น
รายงานประจำปีของสถานศึกษา เมื่อจัดทำเสร็จแล้วให้เสนอหน่วยงานต้นสังกัดแล้วเก็บไว้
สถานศึกษาต้องนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปประกอบการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
ของสถานศึกษาโดยไม่ต้องใช้ผลการประเมิน
คุณภาพภายใน
รายงานประจำปีของสถานศึกษาเป็นการรายงานผลเฉพาะ
งาน โครงการ/กิจกรรมในแผนปฏิบัติการประจำปี
รายงานประจำปีของสถานศึกษากับแผนปฏิบัติการประจำปีไม่เกี่ยวข้องกัน
รายงานประจำปีของสถานศึกษาไม่เกี่ยวข้องกับครู เป็นงานของผู้บริหารสถานศึกษา
รายงานประจำปีไม่ต้องทำทุกปีการศึกษา ทำเฉพาะในปีที่จะขอรับการประเมินคุณภาพภายนอก
แนวคิดการจัดทำรายงาน
การประเมินตนเองของสถานศึกษา
การจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา
หมายถึงการจัดทำรายงานการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรอบปีที่ผ่านมาที่เป็นผลมาจากการ
ดำเนินงานทั้้งหมดของสถานศึกษา
วัตถุประสงค์การจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา
เพื่อนำผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาใน
รอบปีที่ผ่านมาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เป็นฐานในปีต่อไป
ประโยชน์การจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา
ทำให้สถานศึกษามีฐานข้อมูลการดำเนินงานพัฒนา
คุณภาพการจัดการศึกษาทั้งในด้านจุดเด่น จุดที่ต้อง
พัฒนา โอกาส และข้อจำกัด
ทำให้สถานศึกษามีข้อมูลสารสนเทศเชิงประจักษ์ซึ่งจะ
ช่วยกระตุ้นให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้เกี่ยวข้องให้
ความสำคัญและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุก
ฝ่ายได้รับทราบผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถาน
ศึกษาทั้งในส่วนที่ดีและส่วนที่ควรพัฒนา
หน่วยงานต้นสังกัด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มีฐานข้อมูลในการกำหนดนโยบายการพัฒนาการจัดการ
ศึกษาทั้งระดับประเทศและระดับเขตพื้นที่
สถานศึกษาใช้รายงานประจำปีเพื่อรับรองการประเมิน
คุณภาพภายในโดยหน่วยงานต้นสังกัด และการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
ขั้นตอนการจัดทำรายงาน
การประเมินตนเองของสถานศึกษา
แต่งตั้งคณะทำงาน
สถานศึกษาควรแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำรายงานการ
ประเมินตนเองของสถานศึกษา ประกอบด้วยคณะ
กรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู และบุคลากรผู้มีส่วน
เกี่ยวข้อง
รวบรวมข้อมูลสารสนเทศ
ซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่จะต้องรวบรวมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา 2) ข้อมูลที่เป็นผล
การประเมิน
เขียนรายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา
สถานศึกษาสามารถกำหนดรูปแบบรายงาน
ประเมินตนเองของสถานศึกษาได้ทั้งในเชิง ปริมาณ
และคุณภาพตามความเหมาะสม การนำเสนอ
อาจเป็นความเรียง ตารางประกอบ ความเรียง
การบรรยายประกอบแผนภูมิ รูปภาพ หรือกราฟ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน
ประกอบด้วย จำนวนบุคลากร จำนวนนักเรียน ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนทุกระดับชั้นผลการ
ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
นำเสนอผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานการศึกษา
4 มาตรฐาน โดยแต่ละมาตรฐานนำเสนอในประเด็น
กระบวนการพัฒนา ผลการดำเนินงาน จุดเด่น
และจุดควรพัฒนา
ส่วนที่ 3 สรุปผล แนวทางการพัฒนา และความต้องการการช่วยเหลือ
นำเสนอสรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
โดยนำภาพรวมจากการประเมินทั้ง 4 มาตรฐาน
มานำเสนอในรูปแบบของจุดเด่น จุดควรพัฒนา
ของแต่ละมาตรฐาน
ส่วนที่ 4 ภาคผนวก
นำเสนอหลักฐานข้อมูลสำคัญ หรือเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ
แบบย่อ ๆ
นำเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาให้ความ
เห็นชอบเพื่อรับรองผลการประกันคุณภาพภายในของ
สถานศึกษา
รายงานและเปิดเผยต่อผู้เกี่ยวข้อง
ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง หน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลากหลายตามความเหมาะสม
องค์ประกอบของรายงานการประเมิน
ตนเองของสถานศึกษา
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลครูบุคลากร นักเรียน ผลสัมฤทธิ์
ผลการสอบระดับชาติ งบประมาณ สภาพชุมชน
ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้
บริหารสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้
เรียนเป็นสำคัญ
มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มี
ประสิทธิผล
ผลการประเมินภาพรวม
ส่วนที่ 3 สรุปผล แนวทางการพัฒนา และความต้องการการช่วยเหลือ
จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แนวทางการพัฒนาในอนาคต
ความต้องการช่วยเหลือ
ส่วนที่ 4 ภาคผนวก
นางสาวมัลลิกา อ่อนประชู
วิทยาลัยการศึกษาแขนงวิชาชีววิทยา Sec 7