Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปเข้ากลุ่มครั้งที่ 3 การตรวจรก การตรวจการฉีกขาดช่องทางคลอด …
สรุปเข้ากลุ่มครั้งที่ 3
การตรวจรก
การตรวจการฉีกขาดช่องทางคลอด
การตรวจการหดรัดตัวของมดลูก
การตรวจการฉีกขาด
ช่องทางคลอด
First degree tear เป็นการฉีกขาด
บริเวณ Fourchette ผิวหนังบริเวณด้าน
หน้าของฝีเย็บ เยื่อบุช่องคลอดเท่านั้น
แต่ Fascia และกล้ามเนื้อของ Perineal
body ไม่มีการฉีกขาด
Second degree tear เป็น
การฉีกขาดที่ลึกลงไปถึงกล้ามเนื้อ
ของ Perineal body แต่ไม่ถึง anal
sphincter
Third degree tear เป็น
การฉีกขาดที่ลึกลงไปถึงหูรูดทวารหนัก
(Anal sphincter) บางครั้งถึงผนังหน้า
ของทวารหนัก (Rectal mucosa) ซึ่ง
เรียกว่า Complete tear หรือ Fourth
degree บางครั้งการฉีกขาดอาจเกิดขึ้น
บริเวณ labia, clitoris
การตรวจรก
ลักษณะของรก
รกมีลักษณะกลมแบนหรือ
อาจเป็นรูปรี รกครบกำหนด
กว้างประมาณ15 - 20 ซม.
และมีความหนา 2 - 3 ซม.
มีน้ำหนักประมาณ 500 กรัม
ด้านมารดา
(maternal surface)
เมื่อรกคลอดออกมาแล้วจะเห็นก้อนเลือดติด
จะมองเห็นมีสีแดงเข้มเหมือนสีลิ้นจี่ ปกคลุม
ด้วย Decidua ลอกติดออกมาพร้อมกับรก
มองเห็นเป็นแผ่นเดียวกันตลอด หรือมองเห็น
ก้อน เรียกว่า Cotyledon คลุมอยู่บนเยื่อหุ้ม
ทารกชั้น Chorion ถ้ามีการฉีกขาดเกิดขึ้น
ทำให้เปิดเห็นโพรงของ Intervillous space
หรือ Marginal sinus
ด้านทารก
(fetal surface)
มีสีเทาอ่อนและเป็นมัน เนื่องจากมีเยื่อหุ้ม
ทารกชั้น amnion คลุมอยู่ ด้านสายสะดือ
เยื่อหุ้มทารก
(Fetal Membranes)
ชั้น Chorion
เป็นเยื่อชั้นนอกที่ติดกับ
ผนังมดลูก เป็นผืนเดียวจากขอบรกมี
ความหนาเพราะมี Decidua ลอกติด
ออกมา ได้แก่ Decidua capsularis
และ Decidua vera ทำให้มองเห็น
Chorion มีลักษณะไม่ใสและไม่เรียบ
ฉีกขาดได้ง่าย อาจหลุดค้างในโพรงมดลูก
การตรวจรกต้องตรวจชั้น Chorion การฉีก
ขาดแหว่งหายไปอาจจากส่วนของรก
ที่เจริญผิดปกติหลงเหลืออยู่ในโพรงมดลูก
ชั้น Amnion
เยื่อหุ้มทารกชั้นในห่อหุ้ม
ตัวทารก สายสะดือและน้ำคร่ำติดอยู่กับรก
ด้านเด็ก หรือด้าน Chorionic plate ลอก
Amnion แยกออกจาก chorion ได้ตลอด
และลอกออกจาก Chorionic plate จนถึง
ที่เกาะของสายสะดือ เพราะต่อจากนี้ Amnion
ไปห่อหุ้มเป็นผนังของสายสะดือ เยื่อชั้น
Amnion นี้มีลักษณะเป็นมันสีขาวขุ่น เหนียว
ตำแหน่งการเกาะ
ของสายสะดือบนรก
สายสะดือเกาะบน Chorionic plate 3 แบบ
:check:Insertio centralis หรือ Central insertion
สายสะดือติดอยู่กลาง Chorionic plate
:check:Insertio lateralis หรือ Lateral
insertion สายสะดือติดไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
บน Chorionic plate
:check:Insertio marginalis หรือ Marginal
insertion สายสะดือจะติดอยู่ที่ริมขอบรก
ทำให้มองดูเหมือนแรกเก็ต รกที่มีสายสะดือ
เกาะมีอีกชื่อหนึ่งว่า Battledore placenta
สายสะดือ
(Umbilical cord)
ยาวประมาณ 35 - 100 ซม. บิดเป็นเกลียว
ทำให้สายสะดือไม่หักพับ ถ้ามีการงอ ทำให้
ทารกขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง จะมองเห็นเส้น
เลือดบนสายสะดือ ซึ่งโดยทั่วไปจะมี 3 เส้น
คือ Vein 1 เส้น และ Artery 2 เส้น Umbilical
vein จะเห็นได้ชัดเจน เพราะมีขนาดใหญ่
:check:หากขดเป็นกระจุกเป็นปม เรียกว่า
False vascular knot สายสะดือผูกกันเป็น
ปมเหมือนผูกเชือกจากทารกมีการเคลื่อนไหว
ในครรภ์ ทำให้ตัวลอดสายสะดือไปมาจน
ผูกเป็นปม ถ้าเกิดขึ้นทารกมักจะตายในครรภ์
เลือดไปหล่อเลี้ยงไม่สะดวกและไม่เพียงพอ
การตรวจการหดรัดตัว
ของมดลูก
.
ความนานในการหดรัดตัวของมดลูก
(duration) คือ ระยะเวลาตั้งแต่มดลูก
เริ่มหดรัดตัวจนถึงคลายตัว รายงาน
ผลเป็นวินาที
ระยะห่าง (interval) หรือความถี่
(frequency) ในการหดรัดตัวของมดลูก
ความแรงในการหดรัดตัว
ของมดลูก (intensity) เป็นการประเมิน
ความแรงขณะที่มดลูกหดรัดตัวเต็มที่
(acme) และระยะพัก (resting period)
:check:1. การประเมินโดยใช้ฝ่ามือคลำทางหน้า
ท้องให้วางฝ่ามือบริเวณยอดมดลูก
ใช้เฉพาะส่วนของปลายนิ้วมือ (fingertips)
เพราะเป็นส่วนที่สามารถรับความรู้สึก
ของการหดรัดตัวของมดลูกได้ดีกว่าส่วนอื่นๆ
รวมทั้งไม่ต้องสัมผัสส่วนหน้าท้องของผู้คลอดมาก
เพราะสัมผัสหน้าท้องอาจทำให้ผู้คลอดรู้สึก
รำคาญและเจ็บปวดได้ ฝ่ามือจะรับความรู้สึกว่า
มดลูกมีการหดรัดตัวก็ต่อเมื่อมีแรงดัน
ในโพรงมดลูกสูงตั้งแต่ 15 – 25 มิลลิเมตร
ปรอทขึ้นไป
:check:2. การประเมินโดยใช้เครื่องมืออีเล็กโทรนิค
แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดบันทึกจากภายนอก
(external monitoring) และชนิดบันทึก
จากภายใน (internal monitoring) ชนิดบันทึก
จากภายนอกจะใช้อุปกรณ์รัดหน้าท้องแรง
จากการหดรัดตัวของมดลูกจะถูกเปลี่ยน
เป็นสัญญาณไฟฟ้าและบันทึกลงบนกระดาษ
จังหวะหรือความสม่ำเสมอใน
การหดรัดตัวของมดลูก (regularity)
ลักษณะอื่นๆ เกี่ยวกับการหดรัดตัว
ของมดลูก เช่น ลักษณะการหดรัดตัว
เท่ากันทั้งสองข้าง มีการหดรัดตัวที่
ยอดมดลูกก่อน แล้วแผ่ขยายลงมา
ส่วนล่างบริเวณยอดมดลูกหดรัดแรง
กว่าส่วนอื่นๆ การมีวงแหวนแบนเดิล
หรือวงแหวนบนรอยคอดของทารก
นางสาวสุธิตา หมื่นนันทะ เลขที่ 141
รหัสนักศึกษา 612401144 ชั้นปีที่ 2