Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาองค์กรและเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร - Coggle Diagram
การพัฒนาองค์กรและเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร
การพัฒนาองค์กร
ความหมายการพัฒนาองค์กร (Organization Development) การพัฒนาองค์กรหรือที่นิยมเรียกกันว่า OD เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารและพัฒนาองค์กรเพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหาก้าวทันการเปลี่ยนแปลงพร้อมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การจะมีลักษณะต่าง ๆ หลายประการซึ่งผู้บริหารระดับสูงและทีมที่ปรึกษาจะต้องพิจารณาควบคู่กันไปเช่นการพัฒนาจะมุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมขององค์การ (Organization Cultural), ค่านิยม (Value) และทัศนคติของบุคคลภายในองค์การโดยการพัฒนาจะต้องกระทำเป็นระบบ
หลักการพัฒนาองค์กร (Organization Development Principle)
การพัฒนาองค์การต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอสามารถกระทำได้ตามหลักการดังต่อไปนี้
กำหนดเป้าหมาย (Goal Sating) ควรมีการประชุมอภิปรายเพื่อกำหนดนโยบายร่วมกันทั้งฝ่ายผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา
มีความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relations) ต้องอาศัยความเข้าใจร่วมกันเพราะความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน
การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations) การมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การถือเป็นผลพลอยได้ขององค์
ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการการแก้ปัญหาการตัดสินใจการให้ความสนับสนุนและความร่วมมือทั้งนี้ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงการแก้ปัญหาระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force) ภายในระบบของหน่วยงานนั้น ๆ
การเชื่อมโยง (Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การคือความสามารถในการโน้มน้าวคนในหน่วยงานให้มีความเข้าใจที่ดีต่อกันมากที่สุด
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเสริมสร้างการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร
2.เพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เมื่อต้องพบกับปัญหา
3.เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแบบแผน
4.ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข วัฒนธรรมที่ล้าสมัย
5.มุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการ
6.เน้นทั้งปริมาณและความรู้สึก
7.กระจายการตัดสินใจ
8.ส่เสริมให้สมาชิกตระหนักในความรับผิดชอบ
9.มุ่งประสานเป้าหมาย
ขั้นตอนของการพัฒนาองค์กร
1.การรวบรวมข้อมูล
2.การตรวจวินิจฉัยปัญหา
นำข้อมูลจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์
กำหนดเป้าหมาย
วิเคราะห์แรงดัน-แรงดึง
3.การกำหนดยุทธวิธี
4.การประเมินผล
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาองค์กร (Organization Development Tools)
การบริหารที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นตัวกำหนด (MBO: Management by objective)
หมายถึงการวางแผนเพื่อจัดองค์การที่หัวหน้าและลูกน้องมีบทบาทร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายและขอบเขตของงานเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามต้องการ
กำหนดวัตถุประสงค์ (Setting of objectives) ต้องชัดเจนระบุการปฏิบัติงานระยะเวลาเกณฑ์ต่าง ๆ ผู้ปฏิบัติมองเห็นทิศทางที่จะดำเนินการอย่างเด่นชัด
ปรับโครงสร้างขององค์การ (Revision of organization structure) มีการกำหนดลักษณะงาน (Job description) ให้เอื้อในการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กำหนดจุดตรวจสอบ (Estabishing check points) มีการประชุมระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานโดยดูตามมาตรฐานมาตรฐานต้องเหมาะสมเป็นไปได้เชิงปริมาณชัดเจน
การประเมินการปฏิบัติงาน (Appraisal of performance) หัวหน้าเป็นคนตัดสินด้วยสติปัญญา 1-2 ครั้งปีประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน / ผลที่คาดหวังไม่ประเมินทุกอย่างที่ผู้ปฏิบัติเกี่ยวข้องทำให้ลดความเครียดระหว่างหัวหน้าและลูกน้องแล้วนำผลมาปรับปรุงเริ่มกระบวนการใหม่อย่างต่อเนื่อง
ระบบควบคุมคุณภาพ / กลุ่มคุณภาพ (Quality Control circle: QC,QCC)
หมายถึงการดำเนินการโดยคนกลุ่มน้อยดำเนินกิจกรรมเพิ่มพูนคุณภาพโดยตนเองอย่างอิสระ ณ สถานที่ทำงานเดียวกันร่วมกันทุกคนอย่างต่อเนื่องปรับปรุงสถานที่ทำงานให้สะอาดแจ่มใสน่าอยู่ใช้
วัตถุประสงค์
เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมงานและภาวะผู้นำของ first line supervisor
ควบคุมคุณภาพเพิ่มพูนความสำนึกในคุณภาพปัญหาในงานและแก้ไขปรับปรุงงาน
เพื่อกิจกรรมคุณภาพทั่วทั้งองค์กรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
หลักการทำระบบควบคุมคุณภาพ / กลุ่มคุณภาพ (Quality control circle: QC,QCC)
วางแผน (Plan: P)
การปฏิบัติ (Do : D)
การตรวจสอบ (Check: C )
การแก้ไขปรับปรุง (Act : A)
การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total quality management: TQM)
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement) Kaizen โดยใช้ PDCA เป็น วิธีชีวิตการเดินทาง ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง
การมอบหมายงานแก่พนักงาน (Employee Empowerment) ขยายงานสู่พนักงานระดับล่างเพื่อเพิ่มระดับความรับผิดชอบเป็นการผลักดันให้เกิดการติดสินใจ
การกำหนดมาตรฐานเทียบเคียง (Benchmarking) การเลือกมาตรฐานการปฏิบัติงานอาจเปรียบเทียบกับหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับและนำส่วนที่ดีมาใช้เพื่อให้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด
การจัดส่งสินค้าแบบทันเวลาพอดี (Just in time: JIT) ทำให้ลดสินค้าคงเหลือเช่นการให้ยาแบบ Day dose
Taguchi technique การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ช่วงที่มีการออกแบบเพื่อให้ได้คุณภาพที่คงที่
ความรู้ในการใช้เครื่องมือ (Knowledge of TQM tools)
การบริหารแบบซิกซิกม่า (Six sigma)
Measurement เป็นการขั้นตอนการวัดวัดว่าองค์การอยู่ที่ใด black belt จะกระทำเพื่อวัดจุดวิกฤตต่อคุณภาพ (Critical to Quality: CTQ)
Analyze เป็นการวิเคราะห์ว่าปัญหาต่าง ๆ เริ่มมาจากที่ใดเพื่อหาทางแก้ไขโดยการเปรียบเทียบศักยภาพขององค์การและคู่แข่งวิเคราะห์ช่องว่างของกระบวนการทำงานต่าง ๆ
Improvement การแก้ไขกระบวนการในชั้นนี้ black belt จะเป็นผู้ระบุลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้บรรลุผลในการปฏิบัติงานและบรรลุวัตถุประสงค์
Control การควบคุมในขั้นนี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อช่วยให้ black belt กำหนดมาตรการต่างๆเพื่อเป็นตัวควบคุมตัวแปรที่สำคัญให้อยู่ในช่วงมาตรฐาน
ระบบการบริหารแบบลีน (Lean Management System)
แนวการออกแบบหรือการปรับปรุงกระบวนการหรือคุณค่าที่เป็นระบบโดยมีวัตถุประสงค์ในการกำจัดของเสียปรับปรุงคุณภาพลดต้นทุนเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าปรับปรุงความพอใจให้กับพนักงานเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานใช้เวลาน้อยใช้พื้นที่น้อยใช้ความพยายามจากมนุษย์น้อยและใช้วัตถุดิบน้อย
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization: LO)
Personal Mastery ความเป็นเซียนส่วนบุคคลความเชี่ยวชาญระดับพิเศษของบุคคลทำให้คนเข้าใจลึกซึ้งในเป้าหมายของชีวิตสามารถกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง
Mental Model การยึดติดในใจอคติความฝังใจโลกทัศน์หรือความคิดความเข้าใจที่คนมีต่อโลก
Share vision ฝันเดียวกันสมาชิกในองค์การมีการกำหนดเป้าหมาย (Goals) ค่านิยม (Value) การมีวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) ร่วมกันเพื่อนำไปสู่เป้าหมายหรืออนาคตขององค์กรร่วมกัน
Team learning การเรียนรู้เป็นทีมกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกมีการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นประสบการณ์ระหว่างสมาชิกในองค์กรอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอการพัฒนาความรู้ความคิดความสามารถในการเรียนรู้คนในองค์กร
System thinking ระบบการคิดของคนในองค์กรการคิดอย่างเป็นระบบสิ่งต่าง ๆ มีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบและบูรณาการอย่างเป็นองค์รวม
การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)
นับว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการบริหารเป็นการเสพความรู้ย่อยความรู้เลือกความรู้ที่มีประโยชน์มีคุณธรรมต่อยอดความรู้สร้างองค์ความรู้ใหม่ถ่ายทอดรักษาความรู้ได้แก่งดีมีความสุขอย่างมีสติ
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change management)
การวางแผนการเปลี่ยนแปลง (Planning for Change)
การนำแผนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ (Implementing Change) ประกอบด้วยขั้นตอนและข้อพิจารณาต่าง ๆ ดังนี้
การกำหนดกลยุทธ์ในการนำแผนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ
การสื่อสารความเข้าใจถึงแผนการเปลี่ยนแปลง
การจัดแน่งงาน
การจัดกำลังคน
การจัดระเบียบวิธีการดำเนินงาน
การพัฒนาบุคคล
การทำให้การเปลี่ยนแปลงกลายเป็นแบบแผนวัฒนธรรมขององค์การ
การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรในการบริหารการเปลี่ยนแปลงนั้น
การติดตามประเมินผลและรักษาผลการเปลี่ยนแปลง (Evaluating and Maintaining Charge)
การวิเคราะห์องค์กรโดยใช้เทคนิค SWOT analysis
การวิเคราะห์ SWOT เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายในโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดจนผลกระทบต่อการทำงานขององค์กร
S มาจาก Strengths หมายถึงจุดเด่นหรือจุดแข็งซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายในความสามารถและสถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นบวกองค์กรนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
W มาจาก Weakness หมายถึงจุดด้อยหรือจุดอ่อนซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายในสถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นลบและต้อยความสามารถซึ่งองค์กรไม่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ห
O มาจาก Opportunities หมายถึงโอกาสซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่เอื้ออำนวยให้การทำงานของ
T มาจาก Threats หมายถึงอุปสรรคซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางการทำงานขององค์กรไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์
ประโยชน์ของ SWOT
นำ SWOT ไปจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาองค์กร
การทำ SWOT จะช่วยให้ไหวตัวทันสถานการณ์และมีการเตรียมความพร้อมกับการปรับเปลี่ยนของสภาพแวดล้อมบางครั้งเมื่อโอกาสมาถึงองค์กรจะได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้ทันและเต็มที่หรือถ้าเรารู้ว่าแนวโน้มจะมีปัญหาอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นกับองค์กรเราจะได้มีการเตรียมตัวรับมือผ่อนสถานการณ์ที่เลวร้ายให้บรรเทาลงได้
Twos Matrix
SO วิเคราะห์พร้อมกันเลยว่าเรามีจุดแข็งอะไรและมีโอกาสอะไรที่สนับสนุนจุดแข็งนั้นเช่นในธุรกิจการขนส่งพนักงานของเรามีความชำนาญเส้นทางสามารถลดระยะทางการขนส่งได้และประจวบกับราคาน้ำมันลดลงทำให้โอกาสทำกำไรมีสูงขึ้น
แผนรุก
ST วิเคราะห์ว่าเรามีอุปสรรคอะไรบ้างและเราจะสามารถใช้จุดแข็งแก้ไขอุปสรรคนั้นได้อย่างไรเช่นในธุรกิจท่องเที่ยวในช่วงหน้ามรสุมนักท่องเที่ยวจะลดลงโรงแรมเรามีจุดแข็งในด้านการจัดกิจกรรมเสริมและสถานที่อบรมสัมมนาอาจจะดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการโรงแรมได้อย่างสม่ำเสมอ
ทดสอบโครงการ Pilot test
WO วิเคราะห์ว่ามีสภาพแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่เอื้อโอกาสให้เราแล้ว แต่ถ้าเรายังมีจุดอ่อนอะไรที่จะทำให้เราฉกฉวยโอกาสนั้นไม่ได้
แผนตั้งรับ
WT วิเคราะห์ว่ามีสภาพแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคกับเราและยังกระทบกับจุดอ่อนของเรา
กลยุทธ์ถอย