Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis), นางสาว กานต์ชนก ชมศรีหาราช เลขที่32 ห้องA -…
ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis)
ความหมาย
คือโรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกน้อยลงจากการสะสมกระดูกน้อยเกินไปในขณะที่กำลังเจริญเติบโต หรือมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างมากหลังจากเจริญเติบโตเต็มที่แล้วทำให้กระดูกเปราะบางไม่สามารถรับน้ำหนัก และแตกหักตามมาอาจเกิดมาจาก 2 ปัจจัย คือ พันธุกรรมและการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เร็วขึ้น โดยปกติมักพบมากในเพศหญิง แต่เพศชายสามารถพบได้ 20 เปอร์เซ็นต์ โรคนี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถพบได้ในวัยหนุ่มสาว
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน
1.อายุ เนื้อกระดูกจะลดน้อยลง เเละเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกบางมากขึ้นตั้งแต่อายุ 35 ปี
2.สตรีวัยหมดประจำเดือนขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจะทำให้มีการทำลายของกระดูกมากขึ้น
3.กรรมพันธุ์ เช่นคนรูปร่างเล็กจะมีเนื้อกระดูกน้อยกว่าคนที่มีรูปร่างใหญ่ คนผิวขาวหรือผิวเหลืองจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนผิวดำ
4.ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ต่อมไทรอย์ด เบาหวาน ไต ตับแข็ง ไขข้ออักเสบ
5.เนื้องอกในไขกระดูก มะเร็งเม็ดโลหิตจาง
6.กระดูกไม่ได้ใช้งาน หรือขาดการออกกำลังกายในวัยผู้สูงอายุ เช่น นอนป่วยนานๆ ใส่เผือกกล้ามเนื้ออ่อนแรง
7.ขาดแคลเซียม ไม่ถูกแสงแดดวิตามินดี
ใช้ยาบางประเภท
ชนิดของกระดูกพรุน
Postmenopausal osteoporosis
พบในผู้หญิงวัยหมดประจําเดือน estrogens จะยับยั้งการสลายกระดูกและกระตุ้นการสร้างกระดูกหากขาด estrogen จะทําให้osteoclastเพิ่มจํานวนมากขึ้นและมีอายุยืนยาวขึ้นโดยเกิดจาก RANKLเพิ่ม การทํางานมากขึ้นแต่OPGทํางานลดลง
Senile osteoporosis
โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ พบอายุ 75 ปี
Secondary osteoporosis
เป็นโรคกระดูกพรุนที่เกิดจากสาเหตุอื่น
การป้องกัน(Prevention)
การป้องกันปฐมภูมิ (Primary prevention) หมายถึง การรักษาหรือการกระทําใดๆ ที่ให้กับ ผู้ที่ยังมิได้เกิดภาวะกระดูกบาง (Osteopenia หรือ low bone mass) โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกัน ไม่ให้กระดูกบางลง หรือ เพื่อชะลอให้กระดูกบางช้าที่สุด
การป้องกันทุติยภูมิ (Secondary prevention) หมายถึง การรักษาหรือการกระทําใดๆ ที่ให้กับ ผู้ที่มีกระดูกบางแล้ว (Osteopenia) แต่ยังไม่ได้ถึงขั้นกระดูกพรุน (Osteoporosis) โดยมีจุดประสงค์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน หรือชะลอให้เกิดโรคกระดูกพรุนช้าที่สุด
อาการของโรคกระดูกพรุน
ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมักจะทราบว่าตนป่วยเมื่อมีอาการแสดงไปแล้ว และยังมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่ควรใส่ใจสังเกต เพื่อให้สามารถรักษาได้ทันการณ์ ดังนี้
กระดูกข้อมือ แขน สะโพก และกระดูกสันหลังแตกหักได้ง่าย แม้ถูกกระแทกแบบไม่รุนแรง
หลังค่อม หรือกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งลง
ความสูงลดลง
อาจมีอาการปวดหลังเรื้อรังด้วย
นางสาว กานต์ชนก ชมศรีหาราช เลขที่32 ห้องA