Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รายงานการประเมินตนเองและแนวทางการเขียนรายงาน - Coggle Diagram
รายงานการประเมินตนเองและแนวทางการเขียนรายงาน
มโนทัศน์ที่ถูกต้อง
รายงานประจำปีเป็นการนำเสนอผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
รายงานประจำปีของสถานศึกษาเมื่อจัดทำเสร็จแล้วต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน
รายงานประจำปีของสถานศึกษาเป็นเอกสารที่สำคัญของสถานศึกษาที่ทุกคนในสถานศึกษาต้องช่วยกันจัดทำรายงาน
การประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติมาตรฐานการศึกษาของต้นสังกัดและอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
สถานศึกษาต้องนำผลการประเมินคุณภาพภายในและผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปประกอบการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
รายงานประจำปีของสถานศึกษาเป็นรายงานผลตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
การประเมินตนเองเป็นการให้ข้อมูลที่ช่วยให้มีการปรับปรุงและหรือพัฒนาการทำงานของตนเองให้ดีขึ้นและปฏิบัติงานให้มีคุณภาพสูงขึ้น
รายงานประจำปีของสถานศึกษาเป็นเอกสารที่รวบรวมข้อมูลสารสนเทศจากการประเมินโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี
การประเมินคุณภาพภายในเป็นภารกิจที่ต้องนำผลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสถานศึกษา
รายงานประจำปีของสถานศึกษาเป็นรายงานฉบับเดียวกันกับรายงานที่ส่งเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก
มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน
รายงานประจำปีของสถานศึกษา เมื่อจัดทำเสร็จแล้วให้เสนอหน่วยงานต้นสังกัดแล้วเก็บไว้
สถานศึกษาต้องนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปประกอบการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยไม่ต้องใช้ผลการประเมินคุณภาพภายใน
รายงานประจำปีของสถานศึกษาเป็นเอกสารของสถานศึกษาที่รับผิดชอบโดยครูวิชาการและผู้บริหารเท่านั้น
รายงานประจำปีของสถานศึกษาเป็นการรายงานผลเฉพาะงาน โครงการ/กิจกรรมในแผนปฏิบัติการประจำปี
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา คือ มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษา
รายงานประจำปีของสถานศึกษากับแผนปฏิบัติการประจำปีไม่เกี่ยวข้องกัน
รายงานประจำปีของสถานศึกษา คือ มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา
รายงานประจำปีของสถานศึกษาไม่เกี่ยวข้องกับครู เป็นงานของผู้บริหารสถานศึกษา
รายงานประจำปีของสถานศึกษากับรายงานที่ส่งเพื่อขอประเมินคุณภาพภายนอกเป็นรายงานคนละฉบับ
รายงานประจำปีไม่ต้องทำทุกปีการศึกษาทำเฉพาะในปีที่จะขอรับการประเมินคุณภาพภายนอก
แนวคิดการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
การจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา
การจัดทำรายงานการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรอบปีที่ผ่านมาที่เป็นผลมาจากการดำเนินงานทั้งหมดของสถานศึกษา ซึ่งครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและนำเสนอรายงานแก่ผู้เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์การจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา
เพื่อนำเสนอผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรอบปีที่ผ่านมาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน และเพื่อเป็นฐานข้อมูล ของสถานศึกษาในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในปีต่อไป และเป็นฐานข้อมูลสำหรับรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
ประโยชน์การจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา
ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับทราบผลการพัฒนา การจัดการศึกษาของสถานศึกษาทั้งในส่วนที่ดีและส่วนที่ควรพัฒนา โดยมีการประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง และให้การช่วยเหลือสนับสนุนอย่างเหมาะสม
หน่วยงานต้นสังกัด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีฐานข้อมูลในการกำหนดนโยบายการพัฒนาการจัดการศึกษาทั้งระดับประเทศและระดับเขตพื้นที่
ทำให้สถานศึกษามีข้อมูลสารสนเทศเชิงประจักษ์ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้เกี่ยวข้องให้ความสำคัญและ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติงานเพื่อเป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน
สถานศึกษาใช้รายงานประจำปีเพื่อรับรองการประเมินคุณภาพภายในโดยหน่วยงานต้นสังกัด และการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
ทำให้สถานศึกษามีฐานข้อมูลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาทั้งในด้านจุดเด่น จุดที่ต้องพัฒนา โอกาส และข้อจำกัด นำไปใช้ประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในปีถัดไป
ขั้นตอนการจัดทำรายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา
เขียนรายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา
ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
นำเสนอผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานการศึกษา 4 มาตรฐาน โดยแต่ละมาตรฐานนำเสนอในประเด็น กระบวนการพัฒนา ผลการดำเนินงาน จุดเด่น และจุดควรพัฒนา
สรุปผล แนวทางการพัฒนา และความต้องการการช่วยเหลือ
นำเสนอสรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา โดยนำภาพรวมจากการประเมินทั้ง 4 มาตรฐาน มานำเสนอในรูปแบบของจุดเด่น จุดควรพัฒนาของแต่ละมาตรฐานพร้อมทั้งนำเสนอ แนวทางการพัฒนาในอนาคตและความต้องการการช่วยเหลือ
ข้อมูลพื้นฐาน
ประกอบด้วย จำนวนบุคลากร จำนวนนักเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกระดับชั้นผลการทดสอบระดับชาติ ฯลฯ อาจนำเสนอในรูปของตาราง แผนภูมิภาพ กราฟ ฯลฯ
ภาคผนวก
นำเสนอหลักฐานข้อมูลสำคัญ หรือเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ แบบย่อ ๆ
นำเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ
คณะกรรมการสถานศึกษาและหรือคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อรับรองผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
รวบรวมข้อมูลสารสนเทศ
ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา
จำนวนครู บุคลากรนักเรียน แหล่งเรียนรู้ ข้อมูลงบประมาณ ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม ฯลฯ
ข้อมูลที่เป็นผลการประเมิน
ข้อมูลเกี่ยวกับผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ฯลฯ
รายงานและเปิดเผยต่อผู้เกี่ยวข้อง
รายงานและเปิดเผยผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง หน่วยงานต้นสังกัดหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลากหลายวิธีตามความเหมาะสม เช่น การลง Website ของสถานศึกษา จุลสาร อนุสาร แผ่นพับ รายงานเสียงตามสายและชี้แจงในการประชุม เป็นต้น
แต่งตั้งคณะทำงาน
สถานศึกษาควรแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู และบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
องค์ประกอบของรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
ผลการประเมินภาพรวม
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
สรุปผล แนวทางการพัฒนา และความต้องการการช่วยเหลือ
จุดควรพัฒนา
แนวทางการพัฒนาในอนาคต
จุดเด่น
ความต้องการการช่วยเหลือ
ข้อมูลพื้นฐาน
ผลการทดสอบระดับชาติของผู้เรียน
สรุปการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา
สรุปข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา
ข้อมูลงบประมาณ
ข้อมูลนักเรียน
สภาพชุมชนโดยรวม
ข้อมูลครูและบุคลากร
สรุปผลการประเมินจากหน่วยงานภายนอกและข้อเสนอแนะ
ข้อมูลทั่วไป
ภาคผนวก