Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาการนิเทศ และการสร้างเครือข่ายการนิเทศ - Coggle Diagram
การพัฒนาการนิเทศ และการสร้างเครือข่ายการนิเทศ
เทคนิคและนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา
ในปัจจุบันสภาพของสังคมเปลี่ยนแปลงไป
การจัดการศึกษา หลักสูตร การจัดการเรียนรู้การวัด
และประเมินผล การบริหารจัดการศึกษาและการนิเทศ
การศึกษาก็เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้การปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูและการบริหารจัดการศึกษา
ของผู้บริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพอันส่งผล
ถึงคุณภาพการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีนวัตกรรมมาใช้
ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา เพื่อให้การปฏิบัติงานนิเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา
นวัตกรรมการนิเทศที่เป็นเทคนิคหรือกิจกรรม
ได้แก่ การนิเทศภายในเชิงระบบ การนิเทศแบบคลินิก
การนิเทศแบบโค้ช เป็นต้น
นวัตกรรมที่เป็นสื่อ เครื่องมือนิเทศ เช่น คู่มือการนิเทศ ชุดฝึกอบรม หรือ เอกสารประกอบการนิเทศต่าง ๆ
นวัตกรรมที่เป็นสื่อเทคโนโลยี เช่น
ระบบการนิเทศออนไลน์ คลิปประกอบการนิเทศ
โทรศัพท์มือถือเพื่อการนิเทศ เป็นต้น
หลักการนำนวัตกรรมทางการนิเทศมาใช้
มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา หรือพัฒนางาน คือ มีผลการทดลอง
ทฤษฎี หรือหลักการ รองรับ
ตรงกับปัญหาที่ต้องการแก้ไขหรือพัฒนา
มีหลักฐานยืนยันว่าเคยทดลองใช้
ในสถานการณ์จริงแล้ว และสามารถแก้ปัญหาได้
ถ้าเป็นนวัตกรรมประเภทวิธีการ
ต้องมีขั้นตอนการใช้นวัตกรรม
ถ้าเป็นนวัตกรรมประเภทสื่อ
ต้องบอกว่าสื่อนั้นใช้อย่างไร
มีในหน่วยงาน/สถานศึกษาใด
ต้องระลึกเสมอว่า ไม่มีนวัตกรรมใดเป็นสูตรสำเร็จ
ในการพัฒนางาน ในบางครั้ง นวัตกรรมที่วิเคราะห์แล้วว่าเหมาะสมแล้ว เมื่อนำมาใช้จริงผลที่ได้
อาจไม่ประสบความสำเร็จก็ได้
กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการนิเทศ
ศึกษาทฤษฎี หลักการและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กับการนิเทศการศึกษา
คิดนวัตกรรมและวางแผนการสร้างนวัตกรรม
สร้างนวัตกรรม
ทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม
ปรับปรุงนวัตกรรม
การสร้างเครือข่ายการนิเทศ
การรับรู้และมุมมองที่เหมือนกัน
(common perception)
การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (common vision)
ความสนใจหรือมีผลประโยชน์ร่วมกัน
(mutual interests/benefits)
การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย (stakeholders prticipation)
การเสริมสร้างซึ่งกันและกัน
(complementary relationship)
การเกื้อหนุนพึ่งพากัน (interdependent)
การปฏิสัมพันธ์กันในเชิงแลกเปลี่ยน (interaction)
กระบวนการสร้างเครือข่ายการนิเทศ
เกิดจากการก่อตัวของครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์
ผู้บริหารโรงเรียน ด้วยความสมัครใจโดยอาจมี
ผู้นำเครือข่ายเป็นผู้ประสานงานอำนวยความสะดวก
ในการดำเนินงานเบื้องต้น
ปรึกษาหารือหาข้อสรุปจากการระดมความคิดเห็น
ระหว่างสมาชิกเครือข่ายในการวางแนวทาง
การดำเนินงานเครือข่ายเพื่อพัฒนางานนิเทศการศึกษา
จัดทำหลักการและแนวทางการดำเนินงาน
ของเครือข่าย เพื่อสร้างความเข้าใจ
ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันของสมาชิก
กำหนดโครงสร้างบุคลากรของเครือข่าย
เพื่อสะดวกในการประสานงาน ขับเคลื่อน
เครือข่ายสู่วัตถุประสงค์
กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์
ภารกิจและกระบวนการดำเนินงานของเครือข่าย
จัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ
เพื่อความเป็นระบบและชัดเจนในการดำเนินงาน
ของเครือข่าย
กำหนดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะการปฏิบัติ กระบวนการคิดและเจตคติที่ดี
ต่องานนิเทศการศึกษา
เปิดเวทีสร้างโอกาสให้สมาชิก
ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
สร้างทีมที่ปรึกษาทั้งภายในและภายนอกเครือข่าย
กำหนดปฏิทินการดำเนินงานของเครือข่าย
อย่างชัดเจน ดำเนินงานต่อเนื่อง
ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือการปฏิบัติงาน
ของสมาชิกทุกรูปแบบที่สอดคล้องและถูกต้อง
ตามหลักกฎหมาย
สรุปผลการดำเนินงานทุกรอบปี
เพื่อใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศประกอบการพัฒนางาน
เมื่อมีการจัดตั้งเครือข่ายการนิเทศ
การสร้างเครือข่ายนิเทศออนไลน์
เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีความรวดเร็ว สะดวก กว้างไกล และทันต่อความเปลี่ยนแปลงทาการศึกษา
เปิดโอกาสให้สมาชิกของเครือข่ายได้ร่วมกัน
วิเคราะห์แสดงความคิดเห็นของตนเอง
ต่อประเด็นที่กำหนดร่วมกันได้อย่างมีอิสระ
บุคคลภายนอกเครือข่ายสามารถอภิปราย
และให้ข้อเสนอแนะในประเด็นที่สมาชิกเครือข่าย
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้
สร้างถังความรู้เพื่อจัดเก็บองค์ความรู้ต่าง ๆ
ที่ผ่านการวิพากษ์ วิเคราะห์ร่วมกันจนเป็นความรู้
ที่ตกผลึกแล้ว
เป็นการสร้างวัฒนธรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านกระบวนการใช้เครือข่ายแลกเปลี่ยน
ความรู้ออนไลน์ซึ่งจะขยายความกว้างไกลต่อ ๆ กัน
ไปได้อย่างไม่รู้จบ