Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคปอดอุดก้นเรื้อรัง Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD - Coggle…
โรคปอดอุดก้นเรื้อรัง Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
สูบบุหรี่
โรค COPD มากกว่า 90% มาจากการสูบบุหรี่ เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน
สารและแก๊สเของบุหรี่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดลมและถุงลมจนนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง ทำให้ปอดเสื่อมสมรรถภาพในที่สุด
พันธุกรรม
ขาดอัลฟ่า 1 (Alpha-1-Antitrypsin Deficiency) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สร้างจากตับและจะไหลเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อช่วยปกป้องปอดไม่ให้ได้รับความเสียหาย โดยการขาด อัลฟ่า 1 จะส่งผลให้ตับและปอดถูกทำลาย
การติดเชื้อ (Infection)
การติดเชื้อของทางเดินหายใจเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดอาการของโรครุนแรง (acute exacerbation)ขึ้น
อาจเกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรียชนิดต่างๆ ก็ได้ ทำให้มีการทำลายเยื่อบุผิวเกิดเป็นแผลเป็นและชั้นใดเยื่อบุผิวหนาขึ้น ทำให้หลอดลมตีบแคบถาวร จึงทำให้เกิด COPD ในวัยสูงอายุได้
ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่แม้จะไม่ได้สูบ
มลพิษทางอากาศ
ฝุ่นละออง ควันพิษ
การสูดเอาอากาศที่มีการปนเปื้อนเป็นเวลานานจะส่ง
กระทบต่อการทำงานของปอดและอาจทำให้เกิด COPD
การหายใจเอาสารเคมีบางอย่างเข้าไปในปอดติดต่อกันเป็นเวลานาน
โรคประจำตัว
เป็นโรคหอบหืดแล้วสูบบุหรี่
อายุ
เมื่ออายุมากขึ้น ความยืดหยุ่นของเนื้อปอดน้อยลง
ใยเยื่อเหนียวและคอลลาเจนที่ช่วยทำ ให้หลอดลมฝอยไม่แฟบขณะหายใจออกทำหน้าที่น้อยลง ทำให้เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ง่าย
เด็กที่คลอดก่อนกำหนด
อาจส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติของหลอดลมและเนื้อปอด ซึ่งอาจกลายเป็น COPD ได้ในภายหลัง
การตรวจพิเศษ investigate
การตรวจสมรรถภาพของปอด pulmonary function test
FEV1 / FVC ต่ำกว่าปกติ
TLC และRV เพิ่มขึ้น อากาศคั่งค้างอยู่ความยืดหยุ่นของปอดลดลง
ค่า FVC < VC เพราะช่วงที่หายใจออกต้องใช้แรงดันอากาศออกมาก
residual volume ( RV ) มีค่าสูงขึ้น
การตรวจภาพรังสีทรวงอก
กระบังลมจะแบนราบ และ หัวใจมีขนาดเล็ก
ในภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยที่มี corpulmonale จะพบว่าหัวใจมีขนาดโต และ vascular markings เพิ่มมากขึ้น
การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในเลือดแดง
Arterial blood gas
ค่า PaO2 ปกติ ต่อมาจะมีค่า PaO2 ต่ำเล็กน้อย คืออยู่ระหว่าง 65 – 75 มิลลิเมตรปรอท
ค่า PaCO2 มักจะปกติ ในระยะ หลังที่มีความรุนแรงของโรคมากขึ้น ค่า PaCO2 จะสูงขึ้น
การตรวจทาง ห้องทดลองอื่น ๆ
การตรวจเสมหะ ลกัษณะของเสมหะ โดยเฉพาะการย้อมสีแกรม จะช่วยวินิจฉัยการติดเชื้อที่ เกิดขึ้น
การตรวจร่างกาย
ผิวกายเขียวคล้ำเนื่องจากเลือดพร่องออกซิเจน มีความอิ่มตัวออกซิเจนต่ำ
การหายใจเกิน เป็นลักษณะการหายใจแรง ผู้ป่วยจะห่อปากหายใจออก นั่งตัวโย้มา ข้างหน้าและต้องใช้กล้ามเนื้อ
สเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์และทราปิเซียส ช่วยหายใจ
การหายใจน้อยกว่าปกติ มีลักษณะการหายใจแผ่ว
หายใจเข้ายาว เสียงหายใจเข้าเบาลง , เสียงลมหายใจเข้าปอดเบา เนื่องจากจำนวนอากาศลดลง
ลูกกระเดือกเคลื่อนที่มากกว่าปกติ เกิดจากขณะหายใจเข้า หลอดลมถูกดึงลงมากกว่า ปกติ ประกอบกับกระดูกหน้าอกถูกยกสูงขึ้น จึงมองเห็นลูกกระเดือกเคลื่อนขึ้นลงตามการ
ทรวงอกรูปร่างคล้ายถังเบียร์ ( barrel chest )
ฟังปอดได้ยินเสียงหายใจค่อย พบเสียงกรอบแกรบ (Crepitation) เสียงรอนไค (Rhonchi) และเสียงหวีด (Wheezing)
การขยายของทรวงอกขณะหายใจเข้าออกลดลง
กระบังลมแบนต่ำลง มีช่องว่าง ใต้กระดูกยอดอกและทางด้านหลังเพิ่มขึ้น
เคาะปอด ได้เสียงโปร่งจากกอากาศค้างอยู่ในถุงลม
หัวใจซีกขวาล่างทำงานหนักขึ้น เนื่องจากความดันในปอดเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการ ขาดออกซิเจน และร่างกายมีภาวะเป็นกรด ตับโตขึ้น บวมตามปลายมือ
ปลายเท้า มี corpulmonale ได้ยิน เสียงหัวใจตรงบริเวณ Epigastrium EKG P wave สูงแหลม และมีแนวแกนกลางเคลื่อนมาทางขวา
ความดันโลหิต เวลาหายใจเข้าชีพจรเบาลง (pulsus paradox) เนื่องจากความพยายาม ที่จะหายใจมีผลต่อจำนวนเลือดที่ไหลกลับจากหัวใจ ในขณะหายใจเข้าความดันในปอดจะเพิ่มขึ้น
อาการ
หอบเหนื่อย โดยเฉพาะเวลาต้องออกแรงหรือทำกิจวัตรประจำวัน
ไอหรือไอเรื้อรัง มีเสมหะเหนียวข้นปริมาณมาก
หายใจลำบาก
เกิดการติดเชื้อที่ปอดบ่อย ๆ
จะมีอาการไอ เรื้อรัง มักเป็นในตอนเช้าและเสมหะมักมีสีขาว ถ้ามีการติดเชื้อร่วมด้วย เสมหะอาจเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง
อาการเจ็บหน้าอก แสดงถึงภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจเป็นภาวะมีลมในช่องปอด ปอดบวม สารน้ำในช่องปอด
มีเสียงหวีดในลำคอตลอดเวลา