Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 2 โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI), uti-lg, นางสาวธัญญามาศ…
กรณีศึกษาที่ 2 โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI)
สาเหตุของการเกิดโรค อาการและอาการแสดง การตรวจวินิจฉัยและการแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษา
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อที่พบบ่อย คือ E. coli (Escherichia coli) เกิดจากการอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะ หรือมีปัจจัยส่งเสริมต่อการติดเชื้อ เช่น ท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้กับทวารหนัก จึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย หรือขณะตั้งครรภ์เป็นผลจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะยืดขยายทำให้มีปัสสาวะคลั่ง เกิดการติดเชื้อและมีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะและอาจลุกลามไปที่ตาย
จากกรณีศึกษา : หญิงตั้งครรภ์ประกอบอาชีพเป็นพนักงานขายในห้างสรรพสินค้าและมีพฤติกรรมกลั้นปัสสาวะบ่อย จึงเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
อาการและอาการแสดง
ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัดโดยเฉพาะตอนใกล้จะสุด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปวดหลังปวดหัว มีไข้ต่ำ ปัสสาวะสีขุ่น อาจมีเลือดปน (Hematuria)
จากกรณีศึกษา : 2 วันก่อนมารพ. มีอาการปวดหน่วงท้องน้อย ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ปัสสาวะแสบขัดตอนถ่ายสุด ปัสสาวะไม่มีเลือดปน ไม่มีไข้
การวินิจฉัย
จากทฤษฎี
ซักประวัติ ได้แก่ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
การตรวจร่างกาย พบอุณหภูมิร่างกายมากกว่า 37.5 C มีอาการปวดท้องน้อย ปวดเหนือหัวหน่าว ปวดหลัง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การเก็บปัสสาวะส่งตรวจหรือส่งเพาะเชื้อพบว่ามีความถ่วงจำเพาะสูง พบเซลล์เม็ดเลือดขาวมากกว่า 10^5 cell/ml3 ย้อมติดสีแกรมลบ พบเชื้อ E.coli มากกว่า 150 colonies/ml
จากกรณีศึกษา : Urine Analysis : WBC 10-20 cells/HPF, Squamous epithelial cell 1-2 cells/HPF, Bacteria numerous = พบการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ
การรักษา
การให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ยา ampicillin 500 mg วันละ 3-4 ครั้ง นาน 7-10 วัน แต่รายที่มีอาการรุนแรงควรให้ ampicillin 1 mg ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ทุก 4-6 ชั่วโมง นาน 3 วัน และติดตามผลการตรวจเพาะเชื้อเป็นระยะ ส่วนรายที่มีอาการติดเชื้อรุนแรง ควรรักษาภาวะขาดน้ำและภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ โดยให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
จากกรณีศึกษา : เมื่ออาการไม่ดีขึ้น จึงมาโรงพยาบาล ยังไม่ได้รับการรักษา
ผลของการตั้งครรภ์ต่อโรค ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลของการตั้งครรภ์ต่อโรค
อาการของการติดเชื้อรุนแรงขึ้น
ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
การแท้ง
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
การคลอดก่อนกำหนด
น้ำหนักทารกแรกเกิดน้อย
พิการแต่กำเนิด
แผนการพยาบาลมารดาและทารกที่มีปัญหาสุขภาพ ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำหญิงตั้งครรภ์รับประทานยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
แนะนำรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเพียงพอ เพื่อเพิ่มอาหารประเภทโปรตีน วิตามินและเกลือแร่ โดยเฉพาะวิตามินซีและธาตุเหล็ก ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและลดการติดเชื้อได้ เช่น ส้ม กีวี สตอเบอรี่ แคนตาลูป บร็อคโคลี
แนะนำดื่มน้ำอย่างเพียงพอไม่น้อยกว่า 8 ถึง 10 แก้วต่อวัน
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรกลั้นปัสสาวะและสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะลำบาก มีไข้ ปวดเหนือหัวหน่าวหรือหลัง เป็นต้น ถ้ามีอาการควรพบแพทย์
แนะนำหญิงตั้งครรภ์ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งภายหลังการขับถ่าย สวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสะอาด ไม่อับชื้น โดยเฉพาะกางเกงชั้นใน
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะ หากรู้สึกปวดให้ปัสสาวะทันที
ให้หญิงตั้งครรภ์สังเกตและนับการดิ้นของทารกในครรภ์ทุกวัน
กระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์เห็นความสำคัญของการมาตรวจครรภ์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
ระยะคลอด
ในรายที่ติดเชื้อรุนแรง ดูแลให้ได้รับสารน้ำสารละลายทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ขณะรอคลอด จัดให้นอนท่าตะแคงเพื่อลดการกดทับที่ท่อไตจากมดลูกและเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกและรกได้ดีขึ้น
วิธีการทำคลอดสามารถทำได้ทุกวิธี โดยไม่มีข้อกำจัด ขึ้นอยู่กับสภาพของหญิงตั้งครรภ์ในระยะคลอด
ระยะหลังคลอด
ดูแลให้มารดาพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน
เน้นรักษาความสะอาดร่างกายโดยการอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งภายหลังการขับถ่าย สวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสะอาด ไม่อับชื้น โดยเฉพาะกางเกงชั้นใน หากมีแผลบริเวณฝีเย็บ ควรทำความสะอาดและซับให้แห้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
แนะนำให้มารดาหลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะ หากรู้สึกปวดให้ปัสสาวะทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำ
แนะนำให้มารดาดิ่มน้ำวันละ 1000-1500 cc ต่อวัน เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียจากร่างกายจากการคลอดและช่วยขับเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะออกทางปัสสาวะ
นางสาวธัญญามาศ สร้อยระย้า เลขที่ 34 (603101034)